5 กิจกรรมศิลปะบำบัดง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน

Starfish Academy
Starfish Academy 58762 views • 4 ปีที่แล้ว
5 กิจกรรมศิลปะบำบัดง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน

เวลาเด็ก ๆ รู้สึกเศร้า โกรธ หรือมีอารมณ์ทางลบ เด็กบางคนอาจยังไม่สามารถสื่อสารออกมาตรง ๆ ผ่านการพูดหรือการเขียน เพราะทักษะเหล่านี้ต้องอาศัยเวลาและการเรียนรู้ ศิลปะจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้เขาได้จัดการกับอารมณ์เหล่านั้น โดยทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวกลางหรือคนกลางที่รับฟังและเรียบเรียงความคิด ความรู้สึกของเขาออกมาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

วันนี้เราเลยนำไอเดียกิจกรรมศิลปะบำบัดง่าย ๆ ทำได้ที่บ้านมาฝากคุณพ่อคุณแม่กัน ซึ่ง 5 กิจกรรมนี้แนะนำโดยนักศิลปะบำบัดจากพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์มอนทรีออล (the Montreal Museum of Fine Arts)และเป็นกิจกรรมที่ไม่จำเป็นต้องมีทักษะพื้นฐานทางศิลปะมาก่อน ทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูก ๆ เพราะหัวใจสำคัญของศิลปะบำบัด คือการสำรวจตัวเองระหว่างสร้างสรรค์ผลงาน มากกว่าความสวยงามของผลงานแต่ละชิ้น 

1. กิจกรรม “ภาพตัดแปะเชื่อมความสัมพันธ์”

  • เริ่มต้นจากการหาอุปกรณ์ที่สามารถตัดได้ เช่น การ์ด หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ใบปลิว สมุดที่ไม่ใช้งานแล้ว 
  • จากนั้นให้ลูกลองนึกถึงคนที่เขาอยากให้กำลังใจ ขอบคุณ หรือมีความรู้สึกทางบวกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ปกครองสามารถออกแบบได้ตามความเหมาะสม
  • ให้ลูก ๆ เลือกกระดาษที่มีมาตัดแปะเพื่อสื่อถึงความรู้สึกนั้น โดยไม่ต้องนึกถึงความสวยงาม แต่เน้นความหมายและเหตุผลที่เลือกแต่ละภาพที่นำมาตัดแปะ 
  • เมื่อทำเสร็จแล้ว ให้พวกเขาพรีเซนต์ผลงานของตัวเอง บอกเหตุผลที่เลือกภาพที่นำมาตัดแปะ ก่อนจะถ่ายภาพหรือนำงานชิ้นนั้นไปให้เจ้าตัวที่เด็ก ๆ พูดถึง พร้อมอธิบายความหมายของภาพให้ฟัง

กิจกรรมนี้ นอกจากจะช่วยให้เด็ก ๆ ได้ฝึกสมาธิและโฟกัสกับอารมณ์ทางบวกแล้ว ยังช่วยให้เขาได้ส่งความรู้สึกหัวใยไปให้คนรอบข้าง และช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก ๆ กับคนที่เขาพูดถึงได้มากขึ้น เพราะบางทีอาจไม่ค่อยมีโอกาสได้ให้กำลังใจหรือบอกเล่าความรู้สึกกันตรง ๆ แบบนี้

2. กิจกรรม “ฝึกความคิดสร้างสรรค์ไปกับงานปั้น”

  • ใช้ดินน้ำมัน ปั้นเป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามใจชอบ
  • ใช้อุปกรณ์ที่สามารถกด ทับ หรือทำเป็นลวดลายได้ เช่น แปรงสีฟัน ตะเกียบ ไม้จิ้มฟัน ดินสอ ใบไม้ ฯลฯ  มาสร้างสรรค์ลวดลายใหม่ ๆ โดยใช้วิธีการกด ขูด วาด หรือวิธีอื่น ๆ ได้ตามใจชอบ ซึ่งนับว่าเป็นการทดลองอะไรใหม่ ๆ ชวนตื่นเต้นเซอร์ไพรซ์ว่าลวดลายบนดินน้ำมันที่ออกมาจะเป็นแบบไหน

ขอบคุณภาพจาก freepik

การปั้นจะช่วยให้เด็ก ๆ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งอยู่ในส่วนสมองซีกขวา มากกว่าการใช้ความคิดกังวลเรื่องต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในสมองซีกซ้าย และยังช่วยลดความดันเลือด ความตึงของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย

3. กิจกรรม “ปรับรูป เปลี่ยนภาพ ขจัดความกลัว”

