5 วิธีเผื่อใจ เมื่อต้องอยู่ใกล้กับความสูญเสีย
ปฎิเสธไม่ได้ว่าเราอยู่ในช่วงที่โรคระบาด คร่าชีวิตคนไทยไปมากกว่ารายงานตัวเลขของภาครัฐ นั่นแปลว่าหลายครอบครัวอาจจะต้องรับมือกับความสูญเสียของคนใกล้ชิด เราต้องยอมรับว่าเรื่องแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆ ที่เราควรจะเตรียมตัวลูกให้พร้อม วันนี้เราจะชวนคุณพ่อคุณแม่ มาสอนลูกเรื่องการรับมือกับความตาย ที่กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวไปเสียแล้ว
ก่อนที่เราจะสอนลูกให้เข้าใจเรื่องของความตาย เรามาดูพัฒนาการเด็กในแต่ละวัยก่อนดีกว่า ว่าเด็กๆ สามารถรับรู้เรื่องของความตายได้มากน้อยแค่ไหน โดยเราขอยกบทความบางส่วนจาก รศ.กนกรัตน์ สุขะตุงคะ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ความรู้ในเรื่องของ ความเศร้าและการรับรู้เกี่ยวกับความตายของเด็กในแต่ละวัยไว้ดังนี้
เด็กแรกเกิด – 2 ขวบ
เด็กๆ ในวัยนี้จะไม่เข้าใจเรื่องของความตาย อาจจะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศในบ้านที่เปลี่ยนไป เขาอาจจะแสดงออกด้วยการกวน กินนอนไม่ปกติ ซึมลงถ้าคนที่ดูแลหายไปอย่างกะทันหัน
อายุ 3-6 ปี
เด็กๆ ในวัยนี้พอจะเข้าใจเกี่ยวกับความตายบ้างแล้ว แต่ก็คิดว่าคนตายก็อาจจะกลับมาได้อีก เด็กๆ จะเข้าใจว่าความตายไม่ต่างจากการจากไปธุระ หรือไปทำงาน บางคนอาจจะคิดโทษตัวเองว่าทำตัวไม่ดีเลยถูกลงโทษด้วยการให้มีการตายเกิดขึ้น หรือบางคนอาจจะแสดงพฤติกรรมถดถอย หรือแสดงนิสัยที่ตัวเองทำเมื่อยังเด็ก เช่น ดูดนิ้ว ก้าวร้าว แสดงให้เห็นอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นตรงๆ หรือทางอ้อมผ่านทางการเล่นที่แสดงถึงการกลัวการพรากจาก หรือการถูกทอดทิ้ง
อายุ 6-9 ปี
ในวัยนี้เด็กๆ เริ่มเข้าใจว่าความตายคือการสิ้นสุดของชีวิต สามารถเข้าใจว่าทำไมจึงตาย หรือตายอย่างไร มองความตายไปในแง่น่ากลัว เช่น รู้สึกว่ามีผีหรือวิญญาณคอยติดตามตนเอง เด็กๆ ดูเหมือนเข้าใจสภาวะการตายจริงๆ แต่ในความเป็นจริงก็ยังเข้าใจไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะวัยนี้ยังไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้อย่างแท้จริง มีท่าทีเป็นห่วงเพื่อน หรือคนที่ตนเองรักจะตายจาก
อายุ 9-12 ปี
เด็กๆ โตพอที่จะเข้าใจความตาย แบบชัดเจนมากขึ้น รับรู้ว่าความตายเป็นที่สุดของชีวิต อาจจะมีอารมณ์เศร้า โกรธหรือรู้สึกผิดอย่างรุนแรง บางคนอาจจะแสดงหมกมุ่น หรือสนใจอยู่กับการเจ็บป่วยทางกายที่อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ตายได้ กังวลกับผลที่จะเกิดขึ้นจากการตายของคนในครอบครัว เช่น สภาพการเงิน หรือตนเองจะอยู่ต่อไปอย่างไร แต่บางคนอาจจะแยกตัว เก็บตัวมากขึ้น และพยายามกลบเกลื่อนความรู้สึกที่แท้จริง นั่นคือความเศร้าจากความสูญเสีย
เมื่อเราเข้าใจเรื่องของพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่าสอนลูกเรื่องการรับมือกับความตายได้อย่างไร จะเราจะไม่อธิบายเชิงวิชาการมากจนคุณพ่อคุณแม่จะเบื่อซะก่อน แต่ก็ต้องขอยกเอาใช้ทฤษฐีจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นของ ของ Schonfel เรื่อง Children's Concepts of Death หรือแนวคิดของความตายในเด็ก มาเป็นหลักสักหน่อย พ่วงกับแนวคิดของพุทธศาสนาร่วมด้วย
1. Irreversibility “ไปไม่กลับ”
ความตายเป็นเรื่องที่ไม่สามารถย้อนคืน หรือฟื้นมาเหมือนเดิมได้ อาจจะเปรียบเทียบกับเรื่องใกล้ตัวเล็กก็ได้ว่า ความตายนั้นต่างจากของเล่นเกม ที่เด็กๆพร้อมจะฟื้นขึ้นมาเล่นด่านใหม่ ได้แก้ตัวเมื่อทำพลาด ความตายไม่เหมือนของเล่นพังแล้วอาจจะซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้
2. Finality/ Non-functionality “ปลายทางของชีวิต”
ความตายเป็นวาระสุดท้ายของชีวิต เมื่อเด็กๆโตขึ้น เรียนหนังสือ ทำงาน แต่งงาน มีลูก และแก่ตัวลง “ความตาย” จะเป็นปลายทางของทุกคน หรือในบางคนอาจจะไม่ได้ตายเมื่อแก่ตัวลง แต่ไม่ว่าจะตายตอนไหน มันคือจุดจบของชีวิตจองคนๆ นั้น
3. Inevitability/ Universality “หนีไม่พ้น”
ความตายเป็นเรื่องสากล เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าใครก็ต้องตาย ไม่ว่าจะเป็นลูก หรือพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นคนหนุ่มสาว หรือคนแก่ ไม่ว่าจะยากดีมีจน เราทุกคนจะต้องพบกับความตายทั้งสิ้น
4. Causality “ความตายมีเหตุผล”
ความตายมีสาเหตุการก่อให้เกิด และที่มาที่ไปเสมอ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุตามธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ ความเจ็บป่วย ถูกฆาตกรรมหรือแม้แต่ความแก่เฆ่า แต่ไม่ว่าจะตายอย่างไรไม่มีใครที่ตายอย่างไร้สาเหตุ
5. ความตายเป็นเรื่องธรรมะ “มีเกิด ย่อมมีดับ”
อธิบายตามหลักทางพุทธศาสนา ความตาย คือ การดับลงของขันธ์ 5 เป็นการจบสิ้นของประสาทสัมผัสทั้งทางกายและทางจิต ในศาสนาอื่นอาจจะอธิบายว่าความตายคือการเริ่มต้นเพื่อไปอยู่กับพระเจ้าในสรวงสวรรค์ นั่นก็แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบ้าน
คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครอง มีส่วนช่วยอย่างมาก ที่จะให้เด็กๆผ่านช่วงเวลาของการสูญเสียไปได้ ทั้งการให้ความรัก และให้กำลังใจ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะในช่วงแรกที่ต้องเผชิญกับความตาย นอกจากเด็กๆจะต้องปรับตัวกับชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไปเพราะมีคนหายไปจาหชีวิตเขาแล้ว ยังต้องปรับตัวทางอารมณ์อีกนั้นไม่ใช่เรื่องผิด อย่าปิดกั้นเขา หรือว่ากล่าวให้เด็กรู้สึกผิด เพราะส่วนหนึ่งของการแสดงอารมณ์เศร้า คือการลดทอนความเครียดในจิตใจของเด็กๆ ลงด้วย แต่ต้องแสดงออกอย่างเหมาะสม ไม่มากจนควบคุมไม่ได้ เป็นต้น
Related Courses
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้
คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ นำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลก และสังคมปัจจุ ...