“รับบทโค้ชแล้วหนึ่ง” หน้าที่ใหม่ของคุณแม่ยุคนี้

Starfish Academy
Starfish Academy 1435 views • 3 ปีที่แล้ว
“รับบทโค้ชแล้วหนึ่ง” หน้าที่ใหม่ของคุณแม่ยุคนี้

เป็นทุกอย่างให้เธอแล้วจริงๆ สำหรับพ่อแม่ยุคโควิด-19 ที่ไหนจะต้อง WFH ดูแลบ้าน ดูแลลูก แล้วยังต้องรับหน้าที่คุณครูจำเป็น คอยให้คำแนะนำลูกๆ ที่ต้องเรียนออนไลน์ ซึ่งบทบาทมากมายของพ่อแม่นี้ ไม่ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ แต่ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจสุดๆ บทความนี้ชวนพ่อแม่มาทำความเข้าใจความเปลี่ยนไปของสังคม เพื่อปรับตัวให้ทันกับกระแสโลก ที่การเรียนรู้ของลูกอาจไม่ใช่หน้าที่ของครูในโรงเรียนเพียงลำพังอีกต่อไป แต่พ่อแม่ต้องเปลี่ยนตัวเองมาเป็นโค้ชเพื่อให้คำแนะนำเรื่องการเรียนรู้ของลูกด้วย  

โลกยุคใหม่กับความรู้ไร้ขีดจำกัด

ตั้งแต่การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต โลกของข้อมูลข่าวสารก็พัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามีอินเทอร์เน็ตไร้สาย และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถเชื่อมต่อโลกออนไลน์ได้ทุกที่ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารไม่มีขีดจำกัด เป็นยุคที่ขับเคลื่อนด้วยสื่อทางเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางด้านความรู้ต่างๆ ทําให้ผู้คนหรือกระทั่งเด็กๆ เอง สามารถค้นคว้าหาความรู้ ข้อเท็จจริง ข้อมูลต่างๆ ได้ดีกว่าในยุคก่อนมาก 

เมื่อเป็นเช่นนี้ การเรียนรู้จึงไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลกเผชิญกับโรคระบาดครั้งใหญ่ ก็อาจทำให้พ่อแม่หลายครอบครัว ค้นพบว่า การเรียนออนไลน์ หรือกระทั่งจัดการเรียนการสอนด้วยตัวเองแบบโฮมสคูล ก็เป็นอีกแนวทางการศึกษาหนึ่งที่เป็นไปได้ในโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะเมื่อเรามีเทคโนโลยีอยู่ในมือ ทุกอย่างก็ล้วนเป็นไปได้ อยู่ที่ว่าเราจะนำมาปรับใช้และสอนลูกให้รู้จักใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรเท่านั้นเอง 

พ่อแม่ = โค้ช 

เมื่อมาถึงเรื่องการเป็นโค้ชให้กับเด็กๆ คงไม่มีใครทำหน้าที่นี้ได้ดีไปกว่าพ่อแม่อีกแล้ว เพราะบทบาทหนึ่งที่สำคัญของพ่อแม่ก็คือการสนับสนุนให้เด็กๆ ค้นพบสิ่งที่สนใจและบรรลุศักยภาพของตัวเอง โดยการจะไปถึงขั้นนั้นได้ เด็กๆต้องผ่านการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ในชีวิตประมาณหนึ่งก่อน ซึ่งในขั้นตอนนี้ พ่อแม่สามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นโค้ชเพื่อช่วยให้ลูกประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น 

เมื่ออ่านมาถึงย่อหน้านี้ พ่อแม่หลายท่านอาจมีคำถามว่าแล้วทำไมต้องเปลี่ยนตัวเองเป็นโค้ช ใช้บทบาทพ่อแม่ในการให้คำแนะนำลูกไม่ได้หรือ? 

ลองจินตนาการถึงนักกีฬากับโค้ชของพวกเขา เรามักพบว่าโค้ชและนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จจะมีความเป็นทีมเดียวกัน แม้จะเคารพในความอาวุโส แต่ก็มีความสนิทสนม คล้ายเป็นเพื่อนรุ่นพี่ ขณะที่เมื่อพูดถึงเด็กกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่จะเป็นภาพของการให้ความเคารพมากกว่าความสนิทสนม ดังนั้น เพื่อช่วยให้ลูกประสบความสำเร็จ ค้นพบศักยภาพของตัวเอง การเปลี่ยนมารับบทโค้ชให้กับลูก อาจทำให้เป็นหนทางที่ได้ผลมากกว่า

หน้าที่โค้ชต้องทำอะไรบ้าง?

เริ่มง่ายๆ ด้วยการปรับทัศนคติ เปลี่ยน Mindset ที่ว่า “ฉันเป็นพ่อแม่ ลูกต้องเชื่อฟังและทำตามเท่านั้น” มาเป็น “ฉันเป็นผู้ให้คำแนะนำ ลูกสามารถนำคำแนะนำที่ได้ไปพิจารณาและเลือกตัดสินใจอย่างเหมาะสมได้ด้วยตัวเอง” ซึ่งทัศนคตินี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อพ่อแม่เชื่อมั่นในตัวลูก และพร้อมให้พวกเขาได้ลองผิดลองถูกด้วยตัวเองบ้างในเรื่องที่พ่อแม่เห็นว่าผิดพลาดได้ นอกจากนี้ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำในฐานะโค้ช ก็คือ 

  • รับรู้เป้าหมายของลูก : การโค้ชใครสักคน เราจำเป็นต้องรับรู้และเข้าใจเป้าหมายของคนๆ นั้น เพื่อกำหนดแนวทางไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
  • แนะนำแนวทาง : เมื่อรู้เป้าหมายของลูกแล้ว เช่น ลูกต้องการเรียนมัธยมต้น เพื่อต่อสายอาชีพ ระหว่างนั้นต้องการทำงานพิเศษหาประสบการณ์ พ่อแม่ในฐานะโค้ช ก็ควรหาข้อมูลหลายๆ ด้านที่สอดคล้องกับแนวทางของลูก เพื่อให้คำแนะนำและเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกวางแผนเพื่ออนาคตต่อไป
  • สร้างทางเลือก : ในฐานะที่ผ่านโลกมาก่อน มีประสบการณ์มากกว่า หากเห็นว่ามีทางเลือกที่สอดคล้องกับเป้าหมายของลูก อาจแนะนำทางเลือกที่หลากหลายให้ลูกได้ลองเรียนรู้ เช่น หากลูกสนใจเรื่อง Coding อาจหาคอร์สออนไลน์ให้ทดลองเรียน หากลุ่มกิจกรรมเขียน code เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ
  • ทบทวนแผน : ระหว่างทาง ลูกอาจเกิดความลังเลในแนวทางที่เลือก หรือประสบปัญหาในการเรียน ลองชวนลูกมาทบทวนแผน เช่น ผลการเรียนที่ตกลง อาจมาจากการทำงานพิเศษ ลองปรับแผน ทำงานให้น้อยลง เพื่อดูว่าผลการเรียนดีขึ้นหรือไม่ หมั่นทบทวนแผนเป็นระยะ จะช่วยทำให้ไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น
  • ฟังและฟัง : บ่อยครั้งผู้ใหญ่อย่างเราๆมักฟัง เพื่อจะสอน เพื่อจะแสดงความคิดเห็น หรือเพื่อจะบอกเล่าประสบการณ์ของตัวเองให้เด็กๆ ฟัง แต่นั่นไม่ใช่การฟังที่แท้จริง เมื่อเป็นโค้ช เราต้องฟังสิ่งที่ลูกต้องการสื่อ เปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความรู้สึก ความคิดเห็น โดยไม่ต้องตัดสิน เพื่อที่เราจะได้เข้าใจพวกเขาอย่างแท้จริง
  • สร้างแรงกระตุ้น : หากรู้สึกว่าลูกเริ่มหมดไฟ ไม่กระตือรือล้นเท่าที่ควร โค้ชอาจต้องหาวิธีเพื่อสร้างแรงกระตุ้น เพื่อให้ลูกรู้สึกอยากไปถึงเป้าหมาย เช่น อาจชวนลูกทำ Challenge อ่านหนังสือให้จบสัปดาห์ละ 1 เล่ม หากทำได้ อาจได้รางวัลเป็นการไปเที่ยวพักผ่อนช่วงสุดสัปดาห์ เป็นต้น
  • ให้กำลังใจ : การให้กำลังใจ และแรงสนับสนุนถือเป็นหน้าที่สำคัญของโค้ช ทำให้ลูกเข้าใจว่าบางครั้งความสำเร็จก็ไม่เท่ากับความสุขเสมอไป หากพยายามเต็มที่แล้ว ผลลัพธ์ไม่เป็นที่น่าพอใจ เราอาจจะเสียใจแต่ก็ได้ประสบการณ์เพื่อพัฒนาตัวเองต่อไป 

เส้นทางการเรียนรู้ของลูกเปรียบเสมือนการเดินทางไกล มีครูเป็นไกด์นำทาง และระหว่างทางหากมีพ่อแม่เป็นโค้ช คอยให้คำแนะนำเมื่อพบเจอปัญหา ท้อแท้ หมดกำลังใจ การเดินทางของลูกก็จะราบรื่นยิ่งขึ้น

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ภาษาและการสื่อสาร
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
basic
2:00 ชั่วโมง

Collaborative classroom design

เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Collaborative classroom design
Starfish Academy

Collaborative classroom design

Starfish Academy
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7762 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3083 ผู้เรียน

Related Videos

เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน
02:36
Starfish Academy

เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน

Starfish Academy
139 views • 5 ปีที่แล้ว
เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
11:57
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
226 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
175 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
606 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