  • เตรียมอุปกรณ์ที่มีรูปภาพ อาจเป็นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ภาพจากในอินเทอร์เน็ตที่พรินต์มา หรือภาพที่เซฟไว้ในไอแพด 
  • หารูปภาพที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกกลัว กังวล หรือไม่สบายใจในตอนนั้น อาจจะเป็นรูปคน สัตว์ สิ่งของ หรือภาพอื่น ๆ ที่สื่อถึงความไม่สบายใจนั้นได้ 
  • ให้โจทย์เด็ก ๆ ว่า ทำยังไงก็ได้ให้ภาพนั้นดูตลก น่ารัก หรือสวยงามมากขึ้นในสายตาเขา โดยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามใจชอบ เช่น ใช้ปากกาวาดหน้ายิ้มทับลงไป ตัดกระดาษสีสดใสมาแปะรอบ ๆ รูปนั้น วาดดอกไม้ใบหญ้ารอบ ๆ ฯลฯ โดยสามารถใช้อุปกรณ์ที่ถนัดได้ตามใจชอบ ถ้าเด็กโตที่ถนัดใช้คอมพิวเตอร์ ก็สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัดต่อภาพได้อีกด้วย

ขอบคุณภาพจาก Mr TT

กิจกรรมนี้จะช่วยลดความตึงเครียด และช่วยให้เด็ก ๆ ได้ลองมองความเศร้า ความกลัวและความกังวลในแง่มุมที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งไอเดียนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่นักศิลปะบำบัดชื่อว่า Claire Nicholls ริเริ่มขึ้นภายใต้แฮชแท็ก #CreateArtFeelBetter โดย Claire Nicholls เลือกภาพเด็กผู้ชายที่กำลังร้องไห้ ซึ่งแขวนไว้บนผนังบ้านเธอตอนเด็ก ๆ และเป็นภาพที่เธอรู้สึกกลัวมาตลอด เธอเลยลบภาพน้ำตาของเด็กผู้ชายคนนั้นออก แล้วสวมหน้ากากและเสื้อคลุมให้แทน รูปที่ออกมาเลยเหมือนฮีโร่ตัวน้อยมากกว่าเด็กที่กำลังเศร้าสร้อยคนเดิม

4. กิจกรรม “หลับตาวาดรูป ฝึกการปล่อยวาง”

  • เตรียมกระดาษเปล่าแผ่นใหญ่ ๆ แล้วใช้มือซ้ายวาดคร่าว ๆ อาจจะเป็นเส้น รูปร่าง หรือเป็นแบบไหนก็ได้โดยไม่ลืมตา 
  • จากนั้นใช้มือขวาทำแบบเดียวกัน กิจกรรมนี้จะมีกระบวนการแตกต่างจากกิจกรรมที่ผ่านมา เพราะไม่ได้เน้นการให้ความหมายโดยใช้สายตาเลือกภาพ สีสัน หรือลวดลายต่าง ๆ แต่ปล่อยให้การเคลื่อนไหวเป็นไปตามสัญชาติญาณโดยไม่นึกถึงภาพสุดท้ายที่ออกมา

กิจกรรมหลับตาวาดรูปเป็นการปล่อยให้มือวาดไปตามความรู้สึกอย่างเต็มที่ ซึ่งช่วยให้เด็ก ๆ ได้ลองผ่อนคลาย ไม่ต้องกังวลกับการวางแผน ความสวยงามของภาพ และไม่ต้องคิดมากว่าผลสุดท้ายที่ออกมาจะเป็นยังไง เพราะเปลี่ยนไปโฟกัสที่ลมหายใจ ความคิด ความรู้สึกในขณะนั้นแทน

5. กิจกรรม “เติมความสดใสด้วยสีเหลือง”

  • รวบรวมอุปกรณ์ต่าง ๆ ในบ้านที่มีเสียงเหลือง เช่น ดินสอสี กระดาษ สีเมจิก ดอกไม้ ฯลฯ
  • ใช้อุปกรณ์สีเหลืองเหล่านั้นมาวาดรูป ตัดแปะ หรือสร้างสรรค์เป็นภาพทิวทัศน์หรือภาพอื่น ๆ ได้ตามต้องการ โดยอาจจะมีสีอื่น ๆ เพิ่มเติม แต่เน้นให้มีสีเหลืองมากที่สุด

ขอบคุณภาพจาก Jeswin Thomas

สาเหตุที่ใช้อุปกรณ์สีเหลือง เพราะสีเหลืองเป็นสีที่กระตุ้นความรู้สึกอบอุ่น ให้กำลังใจ และมองโลกในแง่ดี เหมาะกับการสร้างสรรค์ผลงานที่ช่วยเยียวยาจิตใจ

ทั้ง 5 กิจกรรมนี้ นอกจากจะช่วยคลายเครียดแล้ว ยังสามารถใช้เพื่อให้เด็ก ๆ ได้สำรวจความคิด ความรู้สึก และเข้าใจตัวเองมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาทักษะทางสังคมไปในตัวได้อีกด้วย

ติดตามกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ใน www.mbam.qc.ca/en/art-therapy-sessions/

ขอบคุณข้อมูลจาก

CBC

Urbinner

the Montreal Museum of Fine Arts

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

Analytical Skills/Cognitive Skills
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
basic
2:00 ชั่วโมง

Collaborative classroom design

เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Collaborative classroom design
Starfish Academy

Collaborative classroom design

Starfish Academy
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7765 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3088 ผู้เรียน

Related Videos

เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน
02:36
Starfish Academy

เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน

Starfish Academy
139 views • 5 ปีที่แล้ว
เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
11:57
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
227 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
177 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
615 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