สร้างความมั่นใจให้ลูกผ่าน “การฝึกพูดกับตัวเอง”
เมื่อเด็ก ๆ ต้องพูดหน้าชั้นเรียน เตรียมตัวเข้าห้องสอบ หรือลองทำอะไรใหม่ ๆ อาจจะเกิดอาการตื่นเต้นหรือไม่มั่นใจขึ้นมาได้ ซึ่งนอกจากการให้กำลังใจเด็ก ๆ แล้ว อีกวิธีหนึ่งที่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับลูกได้ คือการฝึกให้เขารู้จักพูดกับตัวเอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า self-talk นั่นเอง
ขอบคุณภาพจาก @pch.vector
การพูดกับตัวเอง หรือ self-talk คือ การสื่อสารภายในตนเองที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนแทบจะตลอดเวลา โดยอาจจะพูดหรือไม่พูดออกมาก็ได้ ซึ่งถ้าฝึกคุยกับตัวเองให้เป็นตั้งแต่วัยเด็ก ก็จะช่วยให้เด็ก ๆ เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่เฮลตี้ทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะสิ่งที่เขาพูดคุยกับตัวเองนั้นจะส่งผลต่อทัศนคติ พฤติกรรม การจัดการกับอารมณ์ และความเครียด รวมทั้งเป็นพื้นฐานของการสื่อสาร และความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอีกด้วย โดยพ่อแม่สามารถปลูกฝังทักษะการคุยกับตัวเองให้กับลูกได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้
1. อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า การคุยกับตัวเอง ไม่ใช่เรื่องแปลก
โดยทั่วไป Self-talk สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ Narrative Self-Talk คือการพูดเรื่องทั่วไปหรือการอุทาน Positive Self-talk คือการพูดในเชิงบวกกับตัวเองหรือให้กำลังใจตัวเอง และ Negative Self-talk คือการตำหนิหรือพูดในเชิงลบกับตัวเอง ซึ่งผู้ปกครองต้องอธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจก่อนว่าการคุยกับตัวเองไม่ใช่เรื่องแปลก เช่น การอุทานออกมาเมื่อทำของหล่น การคิดตัดสินใจว่าจะเลี้ยวซ้ายหรือขวา การคิดเมนูอาหารที่อยากกินวันนี้ เป็นต้น โดยมนุษย์เราสามารถมี self-talk ได้ทั้ง 3 รูปแบบแตกต่างกันไปตามสถานการณ์
ขอบคุณภาพจาก freepik.com
2. ชวนลูกฟังเสียงข้างในตัวเองผ่านการถาม
ผู้ปกครองสามารถฝึกให้ลูกรู้จักฟังเสียงของข้างในตนเองได้ด้วยการตั้งคำถามว่า เด็ก ๆ คิดหรือรู้สึกต่อสถานการณ์นั้น ๆ อย่างไรบ้าง เพื่อฝึกให้เขาหมั่นทบทวนความคิด ความรู้สึกของตัวเองมากขึ้น เพื่อให้รู้ว่าบทสนทนาที่เขาพูดคุยกับตัวเองนั้นมักเป็นไปในทิศทางไหน เพราะถ้าเป็นการพูดกับตัวเองในเชิงลบ (Negative self-talk) บ่อยเกินไป เช่น “หนูไม่เก่งต้องทำไม่ได้แน่ ๆ” “ผมทำพลาดอีกแน่เลย” อาจจะทำให้เขาเกิดความเครียด กดดัน หรือมองตัวเองในแง่ลบได้โดยที่ไม่รู้ตัว
3. ฝึกให้โฟกัสกับปัจจุบัน
สำหรับวิธีการสื่อสารกับตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรเป็นการพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มากกว่าการพูดถึงอดีต หรืออนาคต ดังนั้น พ่อแม่สามารถแนะนำให้ลูกเลือกใช้คำพูด หรือชวนคิดในสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน มากกว่าการไปโฟกัสที่อดีตหรืออนาคต อย่างเวลาที่เด็ก ๆ บอกว่า “หนูต้องทำไม่ได้แน่เลย เพราะหนูไม่เก่ง” พ่อแม่อาจจะบอกลูกว่า “ไม่เป็นไรนะ ตอนนี้ทำให้เต็มที่ก็พอแล้ว” เพื่อดึงให้เขากลับมาอยู่กับสิ่งที่ทำได้ในตอนนี้ มากกว่าการกังวลเรื่องอนาคต หรืออดีตที่กลับไปแก้ไขไม่ได้แล้ว
4. ให้ลูกลองพูดกับตัวเองด้วยสรรพนามบุรุษที่ 2 หรือ 3
มีงานวิจัยที่พบว่า เมื่อผู้เข้าร่วมการทดลองพูดกับตัวเองเหมือนพูดกับคนอื่นหรือบุคคลที่สามระหว่างการเตรียมตัวก่อนขึ้นไปพูดสุนทรพจน์นั้น จะช่วยให้ผู้พูดรู้สึกสงบ มั่นใจ และทำได้ดีกว่าผู้เข้าร่วมการทดลองที่พูดกับตัวเองโดยแทนตัวเองด้วยสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง เพราะการสมมุติว่า “ตัวเอง” เป็น “คนอื่น” นั้นจะช่วยให้เราสามารถควบคุมความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของตัวเองได้มากกว่า ดังนั้นพ่อแม่อาจจะลองชวนลูกพูดกับตัวเองหน้ากระจก หรือพูดกับตัวเองในใจโดยใช้สรรพนามบุรุษที่ 2 หรือ 3 แทน เช่น เปลี่ยนจาก “ฉันทำได้” มาเป็น “เธอทำได้” เป็นต้น
5. ฝึก self-talk ไปพร้อมกับลูก
Self-talk ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในความคิดของเราอย่างเดียว แต่ยังสามารถแสดงออกมาผ่านคำพูด สีหน้า ท่าทาง หรือการกระทำของเราได้โดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว เช่น การบ่นพึมพำกับตัวเอง การอุทานเป็นคำพูด
ต่าง ๆ หรือการแสดงสีหน้าท่าทางจากความรู้สึกทางลบที่เกิดขึ้น ดังนั้น พ่อแม่เลยต้องฝึกการคุยกับตัวเองไปพร้อมกับลูก เพื่อเป็นตัวอย่างและทำให้ลูกได้ซึมซับพลังบวกรวมทั้งทัศนคติที่ดีของพ่อแม่ไปด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
Related Courses
Collaborative classroom design
เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน
อุปกรณ์ของใช้ในบ้านเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจชำรุดเสียหายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีซ่อมแซมจะทำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกซึ่งเป็นการประหยั ...
แนวทางลดการบูลลี่ในสถานศึกษา
การถูกรังแก ล้อเลียน ดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่นส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวลทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ปัญหาเหล่านี้จ ...