ตัวช่วยเร่งด่วน เมื่อต้องเป็นผู้รับฟัง ให้วัยรุ่น
ทำตัวไม่ถูก ไม่รู้จะช่วยแก้ปัญหายังไงดี เวลามีเพื่อนหรือคนใกล้ตัว มาขอคำปรึกษา จะแนะนำหรือแค่ฟัง แล้วไม่ต้องพูดอะไร? พี่ ๆ Starfish Labz แนะนำ อันดับแรกที่ควรทำ คือเคลียร์สมองให้โล่ง เว็บไซต์ nytimes อธิบายเพิ่มเติมถึงวิธีการ โดยให้เราฟังผู้ฟัง เหมือนกับเรากำลังทำ meditation ปล่อยใจสบาย และจดจ่อกับสิ่งที่เพื่อนกำลังเล่า ระหว่างนี้ อะไรที่ผุดขึ้นมาในหัว ทั้งการตัดสินทันที คำแนะนำ ข้อคิดเห็น น้อง ๆ เก็บไว้ก่อน ให้เพื่อนได้เล่าทุกอย่างครบถ้วน
และเพื่อสวมบทบาทนักฟัง ที่เข้าใจหัวอกผู้พูดได้เป็นอย่างดี ในบทความนี้ พี่ ๆ Starfish Labz เตรียมพร้อมเรียบร้อย กับ ตัวช่วยเร่งด่วน เมื่อต้องเป็นผู้รับฟังให้วัยรุ่น
มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันเลย
1. ยอมรับว่าทุกคนมีประสบการณ์ต่างกัน
เรื่องราวที่แต่ละคนเจอ วิธีการรับมือก็ไม่ต่างกัน เรื่องเล็กของเรา อาจใหญ่สำหรับคนอื่น เพราะฉะนั้นเวลาเพื่อน ๆ มาปรึกษาน้อง เราควรตกลงกับตัวเองก่อน
ทุกคนมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน เช่น เพื่อนสนิท ที่ได้เกรด 4 ทุกวิชา ติดต่อกันหลายปี แต่วันหนึ่งเกรด 3 โผล่มา 1 ตัว เขามาปรึกษาน้องด้วยความเสียใจ แต่เราก็มองว่า ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร พี่ ๆ แนะนำให้รับฟังเพื่อน และอยู่เคียงข้างเพื่อน แค่นี้ก็ฮีลใจเพื่อนได้บ้างแล้ว
2. ไม่ขัดจังหวะผู้พูด
เคยเป็นไหมเอ่ย เพื่อนมาปรึกษาทีไร ไม่รอให้เพื่อนพูดจบ รีบแนะนำสวนกลับทันที
เพราะความเป็นห่วง แต่การไปขัดจังหวะแบบนั้น อาจทำให้เรารับฟังปัญหาเขาได้ไม่ครบถ้วน
เช่น เพื่อนเดินมาปรึกษาที่โต๊ะ ด้วยอารมณ์ที่โกรธกับใครสักคนหนึ่ง พอเพื่อนเอ่ยชื่อขึ้นมา
น้องก็พูดสอนเพื่อน เพราะเราก็รู้จักคนนั้น สิ่งที่พี่อยากแนะนำ เราต้องคุมตัวเองให้นิ่ง รอให้เจ้าตัวพูดจบ มีคำถามหรืออยากพูดอะไรเก็บไว้ตอนท้ายจะดีกว่า และถ้าเพื่อนไม่ขอคำแนะนำ เราไม่ควรเสนอแนวทางแก้ไขเรื่องนั้น ๆ
3. ส่งสัญญาณ ว่าฉันฟังเธออยู่
นั่งฟังพร้อมกับเล่นโทรศัพท์ไปด้วย คุ้น ๆ กับเหตุการณ์นี้ไหม เวลาเพื่อนหรือคนใกล้ชิดมาปรึกษา พี่ ๆ แนะนำวางโทรศัพท์ลงก่อน และใช้โมเมนต์นั้นกับผู้พูด
อย่าลืมส่งสัญญาณว่าฉันฟังเธออยู่ ผ่านการ พยักหน้า สบสายตา หรือทำเสียงอ่อ จะทำให้คนที่มาปรึกษาเรารู้สึกดี และถ้ามีธุระด่วน ควรแจ้งให้ผู้พูดรู้ก่อน ไม่ใช่เดินออกจากวงสนทนาไปเลย
4. สัมผัสใจกัน ผ่านชุดคำถาม
ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ถ้าน้อง ๆ อยากแนะนำเพื่อน เวลาพวกเขามาปรึกษาด้วยเรื่องทุกข์ใจ
แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราใช้คำถามให้เขาเข้าใจสิ่งนั้นมากขึ้นด้วยตัวเอง เช่น ระหว่างที่พูด เธอกำลังรู้สึกอะไรอยู่ ให้เพื่อนได้เช็กความรู้สึกของเขา หรือ ตั้งคำถามให้เพื่อน เธอจะจัดการอย่างไรกับปัญหานี้ ซึ่งช่วยให้เขาตกตะกอน และโฟกัสกับปัจจุบัน หลังจากนั้นเมื่อเพื่อน ถามถึงความคิดเห็นเราเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ถ้าน้องมี ก็สามารถพูดได้เลย
5. ใช้ภาษากายเปิดรับ
ท่าทางที่เราใช้เวลาเพื่อน ๆ มาปรึกษา ก็ส่งผลกับความรู้สึกผู้พูดด้วยเช่นกัน ลองจินตนาการ ถ้าเรากำลังทุกข์ใจ และเดินไปหาเพื่อนคนหนึ่ง แต่เขาใช้ภาษากาย ทำให้เรารู้สึกเกร็ง เช่น การนั่งฝั่งตรงข้ามกับเรา ทำให้รู้สึกไม่สบายใจเท่าไหร่ ดังนั้น พี่ ๆ แนะนำ เวลามีใครมาปรึกษาเรื่องบางอย่าง ควรใช้ภาษากายเปิดรับ เช่น เลือกนั่งข้าง ๆ ผู้พูด สร้างความรู้สึกอุ่นใจ ไม่กอดอก และสบตา ตั้งใจฟังเขาให้มากที่สุด
6. สรุปและทวนสิ่งที่เขาทุกข์ใจ
บางครั้งเพื่อนมาปรึกษาเรา แต่เข้าใจไม่ตรงกัน เพราะตีความคนละรูปแบบ การสรุปสิ่งที่เขาพูดมาทั้งหมด สามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ เช่น เพื่อนมาระบายเซตใหญ่
เกี่ยวกับคนรัก มีหลายอย่างที่น้องไม่แน่ใจ แต่ก็คิดในหัวว่า อาจจะเป็นแบบนั้น อาจจะไม่ใช่แบบนี้ พี่ ๆ แนะนำให้ถามเพื่อนโดยตรง ที่เธอเล่ามา เรื่องเป็นแบบนี้ใช่ไหม
การทำแบบนี้ยังทำให้เพื่อนรู้สึกถึงความตั้งใจ ที่น้องเป็นที่ปรึกษาให้เขา
7. จินตนาการว่าเราเป็นผู้เจอปัญหา
เรื่องแค่นี้เอง ไม่เห็นมีอะไรเลย บางครั้ง น้อง ๆ อาจเผลอใช้คำพูดแบบนี้ ตอนที่เพื่อนมาปรึกษาปัญหาชีวิต ซึ่งคงจะตัดสินไม่ได้ ว่ามันถูกหรือผิด แต่พี่อยากแนะนำ
ให้ลองหยุด และสวมหมวกเป็นคนนั้น คนที่กำลังเจอมรสุมลูกใหญ่ในชีวิต ถ้าเราตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น เราจะรู้สึกอย่างไร มีวิธีการจัดการหรือเปล่า การจินตนาการ จะทำให้น้องรู้สึกเห็นอกเห็นใจ และไม่รีบด่วนตัดสินกับเหตุการณ์ที่เราได้ยิน
พี่ ๆ เชื่อว่า ทั้ง 7 ข้อนี้ จะเป็นคู่มือ ให้น้อง ๆ พร้อมรับฟังทุกปัญหาจากเพื่อน
หรือคนใกล้ตัวได้ และเป็นผู้ฟังที่ผู้พูดรู้สึกสบายใจทุกครั้ง ที่ได้พูดคุยด้วย แต่ต้องอย่าลืมดูแลจิตใจของเราด้วยนะ ถ้ายังไม่พร้อมเป็นที่ปรึกษาให้ใคร พักใจสักครู่
ชาร์จพลังให้เต็มที่
Sources:
5 Ways to Balance Teen Emotions | Newport Academy |
https://www.newportacademy.com/resources/mental-health/5-ways-balance-te
- Non-judgemental listening | Lloyd's Wellbeing Center |
https://www.lloydswellbeingcentre.co.uk/blog/non-judgemental-listening/
- Five Tips for Nonjudgmental Listening | Mental Health First Aid |
https://www.mentalhealthfirstaid.org/2019/08/five-tips-for-nonjudgmental-listening/
- How to Be a Better Listener - Smarter Living Guides | The New York Times |
https://www.nytimes.com/guides/smarterliving/be-a-better-listener
Related Courses
วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)
การควบคุมอารมณ์เพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่น เป็นทักษะความฉลาดทางอารมณ์ที่ควรได้รับการส่งเสริม เพื่อสามารถใช้ ...
วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...