สร้างสุขที่บ้านผ่านการเล่นกับลูกได้ยังไง
จุดเริ่มต้น “mama.pa.play”
เพจ “mama.pa.play” เป็นเพจที่ทำการแชร์กิจกรรมในการพาลูกเล่น ไปเที่ยว แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 จึงเน้นกิจกรรมที่ทำกับลูกในบ้าน ซึ่งแรงบันดาลใจในการทำเพจ เกิดจากการหาข้อมูลการทำกิจกรรมเล่นกับลูกใน Pinterest และ IG ของคุณแม่ต่างประเทศ จึงเกิดความรู้สึกอยากทำให้ลูกเล่นบ้าง และคิดว่าตัวเองทำได้ จึงได้ลองทำเพจสร้าง content แบ่งปันข้อมูลในเพจกับกลุ่มแม่ที่สนใจ
ทำไมถึงต้องเป็นการเล่น
เนื่องด้วยเป็นคุณแม่ Fulltime ทำให้มีเวลาอยู่กับลูกทั้งวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะต้องดูแลในเรื่องความเป็นอยู่ การกิน การนอน สุขภาพ นอกเหนือจากนั้น ก็คือการเล่น ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในชีวิตของเด็ก เพราะการเล่นคือการเรียนรู้
สร้างกิจกรรมผ่านการเล่นกับลูกได้อย่างไร
การสร้างกิจกรรมการเล่นกับลูก เกิดจากกิจกรรมภายในบ้านที่เด็กอยากทำ หรือเกิดความสนใจ แล้วนำความสนใจมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม เช่น กิจกรรมเทน้ำ โดยการนำยางรัดมารัดขอบแก้ว เพื่อเป็นระดับในการกำหนดปริมาณน้ำให้เด็กเท และทำให้สนุกยิ่งขึ้นโดยการหยดสีผสมอาหารเพื่อเพิ่มสีสัน ทำให้เด็กเกิดความตื่นเต้น และกระตุ้นความสนใจ เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องสี การกะปริมาณของน้ำ การใช้น้ำหนักของมือ การฝึกสมาธิ ซึ่งช่วงแรกยังไม่สามารถเทน้ำได้ตามเส้นขอบที่กำหนด หลังจากที่เล่นบ่อยมากขึ้น เด็กสามารถเทน้ำดื่มใส่แก้วให้ผู้ใหญ่ได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “Practice make perfect” กิจกรรมตัดกระดาษ เป็นรูปต่างๆ โดยการสร้างเรื่องราวต่างๆ เช่น โลกหมุนรอบพระอาทิตย์ โดยการแปะรูปพระอาทิตย์บนกระดาษ พร้อมกำหนดเส้นปะรอบดวงอาทิตย์ และแปะรูปโลกบนกรรไกร ทำการสร้างจินตนาการ สมมติว่าตัวเองเป็นรูปโลกที่กำลังหมุนรอบดวงอาทิตย์ และใช้กรรไกรตัดตามเส้นปะที่กำหนด ซึ่งเป็นการฝึกการใช้กรรไกร รวมไปถึงการฝึกกล้ามเนื้อมือ ข้อมือของเด็ก อีกทั้งยังทำให้ได้ความรู้เรื่องวงโคจรของโลก การจินตนาการ ความสนุกในการเรียนรู้ และกิจกรรมนักดับเพลิง โดยการนำกระดาษมาสร้างเป็นรูปบ้าน จุดเทียนตามจุดต่างๆ และที่ฉีดน้ำ (ฟ๊อกกี้) แล้วให้สมมติบทบาทเป็นนักดับเพลิง ดับไฟตามที่จุดเทียนไว้ ทำให้เด็กได้รู้ขั้นตอน หน้าที่ของอาชีพนักดับเพลิง รู้วิธีการดับไฟ อีกทั้งการใช้ฟ๊อกกี้ยังเป็นการฝึกกล้ามเนื้อนิ้วมือให้แข็งแรง หรือจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทางด้านภาษา เช่น การจำตัวอักษรโดยการให้เด็กลงมือทำ (Hand on Activity) ที่ไม่ใช่แค่การลากตัวอักษรตามเส้นประ แต่จะมีกิจกรรมให้ทำ เช่น อักษร A – Apple โดยการให้เด็กวาดรูปแอปเปิ้ล หรือต้นแอปเปิ้ลเป็นอักษรรูปตัวเอ หรือแม้แต่กิจกรรมเทน้ำก็สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์เรื่องของสีได้ เป็นต้น
การใช้อุปกรณ์ที่เป็นอันตรายทำยังไง
