การสอนของครูสู่ผลลัพธ์ของผู้เรียนตามเกณฑ์ วPA
เมื่อการเรียนรู้ยุคสมัยใหม่ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ ๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ท้าทาย ครูจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพัฒนาวิธีการสอนให้มีความหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียนอย่างแท้จริงซึ่งเป็นไปตามตามเกณฑ์ ว9/2564 หรือ วPA ที่ได้กำหนดเกณฑ์การประเมินที่มุ่งเน้นทักษะการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning ซึ่งมีทั้งตัวชี้วัดหลักและย่อยในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ของผู้เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้และตัวชี้วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านที่ 2
สำหรับด้านการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนในรูปแบบ Active Learning ประกอบด้วย 8 ตัวชี้วัดหลักและย่อยดังนี้
ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน ประกอบด้วย เนื้อหา (Content) หรือมโนทัศน์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกฝนมีความถูกต้องและตรงตามหลักสูตรออกแบบและจัดโครงสร้างบทเรียนเป็นระบบและใช้เวลาเหมาะสมใช้สื่อประกอบบทเรียนได้เหมาะสมและช่วยในการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ของบทเรียนและบันทึกหลังการสอน
ตัวชี้วัดที่ 2 ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่ ประกอบด้วยมีการทบทวนความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิม เช่น การใช้คำถาม แบบฝึก หรือกิจกรรม ฯลฯ มีการเข้าถึงผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ใหม่มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังมีความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิมไม่เพียงพอที่จะเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ใหม่ เช่น การอธิบาย ยกตัวอย่าง การใช้คำถาม เกม หรือกิจกรรม ฯลฯ และบันทึกหลังการสอน
ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้ ประกอบด้วยออกแบบงานหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือประสบการณ์ใหม่อย่างเหมาะสมกับวัย สภาพและบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียนผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะหลากหลายใช้เทคนิคให้ผู้เรียนสรุปความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ด้วยตนเอง เช่น แผนที่ความคิด ตารางวิเคราะห์ การทดลองปฏิบัติ การนำเสนอ ฯลฯ และบันทึกหลังการสอน
ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชื่อมโยงสอดคล้องกับชีวิตประจำวันบริบทชุมชนหรือสภาพจริงของผู้เรียนวิธีการหรือกิจกรรมการเรียนรู้มีความท้าทายและมีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวัยสภาพและพัฒนาการของผู้เรียนผู้เรียนมีโอกาสสะท้อนการเรียนรู้นำเสนอความสำเร็จหรืออธิบายข้อผิดพลาดหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้นและบันทึกหลังการสอน
ตัวชี้วัดที่ 5 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้ ประกอบด้วยผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ผู้เรียนได้บูรณาการทักษะต่าง ๆ ลงสู่การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้รับการพัฒนาในสถานการณ์หรือการแก้ปัญหาใหม่ ๆ และบันทึกหลังการสอน
ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ ประกอบด้วยมีการสังเกตหรือค้นหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติหรือมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้ มีการประเมินผลระหว่างการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม เช่น การใช้คำถาม แบบทดสอบ การปฏิบัติ ฯลฯ มีการนำผลการสังเกตหรือผลการค้นหาหรือผลการประเมินระหว่างเรียนรู้สะท้อนกลับให้ผู้เรียนและบันทึกหลังการสอน
ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม ประกอบด้วย ผู้เรียนได้รับแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา พฤติกรรมแสดงออกและเจตคติจากครูผู้สอน กระตุ้นให้ผู้เรียนมั่นใจ มีอิสระในการคิดหรือทดลองและรับรู้ความสามารถของตนเองใช้สื่อการเรียนหรือตัวอย่างประกอบที่หลากหลายและกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบจากสื่อการเรียนหรือตัวอย่างเหล่านั้นและบันทึกหลังการสอน
ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนสามารถกํากับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนําตนเอง ประกอบด้วย ผู้เรียนได้รับโอกาสในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้หรือการลงมือปฏิบัติ ผู้เรียนได้ประเมินตนเองหรือถูกเพื่อนประเมินในระหว่างเรียนหรือเมื่อจบบทเรียนผู้เรียนได้รับการกระตุ้นหรือการมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกฝนหรือเรียนรู้ต่อเนื่องเพิ่มเติมภายหลังจบบทเรียนและบันทึกหลังการสอนสำหรับด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนแบ่งเป็น 4 ตัวชี้วัดหลักและย่อย ดังนี้
ตัวชี้วัดที่ 1 ผลงานหรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครู ประกอบด้วย เป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้เรียนสอดคล้องกับสภาพและบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียนเกิดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลหรือกลุ่มผู้เรียนไม่ใช่ผลงานหรือผลการปฏิบัติของครูเหมาะสมคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
ตัวชี้วัดที่ 2 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน ประกอบด้วย ทักษะการสื่อสารโดยการพูด การเขียน หรือการแสดงออกในรูปแบบอื่น ๆ ทักษะการนำเสนออย่างเป็นระบบ น่าสนใจ ทักษะการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการเรียนหรือการฝึกความคล่องแคล่วหรือความชำนาญหรือความถูกต้องในการคิดหรือการปฏิบัติและทักษะการออกแบบและการวางแผน
ตัวชี้วัดที่ 3 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน ประกอบด้วย ความยืดหยุ่นในการคิดหรือการคิดเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ความคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดเชิงนวัตกรรม กระบวนการสืบเสาะหาความหมาย หรือกระบวนการตัดสินใจ กระบวนการคิดเชิงเหตุผล หรือการให้เหตุผลเชิงตรรกะและกระบวนการคิดเชิงระบบ
ตัวชี้วัดที่ 4 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross – function Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน ประกอบด้วย ทักษะกระบวนการ เช่น การวางแผน การวิเคราะห์วิจารณ์การกำกับตนเอง การทดลองปฏิบัติ การนำเสนอความคิด ทักษะทางสังคม เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การโน้มน้าว การเจรจา การบริการ การสอนหรือฝึกผู้อื่น ทักษะการจัดการ เช่น การจัดการเวลา การจัดการทรัพยากร การจัดการทีมทำงาน ทักษะเฉพาะทาง เช่น ทักษะทางกายภาพ การเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อ ดนตรี กีฬา หรือทักษะเฉพาะทางตามลักษณะรายวิชาหรือสาระการเรียนรู้ และทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ทักษะหลากหลาย การแก้ปัญหาหลายขั้นตอน การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ความร่วมมือจากผู้อื่น การแก้ปัญหาเชิงซ้อนหลายระดับ เห็นได้ว่าองค์ประกอบสําคัญในการจัดการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์ วPA คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้อง 8 ตัวชี้วัดเพื่อเป็นแนวทางในการกําหนดกรอบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนอันนำไปสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้
บทความใกล้เคียง
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะ
10 นวัตกรรม Highlight จากครูมีไฟ หัวใจฮีโร่ Season 3
Starfish Talk: ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง
Related Courses
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)