ชวนพ่อแม่ เช็กอาการติดจอของตัวเองก่อนทำลูกพัฒนาการแย่โดยไม่รู้ตัว

Starfish Academy
Starfish Academy 1702 views • 1 ปีที่แล้ว
ชวนพ่อแม่ เช็กอาการติดจอของตัวเองก่อนทำลูกพัฒนาการแย่โดยไม่รู้ตัว

หากจะกล่าวว่าสมาร์ทโฟน สร้างความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันก็คงไม่ผิดนัก ตั้งแต่รูปแบบการสื่อสารไปจนถึงการทำธุรกรรมต่าง ๆ สมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียวก็ตอบโจทย์ได้ทั้งหมด

จึงไม่น่าแปลกใจ หากพบว่าในแต่ละวันคนเราใช้เวลาอยู่กับหน้าจอ มากกว่าการทำกิจกรรมอื่น ๆ เพราะภายในหน้าจอโทรศัพท์ที่ไม่ได้ใหญ่ไปกว่าฝ่ามือนั้น กลับเต็มไปด้วยแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ตั้งแต่เรื่องสำคัญ ๆ อย่างการจ่ายบิล ไปจนถึงความบันเทิงต่าง ๆ ทั้งดูหนัง และฟังเพลง

แต่ในความสะดวกสบายนั้น ก็เป็นดาบสองคมที่หลายคนอาจคิดไม่ถึง โดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อแม่ สมาร์ทโฟนอาจทำให้ชีวิตง่ายขึ้น แต่อีกด้านหนึ่ง การก้มมองหน้าจอตลอดเวลา ก็อาจส่งผลต่อจิตใจของลูก โดยที่พ่อแม่ไม่รู้ตัว ว่ากันว่าวิวัฒนาการของสมาร์ทโฟนนั้น ทำให้คนเรา

ว่อกแว่กง่าย และไม่ค่อยให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า 

บทความนี้ Starfish LabZ ชวนผู้ปกครองมาสำรวจพฤติกรรมติดหน้าจอของตนเอง ว่าส่งผลต่อจิตใจของคนรอบกายอย่างเด็ก ๆ อย่างไรบ้าง

Continuous Partial Attention เมื่อความสนใจถูกแบ่งไปให้ “หน้าจอ” 

เคยไหม ขณะที่ฟังลูกเล่าเรื่องกิจกรรมที่โรงเรียน แล้วจู่ ๆ ก็มีเสียงแจ้งเตือนจากโทรศัพท์ แม้ในใจลึก ๆ รู้ว่าการแจ้งเตือนนั้น อาจเป็นโฆษณาริงโทน ที่ไม่ได้สลักสำคัญอะไร แต่ในใจก็ยังพะวงอยากรู้ ในที่สุดก็อดทนฟังลูกเล่าจนจบไม่ได้ เอื้อมมือไปหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู เพียงเพื่อจะพบว่าการแจ้งเตือนนั้นเป็นโฆษณาที่ไม่สำคัญจริง ๆ เมื่อหันไปมองลูก ก็พบกับสายตาผิดหวัง ที่พ่อแม่ไม่ได้ตั้งใจฟังเรื่องที่เขาเล่าเลยสักนิด

หากเคยมีประสบการณ์คล้าย ๆ อย่างนี้ อาจเป็นไปได้ว่า คุณกำลังมีอาการ

ที่เรียกว่า Continuous Partial Attention (CPA) ซึ่งเป็นพฤติกรรมให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ เพราะมีโทรศัพท์คอยดึงดูดความสนใจอยู่ตลอด พบได้ในคนยุคปัจจุบันที่ใช้หน้าจอเป็นเหมือนปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิต

Continuous Partial Attention ถูกบัญญัติขึ้นโดย ลินดา สโตน นักเขียนและที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีชาวอเมริกัน เพื่ออธิบายถึงพฤติกรรมของคน ในโลกยุคใหม่ ที่มักแบ่งความสนใจอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ในโลกที่เรามีเทคโนโลยี อยู่ในมือ อาจทำให้เราไม่ได้ให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าอย่างเต็มที่ แต่กลับแบ่งความสนใจให้กับหน้าจอ ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง โดยที่เราไม่รู้ตัว คนที่มีพฤติกรรมแบ่งความสนใจ หรือ CPA มักไม่รู้ตัวว่าตนเอง กำลังละเลยสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เพราะความต้องการลึก ๆ ที่จะเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดียเพื่อไม่ให้พลาดสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์นั้น มีแรงดึงดูดอย่างมาก ที่ทำให้อดใจไม่ไหวต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเช็คเป็นระยะ ๆ 

การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2017 พบว่าชาวอเมริกัน ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่สามารถละสายตาจากสมาร์ทโฟนได้นานกว่า 10 นาที นั่นหมายความว่าในแต่ละวัน คนเราอาจเช็คโทรศัพท์มากกว่า 80 ครั้ง ต่อวัน!

ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ขณะที่พ่อแม่ผู้ปกครองกังวลว่า ลูกจะติดเกม หรือใช้หน้าจอมากเกินไป ในทางกลับกันอาจเป็นพ่อแม่เองต่างหาก ที่สนใจหน้าจอจนลืมดูแลจิตใจของเด็ก ๆ 

เกิดอะไรเมื่อผู้ใหญ่ติดหน้าจอ

งานวิจัยในต่างประเทศ พบว่า เมื่อวัยรุ่นเห็นว่าพ่อแม่พึ่งพิงสมาร์ทโฟนมากเกินไป เด็ก ๆ มักรู้สึกว่าพวกเขาได้รับความอบอุ่นจากพ่อแม่น้อยลง ซึ่งหากเกิดขึ้นในวัยรุ่น ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ดี นอกจากนี้ การที่พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ให้ความสนใจกับหน้าจออย่างต่อเนื่อง ยังทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าพวกเขาไม่มีความสำคัญ จนอาจนำไปสู่ความรู้สึกถูกทอดทิ้งทางอารมณ์ และส่งผลต่อความยอมรับนับถือตนเองในเด็ก 

เมื่อเด็ก ๆ เล่าเรื่องราวในชีวิตให้พ่อแม่ฟัง แต่พ่อแม่ผู้ปกครอง กลับเอาแต่ก้มมองหน้าจอ หรือฟังบ้าง ก้มดูมือถือบ้าง แม้ผู้ใหญ่จะบอกว่าฟังอยู่ แต่เด็ก ๆ รับรู้จากการกระทำว่าไม่ใช่ พ่อแม่ผู้ปกครอง ไม่ได้สนใจเขาอย่างแท้จริง แต่กำลังสนใจหน้าจอต่างหาก ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ซ้ำ ๆ เด็ก ๆ อาจเลิกแบ่งปัน เรื่องราว ไม่เล่าเรื่องที่โรงเรียน ไม่ชวนพ่อแม่คุยอีกต่อไป เพราะพวกเขาไม่ต้องการรู้สึกถูกละเลยทอดทิ้งซ้ำๆ 

นอกจากนี้ เด็ก ๆ ที่อยู่ท่ามกลางผู้ใหญ่ที่ติดหน้าจอ ก็มีความเป็นไปได้สูงว่า เด็กกลุ่มนี้จะติดหน้าจอเช่นเดียวกับพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ใกล้ตัว ดังนั้น หากต้องการให้ลูกมีวินัยในการใช้หน้าจอ ผู้ใหญ่เองก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี แบ่งเวลาการใช้หน้าจอและให้เวลากับเด็ก ๆ อย่างเหมาะสมด้วย

3 วิธีใส่ใจลูกมากกว่าหน้าจอ

1. ให้ความสำคัญกับลูกมากกว่าหน้าจอ 

หลายครั้งพ่อแม่ผู้ปกครองก็มีความตั้งใจที่ดี ที่จะวางมือถือแล้วใช้เวลากับลูกอย่างจริงจัง 1-2 ชั่วโมง สิ่งนี้ อาจฟังดูง่าย แต่เมื่อลงมือทำจริง ๆ กลับไม่เป็นอย่างที่คิด เพราะภายใน 2 ชั่วโมงนั้น คนทั่วไปมักเช็คโทรศัพท์อย่างน้อย 12 ครั้ง ดังนั้น หากรู้สึกไม่มั่นใจว่าจะละความสนใจจากหน้าจอได้ ควรปิดการแจ้งเตือนต่าง ๆ เพื่อไม่ให้มีอะไรมาขัดจังหวะขณะใช้เวลาคุณภาพกับลูก หรือจะให้ดีตั้งค่าโทรศัพท์เป็น Airplane Mode สักสองชั่วโมง ก็จะช่วยกำจัดเสียงรบกวนต่าง ๆ ได้ หากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์จริง ๆ ควรอธิบายให้ชัดเจนว่าเพราะอะไร เช่น “แม่ขอเปิดดูสูตรขนมที่เซฟไว้จะได้รู้ว่าเราต้องเตรียมอะไรกันบ้าง”  หรือ “เราโทรชวนคุณพ่อให้ไปเดินเล่นด้วยกันเถอะ” ใช้โทรศัพท์เท่าที่จำเป็นจริง ๆ ไม่ แวะเช็คไลน์ ดูไอจี หรืออัพสเตตัส สิ่งเหล่านั้นควรรอก่อน เพราะตอนนี้เป็นเวลาของคุณและลูกเท่านั้น 

2. เลือกเวลาใช้โซเชียล มีเดีย 

การได้เข้าไปดูว่าเพื่อน ๆ ทำอะไรกันบ้างในเฟซบุ๊ก หรือ อัพเดทร้านอาหารใหม่ ๆ ในไอจี อาจเป็นเรื่องสนุก ๆ เพลิดเพลินและเลื่อนดูได้ไม่รู้จบ แต่แทนที่จะใช้เวลาทั้งวัน อยู่ในโซเชียลมีเดีย ลองตั้งกฏว่าจะใช้โซเชียลมีเดียให้เป็นเวลา เช่น หลังจากลูกไปโรงเรียนจะเล่น 1 ชั่วโมง หลังลูกเข้านอนจะดูอีก 2 ชั่วโมง หากทำได้ตามนี้อาจพบว่าเรามีเวลาเหลือไปทำกิจกรรมกับลูก และสิ่งอื่น ๆ ได้อีกมาก

3. สบตาขณะสื่อสาร 

การสบตาขณะสื่อสารกับลูกเป็นสิ่งสำคัญที่หลายคนอาจคิดไม่ถึง การสบตาทำให้เด็ก ๆ รับรู้ว่าพ่อแม่อยู่ตรงนี้ ตั้งใจ และให้ความสำคัญกับลูกที่อยู่ตรงหน้า ทำให้ลูกรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ มีตัวตนและได้รับการยอมรับ ช่วยสร้างความภาคภูมิใจในตัวเองให้ลูกได้ ในทางกลับกัน หากพ่อแม่ต้องการพูดให้ลูกเชื่อฟัง ก็ควรสบตาขณะคุยกับลูก ไม่ใช่พูดผ่าน ๆ ขณะก้มดูจอหรือทำอย่างอื่น เพราะการกระทำเช่นนี้ ถือเป็นการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ หากรู้สึกว่าตนเองพูดอะไรลูกไม่เคยฟัง นั่นอาจเป็นเพราะคุณไม่ได้สบตาและสื่อสารกับลูกอย่างถูกวิธีนั่นเอง

สุดท้ายแล้ว อย่าลืมว่าสมาร์ทโฟน เป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น แต่สมาร์ทโฟนไม่อาจแทนที่สิ่งสำคัญในชีวิต อย่างการใช้เวลากับลูก หรือการได้เห็นลูกเติบโตด้วยสายตาของเราเอง เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็อย่าปล่อยให้ลูกใจเหงา วางหน้าจอ แล้วมามองหน้าจริงของลูกกันดีกว่าค่ะ 

แหล่งอ้างอิง (Sources):

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1394 ผู้เรียน
เครื่องมือผู้ปกครอง
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to Play : กลเม็ดพิชิตใจเด็ก

“เล่นให้เด็กติดใจ”จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปถ้าหากเรารู้เคล็ดลับบทเรียนนี้จะช่วยให้คุณ “เป็นคนที่ เล่นอย่างสนุก”“เข้าใจวิธีการเ ...

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์
เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์
How to Play : กลเม็ดพิชิตใจเด็ก
เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์

How to Play : กลเม็ดพิชิตใจเด็ก

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3082 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7762 ผู้เรียน

Related Videos

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
363 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
34:16
Starfish Academy

วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง

Starfish Academy
37 views • 1 ปีที่แล้ว
วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
34:03
Starfish Academy

เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน

Starfish Academy
34 views • 1 ปีที่แล้ว
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
175 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก