ยกพวกตีกัน เพราะเพื่อน เกมหรือการเลี้ยงดู

Starfish Academy
Starfish Academy 22492 views • 4 ปีที่แล้ว
ยกพวกตีกัน เพราะเพื่อน เกมหรือการเลี้ยงดู

“วัยรุ่นยกพวกตีกันกลางโรงพยาบาล”

“แก๊งค์วัยรุ่นตีกันกลางงานวัด”

“วัยรุ่นไม่พอใจขับรถสวนเลน ตีกันกลางถนน” 

พาดหัวข่าวเหล่านี้ น่าจะเคยผ่านตากันมาบ้าง ไม่ใช่แค่เฉพาะในช่วงเดือนที่ผ่านมา แต่ปัญหาวัยรุ่นยกพวกตีกันนั้น ถือเป็นปัญหาคลาสสิกที่มีมาหลายยุคหลายสมัยแต่ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้สักที ล่าสุดการที่กลุ่มวัยรุ่นยกพวกเข้าไปต่อสู้กันกลางโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ทำให้สังคมตั้งคำถามว่า พฤติกรรมเช่นนี้ มีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ มาจากความคึกคะนองตามเพื่อน จากการเลี้ยงดู จากเกม หรือเป็นเพราะโครงสร้างการศึกษาของประเทศ ว่าแล้วเรามาหาคำตอบเพื่อป้องกันปัญหายกพวกตีกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำๆ อีกค่ะ 

ตีกันทำไม? ค้นหาต้นตอความรุนแรงในวัยรุ่น

การยกพวกตีกันในวัยรุ่น ถือเป็นพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงที่ทำให้เกิดผลเสียหลายด้าน ทั้งต่อตัวผู้กระทำเองและคนใกล้ชิด และสังคมโดยรวม อย่างไรก็ตาม อารมณ์โกรธ หรืออารมณ์เชิงลบต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ เราทุกคนมีความโกรธ โมโห ไม่พอใจ แต่เมื่อเกิดอารมณ์เชิงลบเหล่านี้ ต้องเรียนรู้ที่จะรับมือและจัดการกับอารมณ์ตัวเองให้ได้ ไม่เช่นนั้น อารมณ์เหล่านี้ก็จะเปลี่ยนไปเป็นความรุนแรงที่อาจทำให้เกิดความสูญเสียตามมาได้ 

หากจะสาวไปถึงต้นตอของความรุนแรง เราคงไม่สามารถชี้ชัดไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียวค่ะ เพราะปัญหายกพวกตีกันของวัยรุ่น ไม่ได้เป็นปัญหาครอบครัวเท่านั้น แต่ยังอาจเรียกได้ว่าเป็นปัญหาสังคมที่สะสมมาอย่างยาวนาน การจะชี้ไปการเลี้ยงดู เพื่อน หรือกระทั่งเกม เป็นสาเหตุของความรุนแรงเพียงอย่างเดียวจึงอาจไม่ถูกต้องนัก ว่าแล้วเราลองมาศึกษาดูค่ะว่า สาเหตุของความรุนแรงเหล่านี้มาจากอะไรได้บ้าง

  • ปัญหาส่วนบุคคล : วัยรุ่นบางคนถูกทำร้ายในวัยเด็ก หรือเผชิญกับความรุนแรงในครัวเรือน เช่น เห็นพ่อแม่ทำร้ายร่างกายกัน ก็อาจส่งผลให้เด็กเติบโตมาใช้ความรุนแรงได้ ในขณะเดียวกัน เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ระดับไอคิวต่ำ หรือมีภาวะทางจิตใจ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมก็อาจเป็นที่มาของพฤติกรรมใช้ความรุนแรงได้เช่นกัน
  • ปัญหาโครงสร้างการศึกษา : ในสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนหนาแน่น และนักเรียนส่วนใหญ่มาจากสภาพครอบครัวที่มีปัญหาทางการเงิน มักพบว่ามีปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนมากกว่า นอกจากนี้ การเข้าไม่ถึงการศึกษาของเด็กส่วนใหญ่หรือระบบการศึกษาที่ยังไม่เท่าเทียมกันนักของบ้านเราก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะจากนักเรียนต่อนักเรียนด้วยกัน หรือกระทั่งครู เป็นผู้กระทำความรุนแรงต่อนักเรียนเสียเอง ซึ่งความรุนแรงนั้น ไม่จำได้จำกัดอยู่แค่การทำร้ายร่างกาย แต่การใช้การทำโทษ ใช้คำพูดทำร้ายจิตใจ หรือทำให้รู้สึกอับอาย ก็ถือเป็นความรุนแรงเช่นกัน
  • ปัญหาจากสภาพสังคม : โครงสร้างสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ไม่มีรัฐสวัสดิการพื้นฐานช่วยเหลือพ่อแม่ที่ต้องทำงานเต็มเวลา เช่น มีสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพ ราคาย่อมเยา ทุกคนเข้าถึงได้ มีสวัสดิการให้พ่อแม่ลาหยุดหลังคลอดโดยได้รับเงินเดือน เพื่อให้มีเวลาคุณภาพอยู่กับลูก ไม่ต้องเครียดเรื่องการเดินทาง หรือมีศูนย์ดูแลให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงดูลูก ที่ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันปัญหาความรุนแรงได้ ในทางกลับกันประเทศที่ไม่มีรัฐสวัสดิการที่ดี ทำให้การเลี้ยงดูชีวิตหนึ่งๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก พ่อแม่ต้องหาเช้ากินค่ำ ทำให้ไม่มีเวลาใกล้ชิดลูก มีความเครียดเรื่องปากท้อง นำไปสู่การใช้ความรุนแรงในครอบครัว ส่งผลให้เด็กๆ ไม่เพียงเป็นเหยื่อความรุนแรง แต่ยังเติบโตมาสร้างความรุนแรงในสังคมต่อไปด้วย 
  • ปัญหาจากครอบครัว : ความไม่สม่ำเสมอของพ่อแม่ผู้ปกครอง การตั้งกฎที่ตึงหรือหย่อนเกินไป การละเลยทอดทิ้งเด็กๆ อาจเป็นสาเหตุของพฤติกรรมความรุนแรงในวัยรุ่นได้ นอกจากนี้ การที่เด็กๆ ขาดความผูกพันทางอารมณ์ (Attachment) กับผู้เลี้ยงดู โดยเฉพาะแม่ หรือเปลี่ยนคนเลี้ยงบ่อยๆ ไม่มีผู้เลี้ยงดูหลักที่เด็กจะยึดถือเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางจิตใจได้ ก็อาจทำให้เติบโตมามีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง นอกจากนี้ยังพบว่าครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ พ่อแม่ต้องทำงานหนัก ไม่มีเวลาดูแลลูกอย่างใกล้ชิด หรือครอบครัวที่มีความเครียดสูง มีความขัดแย้งภายในครอบครัว ก็อาจเป็นสาเหตุของความรุนแรงในวัยรุ่นได้เช่นกัน 

ทำอย่างไรเมื่อลูกใช้ความรุนแรง

หากพ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตเห็นว่าลูกเริ่มมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง แม้จะเป็นความรุนแรงเล็กๆ น้อยๆ เช่น ตีหรือทำร้ายร่างกายน้อง ทำร้ายข้าวของ ชกต่อยกับเพื่อนที่โรงเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรนิ่งเฉย เพราะความรุนแรงเพียงเล็กน้อย หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมก็จะทำให้มีพฤติกรรมรุนแรงที่มากขึ้นได้ อาจขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น หรือโทรปรึกษาสายด่วนต่างๆ เช่น สายด่วนสุขภาพจิต 1667 เป็นบริการให้ความรู้สุขภาพจิตทางโทรศัพท์ด้วยระบบการตอบรับแบบอัตโนมัติ หรือ มูลนิธิสายเด็ก 1387 ซึ่งทั้งสองเบอร์นี้เปิดให้บริการตลอด 24 ชม.ค่ะ

จะเห็นได้ว่าต้นตอของความรุนแรงนั้น คงไม่ได้มาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเท่านั้น แต่น่าจะมาจากหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน ความรุนแรงในวัยรุ่นหรือปัญหายกพวกตีกัน จึงไม่ใช่ปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง พ่อแม่ส่วนใหญ่ย่อมอยากใช้เวลาอยู่กับลูก ได้ใกล้ชิดดูแล บางทีอาจไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่ใส่ใจ แต่เป็นเพราะพวกเขาต้องหาเลี้ยงปากท้อง หากท้องไม่อิ่ม ก็คงไม่อาจคิดเรื่องอื่นได้ หรือเด็กที่รังแกเพื่อน พวกเขาอาจไม่ได้ต้องการทำเช่นนั้น แต่นั่นอาจเป็นวิธีเดียวที่พวกเขารู้ว่าจะเรียกร้องความสนใจของผู้ใหญ่ได้ ทุกอย่างล้วนสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันค่ะ 

เราในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ก็น่าจะช่วยกันลดความรุนแรงเหล่านี้ในสิ่งที่เราพอทำได้ เริ่มจากความเข้าใจ ไม่ตีตรา ชี้หน้าไม่ว่าจะเป็นเด็กๆ หรือพ่อแม่ของพวกเขา เพราะความตั้งใจแรกของคนเป็นพ่อแม่นั้น คงไม่มีใครอยากเลี้ยงลูกให้เป็นอาชญากร แต่เพราะชีวิตไม่ใช่เรื่องง่าย พ่อแม่หลายคนจึงอาจพลาดพลั้ง เด็กๆจึงอาจทำผิดพลาด ว่าแล้วเริ่มจากตัวเราเอง ช่วยกันเปลี่ยนสังคมเริ่มจากสิ่งเล็กน้อยที่พอจะทำได้ และหวังว่าความรุนแรงจะค่อยๆหายไปจากความเข้าใจที่เรามีให้กันนะคะ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

คุณธรรมและจริยธรรม
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้

คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ นำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลก และสังคมปัจจุ ...

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้
ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง

สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7762 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1394 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3083 ผู้เรียน

Related Videos

ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
11:57
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
226 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
606 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
175 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
23:01
Starfish Academy

ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน

Starfish Academy
100 views • 2 ปีที่แล้ว
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน