เจาะลึกอาชีพในอนาคตสาย Gaming: รู้จัก Game Programmer เกมจะลื่นหรือจะล่มต้องพึ่งเขาเท่านั้น!
ในบทความก่อนหน้า เราได้ทำความรู้จักกันไปแล้วเกี่ยวกับ อาชีพ เกมเมอร์ คุณสมบัติ เกมเมอร์ และรายละเอียดที่น่าสนใจต่างๆ ในบทความนี้ในที่สุดก็มาถึง อาชีพในอนาคต สุดท้ายของสาย Gaming ที่เชื่อว่าชาว Starfish Labz หลายๆ คนคงกำลังรอคอยอยู่อย่างไม่แพ้กัน เกมจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างเป็นเรื่องเป็นราว เล่นจริงๆ ได้อย่างไรถ้าไม่มีในตำแหน่งสุดท้ายนี้อย่าง Game Programmer แต่ Game Programmer คืออะไรหลายๆ คนคงคุ้นหูคุ้นเคยกันอยู่พอสมควรแต่ก็อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจมากนักวันนี้ Starfish Labz มีคำตอบ
Game Programmer คือใคร ทำอะไร
นักเขียนโปรแกรมเกม (Game Programmer) หรือในอีกชื่อหนึ่งคือนักพัฒนาเกม (Game Developer) กล่าวอย่างง่ายที่สุดแล้วก็คือผู้สร้างเกมในเชิงเทคนิคหรือบุคคลที่จะทำหน้าที่รับไม้ต่อจากนักออกแบบเกม (Game Designer) นำเอาไอเดียต่าง ๆ จากนักออกแบบเกมมาทำให้เกิดเป็นวิดีโอเกมจริง ๆ ผ่านทักษะและซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในแขนงวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science) หรือวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineer)การพัฒนาเกมขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมการแก้ปัญหาการทำให้เกมเสถียรความสำเร็จของเกมในเชิงปฏิบัติขึ้นอยู่กับความสามารถของ Game Programmer ล้วนๆมี Game Designer ที่เก่งแล้วมี Vision มี Ideas แต่ถ้าไม่มี Game Programmer ที่สามารถนำเอา Ideas ต่างๆ ดังกล่าวมาสร้างเป็นเกมจริงๆ ต่อได้ท้ายที่สุดเกมก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ Game Programmer กล่าวอีกนัยหนึ่ง จึงอาจเปรียบได้กับผู้อยู่เบื้องหลังเชิงเทคนิคเป็นบุคคลที่สำคัญหลังบ้านของการผลิตเกมหนึ่งๆ นั่นเองค่ะ
คุณสมบัติและทักษะที่สำคัญของ Game Programmer
1.มีความรู้ หรือได้รับการฝึกอบรมในด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science) หรือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming)
2.มีทักษะการแก้ไข การตีโจทย์ Ideas การคิดวิเคราะห์
3.มีความรู้ในการใช้ซอฟต์แวร์ Animation 2D และ 3D
4.มีประสบการณ์หรือความรู้ในกระบวนการผลิตเกม
5.มีความชื่นชอบในวิดีโอเกมและประสบการณ์ในการเล่นเกม
6.ทักษะการสื่อสาร สำหรับการทำงานร่วมกับสมาชิกทีมคนอื่น ๆ
7.มีคุณสมบัติ Team Player และในขณะเดียวกันก็สามารถทำงานเดี่ยว ๆ อิสระได้อย่างดี
8.มีความรู้และความสนใจในความก้าวหน้าของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมการผลิตเกม
9.ความรู้ ความสนใจในประเภทและเทรนด์ของเกม
โดยซอฟต์แวร์ที่ Game Programmer สามารถใช้ เช่น C, C++, Java, Nuke, Unreal Engine, Maya, 3D Studio max, Adobe Photoshop, Illustrator, After Effects, และ Unity เป็นต้น
บทบาทของ Game Programmer ในการทำงานจริงๆ
1.ทำงานร่วมกับ Game Designer ในการพัฒนาเกมให้เป็นจริงตามแบบและแนวคิดต่าง ๆ
2.ทำการวิจัยและพัฒนาชุดเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้ในการพัฒนาเกมให้เป็นจริง
3.พัฒนาเกมให้สามารถเล่นได้อย่างเต็มที่มีความเสถียร เกิดปัญหาน้อยที่สุด
4.ทำเอกสารขั้นตอนและกระบวนการในการผลิตเชิงเทคนิค
5.ทำงานตามกำหนดระยะเวลาและภายใต้งบประมาณที่มีการวางเอาไว้
