การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (Social Emotional Learning)

การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (Social Emotional Learning)

การเสวนา เรื่อง “การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (Social Emotional Learning) สำคัญอย่างไรต่อการสร้างความสำเร็จรอบด้านของผู้เรียน : ความท้าทายที่มีคำตอบ”

มูลนิธิสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ก่อตั้งขึ้นมาโดย นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ชื่อ ดร.ริชาร์ด พี ฮอกแลนด์ ภายใต้การดูแลของมูลนิธิ Firetree Trust นอกจากจัดตั้งมูลนิธิแล้ว ยังมีบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม “สตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น” และได้จัดตั้งโรงเรียนบ้านปลาดาว ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ประเภทศึกษาสงเคราะห์ มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มาจากกลุ่มครอบครัวค่อนข้างเปราะบาง ประมาณร้อยละ 70 เป็นเด็กชาติพันธุ์ และไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแรก ฉะนั้น ในการจัดการศึกษาแก่เด็กกลุ่มนี้ จะต้องมีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของเด็ก เพื่อให้เด็กได้ประโยชน์จากการศึกษาและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ช่วยเหลือตัวเองและครอบครัวได้

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงเรียนบ้านปลาดาว ได้มีการใช้หลักสูตรทั่วไปในระดับชั้นปฐมวัยและประถมศึกษา มีการจัดการเรียนการสอนตามแผนที่ได้ศึกษาและแผนสำเร็จรูป หลังจากนั้น โรงเรียนบ้านปลาดาวได้มีการปรับแผนการสอนเป็นลักษณะ Project Based Learning คือ การให้เด็กเรียนตามโครงงาน ตามความสนใจ ความชอบ เพื่อที่จะได้เห็นถึงพลังแห่งการขับเคลื่อนการเรียนรู้มาจากตัวเด็กเอง โดยเริ่มสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ทั้งนี้ ยังมีการสอนทักษะทางด้านการเขียน อ่าน และคณิตศาสตร์อีกด้วย 

นอกจากการสอนแบบ Project Based Learning แล้ว โรงเรียนบ้านปลาดาวได้มีการคิดค้นนวัตกรรม Makerspace ซึ่งมีลักษณะการใช้พื้นที่ที่เด็กสามารถทำกิจกรรมต่างๆ โดยมีอุปกรณ์ตามความต้องการของเด็ก และครูมีหน้าที่เป็น Facilitator สำหรับรูปแบบการมีพื้นที่สร้างสรรค์ผลงาน การเรียนรู้ทักษะต่างๆ ของเด็กตามบริบทของโรงเรียนบ้านปลาดาว ได้มีการปรับรูปแบบ Makerspace ในส่วนของห้องเรียน หรือห้องต่างๆ ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสิ่งที่อยากจะเรียนรู้ เช่น ห้องทำอาหาร ห้องเย็บผ้า ห้องสตูดิโอ อีกทั้งยังมีการเรียนนอกห้องเรียน ในเรื่องของการเกษตรต่างๆ เพราะฉะนั้น Makerspace พื้นที่ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนจึงมีความแตกต่างกับ Makerspace ที่มีความทันสมัย และด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า เด็กสามารถที่จะพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ไม่ได้มีเฉพาะในเรื่องของ 4C (การสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และการร่วมมือ) แต่ทางสตาร์ฟิชฯ ยังให้ความสำคัญทักษะทางด้านสังคมและอารมณ์ ประกอบไปด้วย 

ส่วนที่ 1 การรู้จักตนเอง การที่เด็กจะต้องรู้จักตนเองว่ามีจุดแข็ง จุดพัฒนา ชอบหรือไม่ชอบอะไร เรื่องของ Growth Mindset ในการพัฒนาตนเอง ถ้าสะท้อนในมุมของการจัดการเรียนการสอน เราจะจัดพื้นที่แบบไหนให้เด็กได้รู้จักตนเองบ้าง 

ส่วนที่ 2 การบริหารจัดการตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอารมณ์ ความเครียด การตั้งเป้าหมายในชีวิต การมีวินัย หรือการสร้างแรงจูงใจ 

ส่วนที่ 3 การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง เริ่มจากการที่เด็กจะต้องรู้จักปัญหา สามารถประเมินสถานการณ์ได้ สามารถแก้ปัญหาได้ โดยใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม สามารถรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัดสินใจได้ 

ส่วนที่ 4 ทักษะด้านความสัมพันธ์ เด็กมีทักษะในการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม 

ส่วนที่ 5 ทักษะทางสังคม คือ การที่เด็กสามารถที่จะมีทักษะในการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับในเรื่องของความแตกต่างหลากหลาย และการเคารพซึ่งกันและกัน 

โดยในกระบวนการ Makerspace หรือ PBL จะมีกระบวนการที่เรียกว่า STEAM Design Process ซึ่งเป็น Design Thinking อย่างง่ายที่ครูสามารถนำไปใช้ได้ โดยเริ่มจากการถาม จินตนาการ วางแผน ลงมือทำ คิดสะท้อนและออกแบบใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ควบคู่กับการพัฒนาทักษะ 

สำหรับครูจะต้องมีลักษณะอย่างไร ในการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ได้ สิ่งแรกที่โรงเรียนมองคือ ครูมีใจในการพัฒนา รักเด็ก และก่อนที่ครูจะช่วยเด็กให้มีทักษะทางด้านสังคมและอารมณ์ ครูก็จะต้องมีทักษะทางด้านสังคมและอารมณ์ด้วย สิ่งสำคัญประการแรก คือ ครูจะต้องจัดการเรียนการสอนในลักษณะที่ตนเองเป็น Facilitator ได้ เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ ประการที่สอง ครูจะต้องจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลได้ รู้จักเด็กเป็นรายบุคคล ประการที่สาม ครูจะต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกในเรื่องของความร่วมมือได้ เนื่องจากครูไม่ได้เป็นผู้รู้หรือเชี่ยวชาญในทุกเรื่องที่เด็กอยากรู้ ประการที่ 4 ครูจะต้องเป็นนักนวัตกร ในการสร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย

การติดตามและประเมินผล ได้มีการใช้เครื่องมือหลากหลายรูปแบบ โดยในระดับโรงเรียนจะดำเนินการตั้งเป้าหมายในการพัฒนาโรงเรียน ทางมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ นอกเหนือจากการที่เข้าไปช่วยในการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังมีการช่วยเหลือในส่วนของการบริหารจัดการโรงเรียนให้มีความสอดคล้องกัน สำหรับระดับห้องเรียนจะมีการใช้เครื่องมือในการประเมิน “Starfish Class Application” ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินผู้เรียนจากพฤติกรรมและทักษะในด้านต่างๆ

สำหรับครูที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม หรือมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ด้วยตนเองที่ Starfish Labz.com ซึ่งเป็น Online Learning Platform หรือ Page Facebook : Starfish Labz ได้ อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาเด็กทางด้านทักษะสังคมและอารมณ์ ครูถือได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญในการสร้างพลังบวก เปิดพื้นที่ให้เด็กรู้สึกสบายใจ และจากสถานการณ์หรือผลกระทบในปีที่ผ่านมา สิ่งที่สำคัญที่สุด เราอาจจะต้องหันกลับมาดูเรื่องของจิตใจ วิธีการดูแลจิตใจให้เข้มแข็ง เพื่อส่งต่อพลังบวกให้แก่เด็กๆ และขยายไปยังครอบครัวของเด็กได้อีกด้วย

ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร

CEO บริษัท สตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น โซเชียล เอ็นเตอร์ไพร์ส (จำกัด)

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
6997 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2725 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนภาษาไทย (3R)

การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนภาษาไทย (3R)
Starfish Academy

การสอนภาษาไทย (3R)

Starfish Academy
2744 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย

การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอยในวันที่โรงเรียนกลับมาเปิดเทอมใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เด็กๆ เรียนออนไลน์มาเป็นเวลานาน ส่ง ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย
Starfish Academy

การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย

Starfish Academy

Related Videos

Makerspace Day #1
07:41
Starfish Academy

Makerspace Day #1

Starfish Academy
579 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #1
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
05:05
Starfish Academy

Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

Starfish Academy
602 views • 2 ปีที่แล้ว
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
10:22
Starfish Academy

CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

Starfish Academy
1507 views • 2 ปีที่แล้ว
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
Makerspace Day #2
04:27
Starfish Academy

Makerspace Day #2

Starfish Academy
281 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #2