สอนลูกให้สมองสวยและรวยมาก
คุณค่า คุ้มค่า Neuroeconomics
สอนให้ลูกซื้อของตามความคุ้มค่าที่สุด ไม่ใช่ซื้อของที่ถูกที่สุดเป็นการฝึกสมองส่วนบริหารขั้นสูง grit และ empathy การฝึกฝนวิธีการคิดในการเลือกตัดสินใจหรือการให้คุณค่า เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาด้านประสาทวิทยาศาสตร์เศรษฐศาสตร์ (Neuroeconomics) ซึ่งการที่เราฝึกสมองทั้งตัวเราและลูกหลานให้รู้เท่าทัน จะช่วยให้เราได้ใช้ชีวิตในโลกอนาคตได้อย่างมั่นคงไม่ตกเป็นเหยื่อการตลาดที่แค่ scroll >click>paid>wait just a second “””Your order has been sent to the seller
ปี 2020 เป็นปีที่มีเรื่องราวระทึก ระทม ระทวย มาหลายระลอก หุ้นดิ่ง ทัวร์หาย ไวรัสระบาด พวกเราคงรู้สึกว่า อะไรๆ มันไม่แน่นอนเลยสักอย่าง เมื่อมองไปรอบ ๆ ตัว อาจเห็นบางสิ่งบางอย่างแล้วนึกอยู่เป็นนานว่า ของสิ่งนี้เข้ามาในบ้านได้อย่างไร ? คิดไปคิดมา อ๋อ ได้มาจากมหกรรมสินค้าลดราคา ซื้อชาตินี้ ชีวิตดี๊ดี สินค้าลดราคาใช่ว่าไม่ดี แต่แน่ใจหรือว่าซื้อมาเพราะจำเป็นและคุ้มค่า โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องวางแผนการเงิน การลงทุน เพื่อครอบครัวเปี่ยมสุขและอนาคตของลูกรัก แม้ว่าการรอเวลาเพื่อซื้อของจำเป็นในช่วงลดราคาถือว่าเป็นการวางแผนอย่างรอบคอบ ต้องแน่ใจว่าไม่ใช่ราคาถูกแบบไร้ตรรกะใด ๆ ซื้อมาโดยขาดสติรู้ตัว จากการสะกดของ ยันต์แดง SALE หากต้องมนต์ยันต์แดงไม่มีแรงเดิน ดังกล่าว พวกเราคงต้องปรับพฤติกรรมกันแล้วล่ะค่ะกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะหากลูก ๆ เห็นพฤติกรรมแบบนี้บ่อย ๆ แน่นอนว่า เค้าก็จะดำเนินชีวิตตามแนวทางที่พ่อแม่ทำให้เห็นเป็นประจำ และโลกในอนาคตอาจไม่มีที่ให้ของที่ไม่คุ้มค่าวางอยู่ เราในฐานะพ่อแม่ คงต้องเริ่มสอนลูกให้เห็นคุณค่าของเงินและใช้จ่ายไปกับสิ่งที่คุ้มค่า..สอนให้ลูกรู้และเข้าใจจนติดเป็นอุปนิสัยว่า การซื้อของที่คุ้มค่าและมีคุณค่านั้น มีความสำคัญมากกว่า ซื้อของที่ถูกที่สุด แต่ไม่ได้ใช้ หรือใช้ได้ไม่คุ้มกับราคา เริ่มต้นง่ายๆที่ตัวเรา คิดก่อนซื้อเราซื้อของด้วยเหตุผลอะไร ความอยากได้ ความจำเป็นต้องมี ความต้องการใช้
ความสำคัญการศึกษาด้านประสาทวิทยาศาสตร์เศรษฐศาสตร์พบว่า การฝึกฝนวิธีการคิดในการเลือกตัดสินใจหรือการประเมินคุณค่า จนเป็นอุปนิสัย จะช่วยให้เราใช้ชีวิตในโลกอนาคตได้อย่างมั่นคงและอยู่รอดได้ การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาการตัดสินใจ และพฤติกรรมมนุษย์ในการตัดสินใจซื้อ หรือการตัดสินใจแบบไม่ได้คิดทบทวน เพื่อออกแบบวิธีการขายโดยที่คนซื้อไม่ต้องคิด แน่ล่ะค่ะ การทำธุรกิจออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องมีคนซื้อ จึงไม่ใช่แค่ออกผลิตภัณฑ์แต่เค้าศึกษามาแล้วว่า คนเห็นปุ๊บซื้อปั๊บ เพราะสมองบางครั้งก็ไม่ค่อยมีเหตุผล และสมองก็ขี้เกียจคิด ตอนนี้ถ้าลองมองไปรอบตัว เริ่มเห็นของที่ซื้อมาซ้ำ ของที่ไม่ได้ใช้ ของหมดอายุ และของมันต้องมี..แต่ไม่จำเป็น วางเต็มบ้านแล้วใช่ไหมคะ นั่นล่ะค่ะ ประสาทวิทยาศาสตร์เศรษฐศาสตร์และพฤติกรรมทำงานอย่างดีในมุม neuromarketing ในทาง neuroeconomics เราแบ่งสมองเป็น สองระบบ คือ
- คิดแบบสะท้อนกลับ อัตโนมัติ คิดอย่างเร็ว
- คิดแบบใคร่ครวญไตร่ตรอง (สมองส่วนนี้จะพัฒนาเต็มที่เมื่อ อายุ25 ปี)
ลองมาดูวิธีง่ายๆ ที่ทดสอบการคิดทั้งสองระบบ
ชวนคิด
A ถ้าคุณซื้อสลากเพื่อจับรางวัลมูลค่ารางวัล 1 ล้านบาท ราคาสลากใบละ 100 บาท ถ้ามีคนมาขอซื้อต่อสลากที่คุณซื้อ100บาท ในราคา 500 บาท คุณจะขายไหมคะ...สำหรับสลากที่น่าจะถูกรางวัล 1 ล้านบาท
คำถามข้างต้น เป็นการทดลองจริงที่สวนสนุกแห่งหนึ่ง โดยนักวิจัยได้สังเกตครอบครัวที่มากับเด็ก ๆ ซื้อสลากลุ้นรางวัล เมื่อทีมวิจัยเสนอขอซื้อสลากต่อในราคาที่สูงกว่าราคาสลาก 5 เท่าตัว...คุณคิดว่า มีคนยอมขายไหมคะ เดี๋ยวไปดูคำตอบท้ายบทความ ถ้าเป็นคุณ จะขายต่อไหม
B เค้กและคุกกี้ราคารวมกันเท่ากับ 110 บาท เค้กแพงกว่าคุกกี้ 100 บาท คุกกี้ราคาเท่าไร?
ง่ายขนาดนี้ตอบเร็ว ๆ ไม่ต้องใช้สมอง ยังได้เลยใช่ไหมคะ คุกกี้ราคาเท่าไรคะ...เก็บคำตอบไว้ในใจแล้วเดี๋ยวมาดูเฉลย ตอนท้าย กัน...
