สร้างพลังการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ: Active Learning ฉบับ วPA
จากการประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ วPA ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะของครูตามระดับวิทยฐานะที่คาดหวัง โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในครั้งนี้จะเป็นการพูดคุยถึงกลยุทธ์ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ Active Learning อย่างไรให้ตอบโจทย์การประเมินมาตรฐาน วPA
สำหรับกลยุทธ์ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ Active Learning สิ่งสำคัญคือ
1) การปรับเปลี่ยนแนวทางหรือวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้มากขึ้น กล่าวคือ ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้คิด ผู้ลงมือทำ ค้นหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
2) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทและชีวิตประจำวันของผู้เรียนอย่างเหมาะสม
และส่งผลให้เกิดผลงานหรือผลการปฏิบัติของผู้เรียน เช่น
2.1) การจัดกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้รูปแบบ Active Learning อาทิเช่น การระดมสมอง (Brainstorming) การตั้งคำถาม (Questioning-based learning) การแลกเปลี่ยนความคิด (Think-pair-share) การสะท้อนความคิด (Student’s reflection) การแสดงบทบาทสมมติ (Role playing) การใช้เกม (Game-based learning) การทดลอง (Experiment) การเน้นปัญหา/กรณีศึกษา (Problem/Case study) ฯลฯ เป็นต้น
2.2) การออกแบบการเรียนรู้ Active Learning สอดแทรกการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตาม 8 ตัวชี้วัด ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ซึ่งประกอบด้วย 1) ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน 2) ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่ 3) ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้ 4) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ 5) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้ 6) ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ 7) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม และ 8) ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยแต่ละตัวชี้วัดจะต้องมีการบันทึกหลังการสอนที่สอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นผลการจัดการเรียนรู้ ปัญหา/อุปสรรค แนวทางแก้ไข และผลงานแก้ไขปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน
3) การให้ความสำคัญกับการตอบโจทย์ระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามเกณฑ์ วPA
4) องค์ประกอบที่สำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ วPA ประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์ (ตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้) สาระการเรียนรู้ กิจกรรม (ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นฝึกปฏิบัติและนำเสนอ ขั้นสรุป) สื่อประกอบ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การบันทึกหลังสอน ผลงาน/ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (ปรากฎในด้านที่ 2) และแบบประเมินต่าง ๆ ทั้งนี้ สิ่งที่จะช่วยให้เห็นตัวชี้วัดมากขึ้น เช่น การใช้คำพูดและคำถามที่ตอบโจทย์ตัวชี้วัด การใช้คำถามปลายเปิด การใช้คำถามตรวจสอบความเข้าใจ การตั้งคำถามที่นักเรียนพอจะตอบได้ เป็นต้น
เห็นได้ว่า หัวใจสำคัญของการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Active Learning ฉบับ วPA คือ การที่ครูได้ทำการออกแบบ วางแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้คิด ได้ลงมือปฏิบัติ การเปิดโอกาสให้เด็กได้ออกแบบหรือสร้างสรรค์ผลงาน การสื่อสารความเข้าใจ และการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและเชื่อมโยงสู่การพัฒนาศักยภาพของครูตามมาตรฐานวิทยฐานะได้อีกด้วย
บทความใกล้เคียง
แบ่งปันไอเดียสร้างโรงเรียนตามเกณฑ์ สมรรถนะ ว.PA Active Learning ฉบับครูอาชีวศึกษา สู่ ว.PA
การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (Social Emotional Learning)
กำลังประเมินถูกวิธีอยู่หรือเปล่า? 5 แนวทางการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
Related Courses
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียน Active learning
วัดและประเมินผลอย่างไร ให้ตอบโจทย์การเรียนรู้แบบ Active learning เลือกเครื่องมือวัดผลอย่างไรให้หลากหลาย ตรงตามเ ...
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียน Active learning
ต้องใช้ 100 เหรียญ
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...