10 ข้อดีที่ Portfolio ส่งเสริมทักษะให้แก่นักเรียน
การสร้างแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) กลายเป็นหนึ่งภารกิจหลักของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาไปเลย เพราะแฟ้มสะสมผลงานจะกลายเป็นหลักฐานที่สำคัญที่แสดงถึงกิจกรรมและความสำเร็จของนักเรียนในช่วงเวลาหนึ่ง และรูปแบบของแฟ้มสะสมผลงานอาจจะมีหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น แฟ้มสะสมผลงานที่นักเรียนเลือกผลงานที่ดีที่สุดนำมาโชว์ เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ หรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเรียนรู้ (Showcase Portfolio) หรืออีกประเภท คือ แฟ้มสะสมผลงานที่นักเรียนเลือกแสดงถึงหลักฐานการเติบโต หรือการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป เป็นแฟ้มสะสมผลงานที่เน้นเก็บกระบวนการเรียนรู้ (Development Portfolio)
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แฟ้มสะสมผลงานทั้งสองประเภทต้องการให้นักเรียนเขียนเรียงความสะท้อนความคิด หรือบันทึกเพื่ออธิบายให้อาจารย์ และผู้ประเมินเห็นว่าเกิดความสำเร็จ/เกิดการเรียนรู้/การเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในเชิงความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ และการอธิบายเหตุผลว่าเพราะอะไรถึงอยากเข้าที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้
ด้วยอาจารย์หรือผู้ประเมินที่ต้องการเห็นความสามารถและประสบการณ์ของนักเรียน ทำให้แฟ้มสะสมผลงานกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการคิด การสื่อสาร การเล่าเรื่อง หรือการตัดสินใจเลือกผลงานลงในแฟ้ม จนกระทั่งกลายเป็นแฟ้มสะสมผลงานที่ดีที่สุดของนักเรียน
วันนี้ Starfish Labz ขอนำเสนอ 10 ข้อดีที่การทำ Portfolio จะช่วยพัฒนาทักษะของนักเรียนได้
- ฝึกให้นักเรียนตั้งเป้าหมายเป็นว่าจะนำเสนอแฟ้มสะสมผลงานของตัวเองอย่างไร (Setting Goal and Purpose)
- ฝึกให้นักเรียนได้สะท้อนการเรียนรู้ของตนเองอย่างเป็นระบบ (Reflection) และทำให้นักเรียนได้เข้าใจตัวเองในสิ่งที่เรียนรู้ และต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม
- ฝึกให้นักเรียนได้นำเสนอความพยายาม ความก้าวหน้า ที่ได้ทำมาอย่างต่อเนื่องให้เป็นรูปธรรม จับต้องได้
- ฝึกให้นักเรียนได้คิดอย่างเป็นระบบ เพราะแฟ้มสะสมผลงานที่ดีควรรวบรวมรายการในการสะสมผลงานอย่างเป็นระบบ มีจุดมุ่งหมายและมีความหมาย
- ฝึกให้นักเรียนได้ ‘เลือก’ และ ‘ตัดสินใจ’ ว่าผลงานไหนที่จะนำมาใส่แฟ้มสะสมผลงาน แล้วแสดงขึ้นศักยภาพและการเรียนรู้ของนักเรียนมากที่สุด
- ฝึกให้นักเรียนประเมินผลงานในแฟ้มสะสมผลงานของตัวเอง
- ฝึกให้นักเรียนเกิดทักษะการเป็นนักเล่าเรื่อง (Storytelling) ในการสื่อสารความสำเร็จของตนเอง
- ฝึกให้นักเรียนเกิดทักษะการออกแบบและการเขียน ในดีไซน์แฟ้มสะสมผลงานให้ผู้อื่นอ่านได้ง่าย มีภาพและตัวอย่างประกอบที่เข้ากับเนื้อหา
- ฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อกิจกรรมที่ไปทำ ฝึกเก็บผลงานของตนเอง ไม่ทิ้งขว้าง
- ฝึกให้นักเรียนได้ชื่นชม และเห็นคุณค่าผลงานและการเรียนรู้ที่ผ่านมาของตนเอง
จะเห็นได้ว่าเมื่อนักเรียนเริ่มเก็บสะสมผลงาน นักเรียนจะได้ฝึกทักษะ 10 ข้อนี้ไปโดยอัตโนมัติ และที่สำคัญการเริ่มฝึกเก็บผลงาน นอกจากการเป็นเอกสารประกอบการรับสมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแล้ว ยังเป็นการฝึกเตรียมพร้อมกับการเข้าสมัครงานและมีทักษะการทำ Resume ที่โดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ได้เลยในอนาคต
หากนักเรียนต้องการเครื่องมือในการสร้างแฟ้มสะสมผลงานที่สะดวก มี template ให้ และสามารถดาวน์โหลดเป็น PDF ได้เลย สามารถทดลองใช้ Feature Starfish Portfolio ได้ที่ www.starfishlabz.com คลิก Profile > My Portfolio
อ้างอิง
บทความใกล้เคียง
Related Courses
รอบรู้เรื่องการเงินฉบับรวบรัด
อยากเก็บเงินได้ มีเงินใช้ครบเดือน และมีชีวิตที่ดีตอนเกษียณ แต่ไม่รู้ว่าต้องเริ่มทำอย่างไร Starfish Labz มีคำตอบให้คุณกับคอร์ส ...
ปรับตัวเข้าสู่วัยรุ่นควรทำอย่างไร
วัยรุ่น คือ วัยที่ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งพัฒนาการของร่างกาย ความคิด สุขภาวะจิตที่แตกต่างไปจากเด็ก ในขณะที่ ...
อยากเป็นนักศึกษาครู ต้องเตรียมตัวอย่างไร
รู้จักวิธีการเลือกแผนการเรียน ม.ปลาย วิชาที่ต้องสอบ PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครูการจัดเตรียมแฟ้มสะสมผลงานสำหรับเรียนสา ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 50 เหรียญ