เธอเองก็เป็นได้นะ วัยรุ่นที่ใช้เงินเป็น มีเงินเก็บ อนาคตสบาย
เรื่องเงินยิ่งรู้เร็วยิ่งได้เปรียบโดยเฉพาะน้องๆ วัยรุ่น ทั้งการออม การลงทุนหรือแม้แต่การจัดการบริหารเงินในแต่ละช่วงเวลา เพราะวัยรุ่นเป็นช่วงที่สามารถเสี่ยงได้ภาระไม่มี บางคนอาจเทรดหุ้นจนเงินเติบโต ได้กำไร แต่ต้องศึกษาให้ดีก่อนทุกครั้ง เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง
ทักษะเกี่ยวกับเงิน เป็นสิ่งที่พี่คอยย้ำน้องทุกคนเสมอ ชีวิตเราจะได้มีอิสระอยากไปเที่ยวก็ได้ไป อยากทำอะไรก็ได้ทำ เพราะเรารู้จักใช้ รู้จักเก็บ บทความนี้พี่รวมทริกสุดเจ๋ง สำหรับน้องวัยรุ่นโดยเฉพาะ จะมีอะไรบ้าง ต้องอ่านผ่านบทความนี้
1. เข้าใจรายรับรายจ่ายของตัวเองแต่ละเดือน
หลังจากได้เงินจากคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองหรือแม้แต่หามาเอง ควรเริ่มจากการจดรายรับรายจ่ายจะได้รู้ช่องทางเงินเข้าเงินออก ใช้อะไรเยอะ ใช้อะไรน้อย เงินติดลบไหม เดี๋ยวนี้มีแอปพลิเคชันให้เลือก น้องๆ ลองดูที่เราชอบ ส่วนตัวพี่ใช้ Happy Money เขาจะบอกเลยค่า
กินกี่เปอร์เซ็นต์ ค่าเดินทางกี่เปอร์เซ็นต์ เห็นภาพชัดเจน มีตรวจความมั่งคั่งทางด้านการเงินให้ด้วย
2. แบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ
พี่เคยเห็นคลิปใน TikTok เขาจะเอาเงินใส่ซองพลาสติก และกำหนดงบเลย แต่ละวันใช้กี่บาท ตลอดระยะเวลา 1 เดือน ถ้าหมดคือหยุดทันที ถ้าเหลือเก็บออม หรือบางคนก็แบ่งเป็นกอง เช่น ค่าอาหาร ของใช้ส่วนตัว ลงทุน บริจาคอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของน้องได้เลยว่า ถนัดแบบไหน ส่วนตัวพี่ชอบแบบจัดงบรายวันสนุกดี ทำให้เราได้ฝึกที่จะห้ามใจ ใช้เงินแบบมีสติมากขึ้น
3. ศึกษาเรื่องการลงทุน
ข้าวกะเพราจานละ 60 บาทในวันนี้ ภายในไม่ช้าราคามันก็จะขยับไปเรื่อยๆนี่คือเหตุผลที่พี่อยากให้น้องเปิดใจเรื่องการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุนรวมทองคำ หรือซื้อของสะสมที่สามารถเก็งกำไรได้ และนำไปปล่อยต่อในเวลาที่เหมาะสมการเริ่มเรียนรู้การลงทุนในวัยเรียน จะทำให้ในอนาคตน้องมีแต้มต่อ พร้อมลงสนามสะสมความมั่งคั่ง การลงทุนคือความเสี่ยง แต่ถ้าไม่เสี่ยงเลยก็น่ากลัวเหมือนกันนะ เพราะเมื่อลงทุนก็มีโอกาสงอกเงย ในขณะเดียวกันก็อาจสูญเสียเงิน ดังนั้นความรู้คือคำตอบ ศึกษาให้มั่นใจก่อน เริ่มได้ตั้งแต่วันนี้
4. เข้าใจความต้องการของตัวเอง