การทำกิจกรรมบางครั้ง เด็กอาจจะมีการใช้อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในชีวิตจริง ในช่วงแรกผู้ปกครองย่อมมีความกังวลในการใช้อุปกรณ์ที่เป็นอันตราย แต่เนื่องด้วยการใช้อุปกรณ์สำหรับเด็ก จะเน้นที่ความปลอดภัย ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ บางครั้งทำให้เด็กเกิดความรู้สึกหงุดหงิด และไม่อยากใช้อุปกรณ์นั้นอีกเลย ดังนั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ควรเน้นที่มีรูปลักษณ์ปลอดภัยต่อการใช้งาน เช่น การเลือกใช้กรรไกรสำหรับเด็ก ที่มีขนาดพอดีไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ปลายมีความโค้งมน เป็นต้น และการให้คำแนะนำ ดูแลในการใช้อุปกรณ์อย่างใกล้ชิด
ประโยชน์ที่จะได้จากการทำกิจกรรม
การเล่นกับลูกเป็นการเสริมสร้างสัมพันธ์ภายในครอบครัว ลูกมีความไว้เนื้อเชื่อใจในตัวพ่อแม่ ทำให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองในการอยู่ร่วมกับสังคม เด็กได้พัฒนาการ ได้ความรู้ในด้านต่างๆ การมีจินตนาการ ช่วยพัฒนาทางด้านอารมณ์ สติปัญญา พัฒนาการทางด้านสังคม การเชื่อฟังในกฎ กติกา การประพฤติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
แนวคิดการเลี้ยงลูกฉบับแม่มิ้ม
- การไม่เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น เพราะว่า คนเรามีความถนัดที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในการสอนลูกควรสอนในสิ่งที่พ่อแม่มีความถนัด แล้วลูกก็จะทำได้ดี และพ่อแม่เองก็จะมีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบ ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
- การมอบหมายหน้าที่ให้ช่วยทำ หรือการให้ลูกมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่ทำ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกบ้าน
- การควบคุมอารมณ์ของพ่อแม่ ถ้าหากไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ให้หยุด หรือเดินหนี แล้วทำการพูดคุยให้เด็กเข้าใจ หลังจากอารมณ์สงบลง
- กรณีลูกโมโหง่าย ให้ทำการปรับปรุง จัดการอารมณ์หรือพฤติกรรมที่ตัวพ่อแม่ เพราะเด็กมักเลียนแบบพฤติกรรม หรือนิสัยมาจากพ่อแม่
- ลูกกินข้าวนานมาก ทำปรับเมนูอาหาร การทำอาหารรสชาติที่เด็กชอบ รู้ความชอบของลูกการสร้างสตอรี่ให้กับอาหาร หรือการให้สติกเกอร์เป็นรางวัล
อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเล็ก ควรทำให้เด็กมีความรู้สึกสนุก ไม่น่าเบื่อในเรื่องที่เรียน โดยการเรียนรู้ผ่านการเล่นและค่อยๆ ทำการสอดแทรกด้านวิชาการ แล้วเด็กก็จะเปิดรับมากขึ้น เมื่อพัฒนาการพร้อม สมองเปิดรับ ย่อมทำให้การเรียนรู้ดีขึ้น ที่สำคัญคือ การไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น อย่างสร้างความกดดันให้ตัวเอง (พ่อแม่) หรือยึดติดการเลี้ยงลูกตามแบบไอดอล เพียงแต่ให้ยึดเป็นแนวทางแล้วปรับวิธีการเลี้ยงลูกตามแบบของตนเอง เพื่อให้ตัวเองมีความสุขและทำทุกอย่างให้สนุก แล้วลูกก็จะมีความสุขและรู้สึกสนุกด้วย
Related Courses
การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน
อุปกรณ์ของใช้ในบ้านเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจชำรุดเสียหายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีซ่อมแซมจะทำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกซึ่งเป็นการประหยั ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Collaborative classroom design
เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...