3 เรื่องตั้งต้น ก่อนเป็น ‘ครูครีเอเตอร์’ สรุปเวิร์กช้อปสร้างสรรค์คอนเทนต์สไตล์ Starfish Labz
Starfish Education นำทีม Starfish Academy และผู้เชี่ยวชาญรับเชิญชื่อดังมากมายมาพบเจอเหล่าครูในโครงการ Teachers Hero Season 3 ทั้ง 30 ท่าน เริ่มตั้งต้นย่างก้าวแรกสู่เส้นทาง ‘ครูครีเอเตอร์’ พร้อมหน้ากันเป็นครั้งแรก เมื่อวันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2565
โดยทีมงาน Starfish Labz ไม่ลืมสรุปความรู้ใน Session ‘สร้าง Content Creator ผ่าน Makerspace อย่างไรให้ปัง!’ มาฝากจาก Workshop รอบบ่าย ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ
ซึ่งโจทย์ท้าทายของ ‘ครูมีไฟหัวใจฮีโร่’ ในซีซันนี้ นอกจากพวกเขาจะต้องออกแบบนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ทรงพลังตามเกณฑ์ 8 ตัวชี้วัด วPA แล้ว ยังต้องถ่ายทอดต่อในฐานะ Content Creator สร้างสื่อสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มแรงบันดาลใจและเพิ่มแรงจูงใจให้แก่เพื่อนครูเปลี่ยนตัวเองให้เป็น ‘ครูแอคทีฟ’ (Active Teacher)
(แนะนำคอร์ส วPA LINK และ ‘ฐานสมรรถนะ’ LINK)
โดยเผยแพร่ไปยังสื่อต่างๆ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ผ่านกลวิธีการเล่าในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเขียน สื่อผ่านภาพกราฟิก หรือสื่อวิดีโอ ตามแต่องค์ความรู้ที่ครูมีความถนัดและเชี่ยวชาญ เพื่อส่งต่อความรู้เผื่อแผ่ไปถึงเพื่อนๆ ครูทั่วไทย ได้พัฒนาทักษะการสอนให้แอคทีฟ เสริมสมรรถนะของนักเรียนให้โดดเด่น และสร้างห้องเรียนแห่งความสุขไปด้วยกัน
ปั้น 7 ทักษะครีเอเตอร์สร้างเสน่ห์เล่าสนุก
1. ทักษะการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Skill) โดยทีม Starfish Labz นำกระบวนการ STEAM Design Process จากนวัตกรรม Makerspace ฉบับโรงเรียนบ้านปลาดาว ที่คิดค้นโดย ดร.แพร ‘นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร’ ทั้ง 5 ขั้นตอนมาใช้ตั้งหลักคิด ดังต่อไปนี้
1.1 ตั้งคำถาม (Ask) เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสงสัย ทำให้เด็กๆ สนใจอยากหาคำตอบ อาจพูดชวนให้เขาสังเกตปฏิกิริยาและพฤติกรรม วัดและนับจำนวน หรือตั้งคำถามเชิงเปรียบเทียบ แล้วเขาจะคิดหาหนทางแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
1.2 จินตนาการ (Imagine) ระดมสมองหาไอเดียที่จะช่วยแก้โจทย์ปัญหาหรือตามความต้องการของตนเองหรือผู้อื่น
1.3 วางแผน (Plan) วาดแผนผัง ออกแบบการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และจดรายการที่จะต้องตระเตรียมอุปกรณ์ รวมถึงวัสดุจำเป็นต้องใช้ประกอบการสร้างสรรค์ หรือหากว่าไม่มีสิ่งนั้นจะใช้อะไรทดแทน
1.4 สร้างสรรค์ (Create) ลงมือทำตามแผนตามที่ตั้งใจไว้ จำลองต้นแบบออกมาตามแนวทางที่คิดไว้ แล้วทดสอบการใช้งาน
1.5 คิดสะท้อนออกแบบใหม่ (Reflect and Redisign) ติดตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการลงมือทำ แล้วนำมาสะท้อนคิดกับตัวเองหรือเพื่อนๆ ร่วมทีม เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขผลงานต่อ แม้จะยังทำไม่สำเร็จตามที่ตั้งใจก็ไม่เป็นไร แต่ให้เรียนรู้จากข้อผิดพลาด
นับเป็นกระบวนการทดลองค้นหาความชอบความหลงใหลของครูครีเอเตอร์เอง ไปจนถึงเจาะหาความสนใจของนักเรียน ซึ่งคุณครูท่านไหนสนใจ สามารถศึกษาหลักการนี้เพิ่มเติมได้ที่นี่
(แนะนำคอร์ส Makerspace LINK)
2. ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking Skill) มีความสามารถในการคิดค้น ดัดแปลง ปรับแต่ง และผสมผสานแนวคิด และวัตถุสิ่งของจนกลายเป็นสิ่งใหม่
(แนะนำคอร์ส ‘Creative Thinking Classroom Design’ LINK และไฟล์ความรู้จาก ก.พ. LINK)
3. ทักษะการเล่าเรื่อง (Storytelling Skill) รู้วิธีการเล่าเรื่องที่ดึงดูดความสนใจ และสร้างความประทับใจให้เกิดแก่ผู้คนได้
(แนะนำวิดีโอ ‘เล่าเรื่องด้วยศิลปะการเล่าเรื่อง’ LINK)
4. ทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) ปรับปรุงวิธีพูดและบุคลิกการพูดให้เสียงดังกังวาน ออกเสียงอักขระชัดเจน
(แนะนำคอร์ส ‘สื่อสารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ’ LINK)
5. ทักษะการบริหารจัดการ (Management Skill) การวางแผนการทำงาน ร่างสตอรี่บอร์ดร้อยเรื่องราว ควบคุมงบประมาณที่ใช้ และระยะเวลาในการทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด
6. ทักษะการประสานงาน (Collaboration Skill) การทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะงานคอนเทนต์ชิ้นหนึ่งๆ อาจจะต้องอาศัยหลายศาสตร์ความรู้ อุปกรณ์จริง ผสมผสานกับเครื่องมือดิจิทัล เพื่อผลิตสื่อให้เหมาะสมกับแต่ละช่องทางเผยแพร่ ซึ่งลำพังเราเองอาจไม่สามารถทำทุกเรื่องได้ดีด้วยตัวคนเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และผลสำเร็จของงานนั่นเอง
(แนะนำคอร์ส ‘การทำงานแบบทีม’ LINK)
7. ทักษะการคิดเจาะใจคน (Insightful Thinking Skill) หมั่นอัปเดตความรู้ใหม่ๆ และความรู้รอบตัวที่กำลังเป็นกระแสสังคม เพื่อจับความสนใจของผู้ติดตามของเรา เช่น หากเราทำสื่อเพื่อสอนเด็กนักเรียน ก็จะต้องเจาะลึกถึงความสนใจของเด็กๆ ในแต่ละช่วงวัย ว่าพวกเขากำลังพูดคุย กำลังให้ความสนใจในเรื่องไหน เพื่อเราจะสอดแทรกความรู้แบบ Soft Power ทีละน้อย หามุมนำเสนอที่จะทำให้เขาเปิดใจรับฟัง อยากเรียนกับเรา หรือกล้าสอบถามความรู้จากเรา
โซเชียลไหน รูปแบบใด ที่ใช่เรา?
คุณครูจะต้องลองประเมินตนเองว่ามีความถนัดเล่าเรื่องออกมารูปแบบไหน และเหมาะจะเผยแพร่ในแพลตฟอร์มโซเชียลใด
- ตัวอย่างการทำคอนเทนต์ประเภทการเขียน (Text Based)
(แนะนำบทความ ‘เทคนิคการเขียนบทความ’ LINK และ ‘สะท้อนความคิดด้วยการสร้างสเก็ตซ์โน๊ต’ LINK)
- ตัวอย่างการทำคอนเทนต์ประเภทรูปภาพ (Image Based)
(แนะนำวิดีโอ ‘เสกงานกราฟฟิกแบบมืออาชีพด้วย Canva’ LINK, ‘วาดภาพแบบดิจิทัลผ่านการทำศิลปะ Doodle’ LINK และสร้างภาพถ่ายให้เป็นเรื่อง LINK)
- ตัวอย่างการทำคอนเทนต์ประเภทเสียงและวิดีโอ (Video Based)
(แนะนำวิดีโอ ‘เล่าเรื่องด้วยเสียง’ LINK และการสร้าง Podcast LINK)
ลิขสิทธิ์!? เสียง ภาพ ฟอนต์ อ่านเงื่อนไขใต้คำว่า ‘ฟรี’ ให้ดีๆ
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
ความคุ้มครองผลงานสร้างสรรค์ครอบคลุมไปถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ การแสดง และความวิริยะอุตสาหะ ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง
ลิขสิทธิ์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง ได้แก่
1.) งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ บทความ บทกลอน โปรแกรมคอมพิวเตอร์
2.) นาฏกรรม เช่น ท่าเต้นท่ารำ ที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว
3.) ศิลปกรรม เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย
4.) ดนตรีกรรม เช่น ทำนองเพลง หรือเนื้อร้องและทำนองเพลง
5.) โสตทัศน์วัสดุ เช่น วีซีดีคาราโอเกะ
6.) ภาพยนตร์
7.) สิ่งบันทึกเสียง เช่น ซีดีเพลง
8.) งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น รายการโทรทัศน์
9.) งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะ เช่น การเพ้นท์ศิลปะบนร่างกาย
และใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 23 ส.ค. 65 เป็นต้นไป ปรับปรุงข้อกฎหมายให้เท่าทันการค้ายุคดิจิทัล และยกระดับการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์บนสื่อออนไลน์ ตลอดจนสนับสนุนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล และขยายอายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์งานภาพถ่ายไปตลอดชีวิตของผู้สร้างสรรค์ โดยคุ้มครองต่อเนื่องไปอีก 50 ปี หลังจากผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต เพื่อรักษาผลประโยชน์ของทายาทศิลปิน สอดคล้องกับหลักสากลในภาคีความตกลงสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WCT)
เราจึงจำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของผลงาน หรือจ่ายเงินซื้อลิขสิทธิ์เสียก่อน รวมไปถึงตรวจสอบลิขสิทธิ์ฟรีว่ามีเงื่อนไขการใช้งานไฟล์ดิจิทัลภาพถ่าย กราฟิก วิดีโอ เสียงและฟอนต์อย่างไร
และกำชับว่าควรใส่แหล่งอ้างอิงอย่างถูกต้องตามประสงค์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ครบถ้วนหากเราละเมิดหรือทำผิดไปจากข้อกำหนด อาจจะส่งผลให้ถูกดำเนินคดี ฟ้องร้องเรียกค่าลิขสิทธิ์ในอนาคตได้ แต่โดยส่วนมากนั้นการนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน ไฟล์นำเสนอ และรายงานของนักเรียนในโรงเรียนนั้นมักจะได้รับการยกเว้นค่าลิขสิทธิ์ หากไม่ได้นำไปเผยแพร่เพื่อหารายได้
แหล่งอ้างอิงที่น่าศึกษาเพิ่มเติม:
เอกสารเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP)
- พระราชบัญญัติ (ฉบับปรับปรุงล่าสุด) https://www.ipthailand.go.th/images/3534/2565/Copyright/ACT_CR65.pdf
- เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ https://www.ipthailand.go.th/images/2562/Suppress/lesson2.pdf
- ใครบ้าง? คือเจ้าของลิขสิทธิ์ https://www.ipthailand.go.th/images/3534/Copyright/1_Copyright_Owner.pdf
- ผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่? https://www.ipthailand.go.th/images/3534/Copyright/2_Author.pdf
- สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง? https://www.ipthailand.go.th/images/3534/Copyright/3_Rights_Entitled.pdf
- คู่มือการใช้ลิขสิทธิ์ดนตรีเบื้องต้น https://www.ipthailand.go.th/images/3534/2565/Copyright/Music-Copyright-101-Mobile-Version.pdf
- ตัวอย่างการต่อยอดงานวรรณกรรม https://www.ipthailand.go.th/images/3534/Copyright/4_Example_Lit.pdf
บทความใกล้เคียง
ฮาวทูสอน จำลองสถานการณ์ สร้างกระบวนการคิด ที่ซับซ้อนให้แก่นักเรียน
กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 1 การเก็บหลักฐานและจัดการข้อมูล (ครูวิชาการ)
เพราะ วPA ไม่ใช่ตัวร้าย ถ้าครูทำแบบเข้าใจ
Related Courses
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สอนวิทยาศาสตร์ อย่างไรให้ทรงพลังตามเกณฑ์ วPA
คุณครูไม่ต้องกังวลใจไป เมื่อมีการประกาศเกณฑ์ในการประเมินวิทยฐานะใหม่ (วPA) มาเตรียมตัวให้พร้อมกับการประเมินวิทยฐานะ ...
ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว
เรียนรู้ไอเดียการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย ฉบับโรงเรียนบ้านปลาดาว ทำความเข้าใจลักษณะห้ ...