สิ่งที่เราอยากได้จำเป็นขนาดไหน ค่อย ๆ ตัดสินใจ เพราะการตลาดก็ออกแบบมาเพื่อคว้าเงินออกจากกระเป๋าเรา หน้าที่ของน้องๆ ต้องเข้าใจความต้องการของตัวเอง อยากได้เพราะมันมีประโยชน์กับเรา หรือเพราะตามเทรนด์ ถ้ารู้ทันอารมณ์ส่วนนี้ก็จะปิดรอยรั่วเงินได้อีกจุด ทำให้มีเงิน ไปต่อยอดทำอย่างอื่นได้ เพราะฉะนั้นก่อนจะซื้ออะไรให้ตั้งคำถามก่อนจำเป็นต้องซื้อตอนนี้เลยไหม ไม่มีได้หรือเปล่า มีอะไรใช้ทดแทนได้ไหมพี่ก็ใช้วิธีนี้ เป็นการทบทวนความต้องการอีกรอบ
5. เงินสุขใจ สำรองไว้ดีกว่า
นอกจากเงินออมที่น้องๆ รู้จักยังมีเงินอีกหนึ่งกอง ที่บางคนก็เรียกเงินฉุกเฉิน เงินสบายใจ เงินสุขใจ คือจะใช้ก็ตอนมีเหตุฉุกเฉินเท่านั้น ส่วนใหญ่จะแนะนำให้เก็บ3-12 เดือนของค่าใช้จ่าย สำหรับวัยเรียน 3 เดือนพี่ก็ว่าโอเคแล้วนะถ้าไหวก็สะสมไปเรื่อย ๆ ได้เลย เงินก้อนนี้จะทำให้เรามั่นใจในการใช้ชีวิต เพราะรู้ว่า อย่างน้อยฉันยังมีเงินติดบัญชี
เส้นทางการเป็นวัยรุ่นที่มีเงินเก็บ ใช้เงินเป็น ไม่ยากเลยใช่ไหม เรื่องการเงินไม่ใช่เรื่องของผู้ใหญ่อีกต่อไป วัยรุ่นก็สามารถศึกษาได้เพราะในอนาคตเราก็ต้องบริหารเงินเองอยู่แล้ว รู้ตั้งแต่ตอนนี้ไปเลยดีกว่าขอให้การใช้เงิน เก็บเงิน บริหารเงิน เป็นไปด้วยความราบรื่นและสนุก
Sources:
Related Courses
5 เทคนิคเลคเชอร์ ให้จำได้ ทบทวนบทเรียนแบบง่ายๆ
อยากเกรด A ต้องทำยังไง? คอร์สนี้มีคำตอบกับ 5 เคล็ดลับ! สุดเจ๋ง ที่จะช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ยาวนาน ทบทวนสนุก สมองปลอดโปร่ง ...
อยากเป็น Content creator ให้ดัง ต้องทำอย่างไร
หากใครกำลังฝันอยากเป็น Content Creator คอร์สนี้ตอบโจทย์ทุกคำถาม! เพราะคุณจะได้เรียนรู้เทคนิคการสร้างคอนเทนต์สุดปัง แ ...
อยากเป็น Content creator ให้ดัง ต้องทำอย่างไร
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เกมจิตวิทยาค้นหาตัวตน
อยากรู้ตัวเองมากขึ้นไหม? มาเล่นเกมค้นหาตัวตนกัน! คอร์สออนไลน์สนุกๆ ที่จะพาคุณไปเจอตัวเองที่แท้จริง" ค้นพบความถนัด ศักยภ ...
โลกเปลี่ยนไป ปรับตัวกับภัยธรรมชาติอย่างไรให้อยู่รอด
"โลกเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่คิด” ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การเตรียมตัวล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด คอร์สนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจกา ...
โลกเปลี่ยนไป ปรับตัวกับภัยธรรมชาติอย่างไรให้อยู่รอด
ต้องใช้ 100 เหรียญ