6.เมื่อผลิตเกมเสร็จแล้วปล่อยเกมแล้วทำหน้าที่เป็น Tech Support ในการคอยอัปเกรดแก้ปัญหาและช่วยเหลือทางเทคนิคต่าง ๆ
Game Programmer มีรายได้เท่าไหร่
สำหรับในประเทศไทยอาชีพ Game Programmer / Game Developer มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 25,000 – 100,000 ต่อเดือน
อยากเป็น Game Programmer ต้องเริ่มอย่างไร
เส้นทางการเป็น Game Programmer ของแต่ละคนสามารถแตกต่างกันบางคนอาจไม่เคยมีความรู้ หรือเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มาก่อนเลยแต่มาอาศัยเรียนรู้เอาเองในตอนหลัง ในขณะที่บางคนก็เลือกเรียนมาตั้งแต่ช่วงมหาวิทยาลัย หรือกระทั่งมัธยม อันที่จริงแล้ว ในแง่ของความรู้ ความสามารถ คุณวุฒิเป็นสิ่งที่สำคัญหรือเปล่าขึ้นอยู่กับบริษัทหรือการกำหนดทีมของทีมหนึ่งๆ บางบริษัทก็ต้องการ Game Programmer ที่อาจจะต้องจบปริญญาตรีมาโดยตรงหรืออย่างน้อยมีวุฒิการศึกษาหนึ่งๆ มาก่อน สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องของทักษะ ความรู้ที่ Game Programmer มีมากกว่าเพราะก็ไม่ใช่ว่านักศึกษาที่จบปริญญาตรีโดยตรง จะมีความเชี่ยวชาญหรือตอบโจทย์ความต้องการของทีมได้เสมอไป ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการเตรียมพร้อม การค้นหาทักษะ และความชอบของ Game Programmer และการเดินเข้าหาโอกาส การมองหาพื้นที่และทีมที่ใช่สำหรับตนเอง อย่างไรก็ดี แน่นอนว่าการมีโอกาสได้สั่งสมทักษะแต่เนิ่น ๆ หรือเริ่มเรียนโดยตรงก็ยังไม่สายซึ่งสายที่ตรงที่สุดก็คือการเรียนในสาขาวิชา Computer Science หรือ Computer Programming ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีหลากหลายมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนและในปัจจุบัน ยังได้มีการพัฒนาหลักสูตรให้เน้นเรื่องการพัฒนาเกมโดยตรงขึ้นมาอีกด้วย
ตัวอย่างมหาวิทยาลัยชื่อดังในประเทศไทยที่เปิดสอน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาพัฒนาสื่อประสม และเกม
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สาขาวิชาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบเกม
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์(นานาชาติ)
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล(นานาชาติ)
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรดิจิทัลเกมซิมูเลชัน
สรุปสาระสำคัญ (Key Takeaway)
การเกิดขึ้นของเกมขวัญใจผู้เล่นหนึ่งๆ คงจะเป็นไปไม่ได้เลยหากขาดบุคคลที่เชี่ยวชาญในเชิงเทคนิคอย่าง Game Programmer ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่การผลิตเกมขึ้นมาจริงไปจนถึงการคอยดูแลซัพพอร์ตระบบและการเล่นของผู้เล่น บทบาทหน้าที่ของ Game Programmer ถือเป็นหัวใจหลักอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ของการผลิตและสร้างสรรค์เกมที่ประสบความสำเร็จเมื่อมองในแง่ของการเป็น อาชีพในอนาคต แน่นอนว่าอุตสาหกรรมเกมยังคงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มแต่การเติบโตตั้งแต่ในระดับของการเล่นทั่วไปไปจนถึงในระดับของการแข่งขันการส่งเสริมกีฬา Esports ที่นับวันยิ่งเติบโตและเป็นที่นิยมมากขึ้นทุกทีเรียกได้ว่าไม่ว่าจะยุคไหนๆ เชื่อว่า อาชีพในอนาคต อย่าง Game Programmer / Game Developer ก็ไม่มีตกยุคแน่นอน
อ้างอิง:
Related Courses
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...