ลูกกลายเป็นเด็กขี้อิจฉา ทำไงดี
ทำไมลูกถึงรบเร้าให้แม่ซื้อของเล่นแพงๆ ตามยูทูบเบอร์ที่ลูกชอบ?
ทำไมลูกไม่ชอบเพื่อนที่สอบได้คะแนนเยอะกว่า?
ทำไมลูกเศร้าที่ไอจีเพื่อนไม่เยอะเหมือนคนอื่น?
หรือว่า ลูกเรากำลังเกิดความรู้สึก “อิจฉา” รึเปล่านะ
อารมณ์ อิจฉามักเกิดขึ้นเมื่อเด็กรู้สึก “ขาดอะไรบางอย่าง” ซึ่งในโลกออนไลน์ที่เต็มไปด้วยโฆษณา ช่องยูทูบต่างๆ เนตไอดอลที่ลูกติดตามนั้น แสดงภาพลักษณ์ของคนที่มีความสุขเพราะ มีเงินมากมาย มีของหรูหรา คนที่หน้าตาดี คนที่มีเพื่อนเยอะ ซึ่งมีส่วนกระตุ้นให้ลูกมีความอยากได้ อยากมี อยากเป็น อยากสวย อยากหล่อ อยากมีเพื่อนในโซเชี่ยลเยอะๆ อยากมีคนรัก คนสนใจนั่นเอง
แล้าเราจะสอนลูกอย่างไร ให้ไม่หลงไปกับสิ่งเร้าพวกนี้?
Claire Shipman ผู้เขียนหนังสือด้านจิตวิทยาเด็กได้ให้คำแนะนำไว้ 4 ข้อดังนี้
1. พ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่า เด็กที่กำลังมีความรู้สึกอิจฉานั้น มีความเครียดและมีความคิดด้านลบอยู่ในหัว ดังนั้นการดุด่าลูกตอนนี้ อาจไม่สามารถทำให้ลูกเข้าใจได้ (พ่อแม่หลายคนมักคิดว่าการดุด่าลูกนั้น เพราะรักจึงอยากให้ได้ดี แต่จะมีเด็กสักกี่คนที่จะสามารถรับรู้ และเข้าใจความรักของพ่อแม่ผ่านอารมณ์ที่เกรี้ยวกราดรุนแรง) แทนที่จะตำหนิลูก เราแนะนำว่า พ่อแม่ควรดึงเอาเรื่องดีๆ ของลูกมาช่วยเติมพลังบวกให้เขาเสียก่อน จากนั้นค่อยพูดถึงสิ่งที่ลูกต้องปรับปรุงอย่างละมุนละไม เมื่อใช้วิธีนี้ ลูกจะสามารถแบ่งแยกได้ว่า สิ่งไหนที่เค้าควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ และนิสัยขึ้อิจฉาจะหายไปเอง
2.พูดคุยกับลูกด้วยเหตุผล มากกว่าจะไปเค้นด้านความรู้สึก พ่อแม่คุณต้องใจเย็น ค่อยๆ อธิบายให้ลูกเข้าสถานะการเงินในครอบครัว ข้อดีข้อเสียของสิ่งที่ลูกต้องการด้วยเหตุผล ข้อควรระวังคือ ความอยากมีอยากได้บางอย่างของลูกเป็นแค่อารมณ์ชั่ววูบเท่านั้น การสื่อสารที่ดีจะทำให้ลูกเข้าใจได้ว่าสิ่งๆนั้นมันไม่จำเป็น แต่หากสื่อสารผิดวิธี จากความอยากมีความได้เล็กๆ นั้นจะกลายเป็นอยากได้เพราะต้องการเอาชนะพ่อแม่ทันที
3. อย่าปล่อยลูกให้มือถือเลี้ยงลูก พ่อแม่ควรใกล้ชิดกับลูก หาเวลาอยู่ด้วยกันเสมอ พูดคุยสนิทสนมให้ลูกรู้ว่าเค้าไม่ได้อยู่คนเดียว และเค้าเองก็มีไม่ได้ด้อยไปกว่าใครทั้งนั้น
4 สิ่งสำคัญที่สุด คือ พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก รู้หรือไม่ว่าลูกมักจะดู และทำตามสิ่งที่พ่อแม่ทำเสมอ เพราะฉะนั้น การควบคุมตัวเอง และแสดงออกในด้านที่ดีเสมอ ก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกเพื่อให้ลูกห่างไกลจากนิสัยที่ไม่ดีต่างๆ รวมไปถึง “นิสัยอิจฉา” นั่นเอง
Related Courses
Collaborative classroom design
เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...
แนวทางลดการบูลลี่ในสถานศึกษา
การถูกรังแก ล้อเลียน ดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่นส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวลทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ปัญหาเหล่านี้จ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...