แบ่งปันไอเดียสร้างโรงเรียนตามเกณฑ์ สมรรถนะ ว.PA Active Learning ฉบับครูอาชีวศึกษา สู่ ว.PA
อาชีวศึกษา คือการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในสายวิชาชีพที่จำเป็นต่อตลาดแรงงานให้มีคุณภาพตามมาตรฐานอาชีพหรือมาตรฐานสากล จนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ตรงตามสาขาที่เรียน อีกทั้งยังสามารถพัฒนาฝีมือและความรู้ต่อยอดไปในระดับสูง เพื่อความก้าวหน้าในสายอาชีพที่ต้องการได้ โดยมีสโลแกนว่า “อาชีวะสร้างชาติ”
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ของอาชีวศึกษาจะเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้านและที่สำคัญจะเน้นคือการฝึกปฏิบัติจริง ได้ลงมือทำ ฝึกฝนทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับคุณครูอาชีวศึกษา เพราะตามปกติการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาจะเน้นการให้ผู้เรียนได้ลงมือทำและนำไปสู่การปฏิบัติในแต่ละสาขาวิชาชีพอยู่แล้วเพราะในการจัดการเรียนการสอนของอาชีวศึกษาจะเรียนโดยการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎีอยู่แล้วจึงง่ายมากสำหรับการการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning เพราะจะเป็นการเอื้อให้กับครูครูผู้สอน อาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเล็กน้อยเช่น จากผู้สอนที่มีบทบาทเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้จัดการเรียนรู้ ที่จะต้องเน้นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เน้นการมีบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน การประยุกต์ใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ให้ผู้เรียนสามารถศึกษา ค้นคว้าแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง สร้างความเข้าใจด้วยตนเองจนเกิดเป็นการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง เพราะActive Learning เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้แบบหนึ่งที่สอดคล้องกับการส่งเสริม คุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่จะเน้นกระบวนการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือการลงมือทำ ผู้เรียนได้ใช้ กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไปปฏิบัติ เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการ สร้างสรรค์ทางปัญญา ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ มากกว่าเนื้อหาวิชา ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำกระตุ้น หรือ อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ประเด็นท้าทายของ ว.PA ในส่วนของอาชีวศึกษา คืองานที่ครูทำเป็นปกติ ประกอบด้วย งานมาตรฐานตำแหน่ง และภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ผลการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ คือประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ประกอบด้วย ประเด็นท้าทาย วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล ทั้งนี้ ในการเขียน PA สามารถเสนอเป็นภาพรวมหรือสามารถทำเป็นชิ้นงานในการตอบโจทย์ในการประเมินในแต่ละด้านที่สำคัญครูอาชีวศึกษาจะต้องนำเสนอตามภาระหน้าที่งาน ดังนั้นการประเมินโรงเรียนตามเกณฑ์ สมรรถนะ ว.PAจะไม่เพิ่มภาระงานเกี่ยวกับระบบการประเมิน ยกตัวอย่างการประเมิน PA จะมีอยู่ช่องหนึ่งที่บอกว่า ลักษณะของงานที่จะนำเสนอมีอะไรบ้าง ตัวชี้วัดคืออะไร ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ครูได้เขียนขึ้นมาโดยความเห็นชอบของผู้อำนวยการตามข้อตกลง ดังนั้น กรรมการจะทำการประเมินตรงตัวชี้วัดนั้น ว่าผู้เรียนเป็นไปตามเป้าหรือไม่ และจากการวางระบบกลไกใหม่ที่ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้บริหาร ได้เข้าถึงชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น ก็จะสามารถช่วยลดภาระงานของครูในการจัดทำเอกสารได้นั่นเอง ดังนั้นในการทำข้อตกลง PA ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยาก เนื่องจากเป็นงานที่ทำอยู่แล้ว
เห็นได้ว่าการ ในการทำข้อตกลง PA ของอาชีวศึกษาที่สำคัญคือจะเป็นการดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อนักเรียน สามารถนำปัญหามาเป็นประเด็นท้าทาย เพื่อเสริมให้ผลสัมฤทธิ์ของเด็กมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในการสร้างสรรค์ห้องเรียน Active Learning ในแบบฉบับของครูอาชีวศึกษาสู่คุณภาพของผู้เรียน ตามเกณฑ์ วPA
บทความใกล้เคียง
สร้างพลังการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ: Active Learning ฉบับ วPA
การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (Social Emotional Learning)
กำลังประเมินถูกวิธีอยู่หรือเปล่า? 5 แนวทางการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
Related Courses
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียน Active learning
วัดและประเมินผลอย่างไร ให้ตอบโจทย์การเรียนรู้แบบ Active learning เลือกเครื่องมือวัดผลอย่างไรให้หลากหลาย ตรงตามเ ...
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียน Active learning
ต้องใช้ 100 เหรียญ
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...