เด็ก ๆ จะใช้วิธีตัดสินใจและคิดแบบ A ส่วนผู้ใหญ่จะใช้ทั้งสองแบบ A และ B แต่แบบ A จะยังมีอิทธิพลมากกว่า หากขาดการฝึกฝน จะเห็นชัดอย่างเช่น ฟรี จำนวนจำกัด SALE ตัวละ 30 สามตัว 90 เท่านั้น!!!! เด็ก ๆ จะทำตามพฤติกรรมผู้ใหญ่ตามที่เด็กเห็น ดังนั้นการทำเป็นแบบอย่างได้ผลมากกว่าการพร่ำสอน Word can be strong, but action are stronger
มาดูกันต่อค่ะว่า ลูกอายุเท่าไร จึงเริ่มสอน คุณค่าของเงิน และการใช้จ่ายอย่างคุ้มค่าจากการศึกษาของ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ พบว่า พฤติกรรมด้านการเงินของเด็กจะเริ่มเมื่อ อายุ 7 ปี โดยดวงตาน้อยๆของเด็กจะจับจ้องมองดูการกระทำของพ่อแม่ เช่น นำถุงผ้าไปซื้อของ อ่านคุณสมบัติของสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ ตรงไปซื้อของจำเป็นแล้วกลับไม่เถลไถล ซื้อของขนาดทดลองมาทดสอบก่อน หรือ ซื้อของตุนไว้เวลาสินค้าลดราคาโดยไม่ได้ดูวันหมดอายุ
เทคนิค Smart Money Smart Kid ฝึกสมองเด็กให้เท่าทันเรื่องการใช้จ่าย
- เด็กจะเป็นแบบที่พ่อแม่ทำ เมื่อพ่อแม่ทำให้ลูกเห็นการใช้จ่ายเฉพาะในสิ่งที่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอ เด็กจะลอกแบบ
- ไม่ตามใจเมื่อลูกอยากซื้อของเพียงเพราะอยากได้ หากมีเหตุผลที่สมควรหรืออยากได้มากลูกควรเก็บเงินซื้อเอง โดยพ่อแม่อาจช่วยจ่ายในบางส่วนและสอนลูกว่าเราไม่ควรใช้เงินคนอื่นเพื่อซื้อของที่เราอยากได้ ลูกได้ฝึก empathy ได้คิด เอาใจเค้ามาใส่ใจเรา
- เปิดโอกาสให้เด็ก มีรายได้จากการช่วยเหลืองานบ้านเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากจากงานบ้านที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่ เช่น ปกติเด็ก ๆ มีหน้าที่ถูบ้าน หรือ รดน้ำต้นไม้ อาจส่งเสริมรายได้ด้วยการเพิ่มจากถูบ้านงานประจำ โดยมีรายได้จากทำความสะอาดถังขยะเมื่อถังขยะเต็ม มีรายได้เพิ่มจากการกวาดเศษไม้ ตัดหญ้า เป็นต้น ลูกได้ฝึกสมอง การจัดการสมองส่วนตรรกะจะเติบโตขึ้นทุกวัน
- แนะนำลูกก่อนจะซื้อของที่อยากได้ ต้องคิดว่าควรมีเงินเหลือหลังจากซื้อของแล้ว 20% พ่อแม่เองก็ควรซื้อของเมื่อมีเงินมากกว่าราคาของเช่นกัน เพราะต้องเตรียมเงินพอสำหรับของจำเป็นอื่น หรือ จำเป็นต้องใช้ในภาะวะฉุกเฉิน ลูกได้ฝึกการยับยั้งชั่งใจ การวางแผนอนาคต ความรอบคอบ
- ใช้บัตรเครดิตเพื่อสิทธิประโยชน์ และจ่ายเงินคืนเต็มจำนวนทุกครั้ง ลูกได้ฝึกความรับผิดชอบและวินัยทางการเงิน
- แบ่งการออมเงินเพื่อการกศุล บริจาค ภาวะฉุกเฉิน ของขวัญ โดยหักเก็บจากรายได้10% ลูกได้ฝึกสมองแห่งการให้ ความมีเมตตา
- ให้เด็ก ๆ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายโทรศัพท์มือถือด้วยตัวเอง ลูกได้รู้ว่า airtime มีราคา เวลาเป็นสิ่งมีค่า
- แนะนำเด็ก ๆ เรื่องการลงทุนเล็ก ๆ น้อยที่พอทำได้เช่น ทำงานพิเศษ สอนพิเศษ วาดภาพประกอบ ทำงานช่วงปิดเทอม หรือทำ startup ลูกๆได้เห็นศักยภาพตัวเอง รู้ว่าตัวเองมีคุณค่า
- เด็กควรมีโอกาสได้วางแผนการเรียนและอาชีพในอนาคต เพื่อประมาณรายได้ การเสียภาษี และการออมที่เพียงพอเมื่อพ้นวัยทำงาน สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกๆตระหนักทุกครั้งที่ใช้จ่ายเงิน ต้องแน่ใจว่ายังมีเงินเก็บเพียงพอหลังวัยทำงาน ลูกได้เรียนรู้ว่าคุณค่าของชีวิตมีเส้นทางที่ต้องสร้างเอง ไม่ใช่สิ่งของ
จะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้อาศัยการสอนด้วยการพูดแทบจะเป็นสิ่งที่เข้าใจยากมาก ดังนั้นการจะสอนลูกให้คิดเป็น รู้จักไตร่ตรองให้รอบคอบ เพื่อการใช้จ่ายในสิ่งที่คุ้มค่าและมีคุณค่าเท่านั้น พ่อแม่จึงต้องทำให้เห็น...ลูกจึงจะทำเป็น
เฉลย
ข้อ A ไม่มีใครยอมขายเลย ทั้ง ๆ ที่ กำไร 400 บาท และได้รับเงินเลยถ้ายอมขาย เพราะคนเรามักคิดไปเองว่า ของตัวเองเป็นของที่พิเศษสุด เกิดรู้สึกเป็นเจ้าของทันทีเมื่อได้มาและรู้สึกว่า มันจะทำประโยชน์ได้ เหมือนบางคนอาจมีเสื้อนำโชค หรือ ปากกาวิเศษใช้แล้วสอบติด
นี่คือ สมอง ระบบที่ 1 ไม่ได้คิดแต่แค่รู้สึกและมักมากับรางวัลหรือการล่อตาล่อใจ การตอบสนองกิเลส ความขี้เกียจ และ ข้อเสนอลดราคา ของที่ไม่จำเป็นอย่างล่าสุด เช่น รถยี่ห้อดัง ลดราคา 50 % คนแห่จองหมดใน 2 ชั่วโมง ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ ขายได้ยากมาก แต่เค้าถอนการผลิตไปแล้วนะ แล้วหากวันหน้ารถมีปัญหา ?
กลับมาที่สลากวันนั้น ไม่มีสลากของใคร ได้รางวัล 1 ล้านบาทเลย....
ถ้าใช้สมองระบบที่ 2 คือ ตรรกะ ใช้เวลาคิดอีกนิด เราจะรู้ว่า โอกาสถูกรางวัลมีน้อยมากกก ดังนั้น เราควรจะขายจริงมั้ยคะ?
ข้อ B เค้กและคุกกี้ราคารวมกันเท่ากับ 110 บาท เค้กแพงกว่าคุกกี้ 100 บาท คุกกี้ราคาเท่าไร ?
หลายท่านอาจตอบว่า คุกกี้ราคา 10 บาท ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ตอบ แต่ความจริงคือ คุกกี้ราคา 5 บาท เค้ก 105 บาท พอรู้คำตอบแล้ว สมองระบบที่ 2 ใช้เวลาคิดดูนะคะ สมองระบบที่ 1 รู้สึกง่ายๆว่า คุกกี้ ราคา 10 +เค้ก 100 = 110 แต่โจทย์ บอกว่า เค้กแพงกว่า คุกกี้ 100 บาท ถ้า เค้ก 100 บาท คุกกี้ 10 บาท จะเห็นว่า เค้กแพงกว่า เพียง 90 บาท >100-10= 90 ดังนั้น เค้ก 105 บาท +คุกกี้ 5 บาท = 110 และเค้กแพงกว่าคุกกี้ 100บาท (เค้ก 105 บาท - คุกกี้ 5 บาท = 100)
การฝึกระบบสมองที่สอง คือ ตรรกะการรู้คิด อาศัยเวลา และความสม่ำเสมอ มาเริ่มฝึกตัวเองและลูกๆ จากการไตร่ตรองก่อนการใช้เงินกันดีมั้ยคะ ให้สมองสวย และ รวยมาก
Related Courses
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...
เลี้ยงลูกอย่างไรให้ IQ ดี EQ เด่น
บทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ความสำคัญของ IQ และ EQ องค์ประกอบของ IQ และ EQ เทคนิคการสร้าง IQ และ EQ ให้กับลูก ร ...
ฝึกกระบวนการคิด ในห้องเรียนยุคใหม่
การสร้างการเรียนรู้สำหรับครูและผู้ปกครองในการพัฒนากระบวนการคิดให้เกิดขึ้นกับตัวเด็กในระหว่างอยู่ที่โรงเรียนและบ้านเพื่อเพิ่มป ...
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...