ไม่ใช่เพื่อน แต่ก็ไม่เรียกว่าแฟน ความสัมพันธ์แบบคลุมเครือ ที่พาวัยรุ่นว้าวุ่นใจ
จนไม่เป็นอันเรียน Friend with benefits หรือเรียกสั้น ๆ ว่า FWB ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่มักจะเกิดกับคนใกล้ตัว เพื่อนสนิท หรือบุคคลที่เราไว้วางใจ ความสัมพันธ์มักจะดำเนินไปโดยไม่มีการผูกมัด ให้อิสระต่อกัน เธอจะเดทกับใครก็ได้ ทั้งหมดที่กล่าวมาขึ้นอยู่กับข้อตกลงทั้งสองฝ่าย แต่ถึงจะดูไม่มีอะไรซับซ้อน เรื่องของความรู้สึก
ก็ห้ามกันไม่ได้อยู่ดี โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง หรือใครก็ตาม ที่มีความอ่อนไหวง่าย เมื่ออยู่ในความสัมพันธ์แบบนี้ จึงต้องเช็กความรู้สึกของตัวเองเป็นประจำ ว่ายังโอเคอยู่หรือเปล่า
สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังอยู่ในความสัมพันธ์นี้ หรือกำลังจะเริ่มเรียนรู้ พี่ ๆ Starfish Labz มาแนะนำให้เหล่าวัยรุ่นวัยเรียน รับมือกับ friend with benefits แบบสบายใจ เรื่องราวจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น หาคำตอบผ่านบทความนี้เลย
1. นิยาม Friend with benefits ว่าอย่างไร
คำว่า friend with benefits แต่ละคนนิยามไม่เหมือนกัน บ้างก็บอกมันเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่มีข้อผูกมัด จึงสามารถมีคู่เดทมากกว่า 1 คนได้ หรือเป็นความสัมพันธ์ ที่เจอกันเฉพาะบนเตียงเท่านั้น สุดท้ายแล้วไม่มีนิยามไหนที่ผิดหรือถูก พี่ ๆ อยากให้น้อง ๆ ระบุให้ได้ สำหรับตัวเราแล้ว คำว่า friend with benefits เป็นแบบไหนกัน
เพื่อที่เราจะได้วางแผนกับความสัมพันธ์นี้ต่อไป และทำให้น้องเข้าใจความต้องการของตัวเองด้วย
2. พูดคุยกับคู่ของเราเป็นประจำ
ในความสัมพันธ์รูปแบบไหนก็ตาม การคุยเป็นส่วนหนึ่งให้เราหาทางออกของปัญหา ได้ง่ายขึ้น บ่อยครั้งการคิดล่วงหน้า หรือวิตกกังวล โดยที่ตัวน้อง และคู่ของน้อง ยังไม่ได้คุยกัน
จึงลงเอยด้วยต่างฝ่ายต่างคิดไปเอง ซึ่งทำให้ปัญหาทวีคูณ พี่ ๆ แนะนำให้ลองถามถึงความสัมพันธ์กับคู่ของเรา ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง เจอเรื่องไม่สบายใจในความสัมพันธ์นี้หรือเปล่า ถ้ามีจะได้ช่วยกันแก้ปัญหา
3. ตั้งกฎ สร้างรั้วเซฟใจกันและกัน
ชีวิตของน้อง ๆ บางครั้งเรายังมีกฎกับตัวเองเลย เช่น ช่วงสอบ ฉันจะเล่นเกมให้น้อยลง อ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ดังนั้นลองเอาวิธีนี้ มาใช้กับความสัมพันธ์ดูไหม เพราะกฎจะกำหนดให้ตัวน้อง และคู่ของน้อง รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ขอบเขตของความสัมพันธ์อยู่ตรงไหน ซึ่งถ้าเข้าใจตรงกัน ปฎิบัติตามกฏ จะช่วยลดความรู้สึกไม่ดีของเราทั้ง 2 คนได้
4. สิ่งที่เลือกแล้ว ดีเสมอ
เห็นคนรักในโรงเรียน เขาตั้งสถานะคบกันบนเฟซบุ๊ก เดินจูงมือ ซื้อของขวัญให้กัน แต่ตัวน้องและคู่ของน้อง ทำแบบนั้นไม่ได้ พี่ ๆ อยากให้น้องโฟกัสเฉพาะความสัมพันธ์ของตัวเอง ถ้าการที่เป็น friend with benefits ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และทำให้เรามีความสุข นี่แหละคือคำตอบ สุดท้ายแล้วมีแค่น้อง 2 คนเท่านั้น ที่เข้าใจเป็นอย่างดี
5. คาดหวังอะไรจากความสัมพันธ์
นอกจากเข้าใจความหมายของ friend with benefits ในแบบฉบับของตัวเอง การตั้งคำถามว่า ฉันต้องการอะไรจากความสัมพันธ์นี้ รวมไปถึง ทราบความต้องการของอีกฝ่าย จะทำให้รูปแบบความสัมพันธ์ของน้อง สร้างความทุกข์ใจให้เราน้อยลง คล้ายกับการรู้ว่าเส้นชัยอยู่ทางไหน และพยายามอยู่ในเส้นทางที่จะพาเราไปถึง
6. อยากออกจากจุดที่ยืน
มีหลากหลายสาเหตุ ที่ใครคนหนึ่งต้องการออกจากความสัมพันธ์แบบเดิม แต่กลัวการเปลี่ยนแปลง จึงยังมูฟออนไม่ได้ พี่ ๆ ชวนให้น้อง ๆ ตั้งคำถาม อะไรคือสาเหตุของการอยากมูฟออน แต่ทำไม่ได้สักที เป็นเพราะความผูกพันที่ยาวนาน ใช่หรือไม่ ซึ่งถ้าตอนนี้ ยังทำไม่ได้ ไม่มีปัญหาอะไรเลย เพราะมันถือเป็นการตัดสินใจครั้งยิ่งใหญ่ พี่ ๆ เชื่อว่า สักวันหนึ่ง น้องจะสามารถก้าวผ่านไปได้
ความสัมพันธ์ friend with benefits สิ่งแรกที่น้อง ๆ ต้องอย่าลืมทำ คงเป็นการอธิบายนิยามของมันสำหรับคู่ของน้องเอง และพูดคุยกัน เพื่อเช็กว่ายังโอเค
กับการเป็นแบบนี้อยู่หรือเปล่า ที่สำคัญ อย่าลืมสร้างกฎให้ชัดเจน ถ้าทำตามนี้พี่ ๆ มั่นใจว่า น้องจะสามารถรับมือกับความสัมพันธ์ fwb ได้ และให้เชื่อไว้ว่า ทุกสิ่งที่เราตัดสินใจไปแล้ว มันย่อมดีเสมอ ถ้าหากไม่ชอบ ก็หาวิธีปรับเปลี่ยนได้
Sources:
Related Courses
How to เรียนรู้ รักให้เป็น
คอร์สเรียน How to เรียนรู้ รักให้เป็นนี้ จะเป็นคู่มือความรักสำหรับคนที่มีหัวใจ ให้ทุกคนได้เข้าใจความหมายของการรักที่ใช้ 'หัว' ...



How to เรียนรู้ รักให้เป็น
ต้องใช้ 100 เหรียญ
ปรับตัวเข้าสู่วัยรุ่นควรทำอย่างไร
วัยรุ่น คือ วัยที่ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งพัฒนาการของร่างกาย ความคิด สุขภาวะจิตที่แตกต่างไปจากเด็ก ในขณะที่ ...



วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)
การควบคุมอารมณ์เพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่น เป็นทักษะความฉลาดทางอารมณ์ที่ควรได้รับการส่งเสริม เพื่อสามารถใช้ ...



วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)
วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล
ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อตาล่อใจ ทั้งโซเชียลมีเดีย การเรียน กิจกรรมต่าง ๆ และการใช้ชีวิตส่วนตัว การจัดการเวลาจึงเป็นทั ...



Related Videos


ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร


108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น


แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต

