นวัตกรรม : โรงเรียนบ้านบางปิ้ง และโรงเรียนบ้านปลาดาว
นวัตกรรมโรงเรียน โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564
การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการลดความถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Loss)
โรงเรียนบ้านบางปิ้ง
Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ และได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป เป็นความรู้ที่ได้เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว เกิดการเรียนรู้จากการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า ซึ่งโรงเรียนบ้านบางปิ้งได้เห็นความสำคัญของรูปแบบการสอนแบบ Active Learning แต่ประสบปัญหาก่อนเข้าร่วมโครงการพัฒนานวัตกรรม เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความล้มเหลวในการจัดการเรียนรู้ คือ
- ผู้เรียน เข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
- ครู ใช้สื่อและเทคโนโลยีไม่เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน
- สภาพแวดล้อม สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า
โรงเรียนบ้านบางปิ้งจึงได้จัดทำนวัตกรรม GD – TEST for 5G Model โดยมีชื่อหน่วยการเรียนรู้ คือ My Family และชื่อเรื่อง คือ Family members โดยมี รายละเอียดเกี่ยวกับนวัตกรรม คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning คือ จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน มีการจัดกิจกรรมที่สะท้อนความต้องการในการพัฒนาผู้เรียน และเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน เช่น การสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม ของเพื่อนในชั้นเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ นั่นคือ จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน ให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย ที่สำคัญครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดของผู้เรียน
จากการดำเนินการใช้นวัตกรรมดังกล่าว ส่งผลลัพธ์จากการใช้นวัตกรรม ดังนี้
- นักเรียนออกเสียงคำศัพท์เกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัว และบอกความหมายของคำศัพท์ได้
- นักเรียนพูด และเขียนเพื่อขอ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกในครอบครัวได้
- ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy)
โรงเรียนบ้านปลาดาว
กระบวนการ STEAM Design Process คือ การตั้งคำถาม จินตนาการ วางแผนการทำงาน ลงมือปฏิบัติ และการสะท้อนคิด ที่เสริมสร้างให้เด็กมีทักษะสำคัญ เช่น ทักษะการคิด ทักษะการลงมือปฏิบัติ รู้จักมองสิ่งรอบตัวมาประยุกต์ใช้ ตลอดจนเกิดการต่อยอดจากการสร้างสรรค์ผลงานได้ ผู้เรียนสามารถมีพื้นที่ในการสร้างสรรค์จินตนาการได้ทุกที่ โดยคุณครูร่วมมือกับผู้ปกครองเป็นผู้กระตุ้นการคิด และลงมือทำร่วมกันจนเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ส่งผลให้เกิดเป็นทักษะติดตัว และยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งในสถานการณ์ Covid-19 ทุกโรงเรียนมีปัญหาการจัดการเรียนการสอน และโรงเรียนบ้านปลาดาวก็มี ปัญหาก่อนเข้าร่วมโครงการพัฒนานวัตกรรม นั่นคือ
- ผู้เรียน สถานการณ์ Covid-19 ทำให้ไม่สามารถมาเรียน On-Site ได้
- ครู มีภาระงานอื่นนอกจากการสอน
- สภาพแวดล้อม สถานการณ์Covid-19
โรงเรียนจึงได้ดำเนินการจัดทำนวัตกรรม Learning Box (กล่องการเรียนรู้) โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับนวัตกรรม ในหน่วยการเรียนรู้ “เรขาคณิตและการวัด”
โดยมีวิธีการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
- นักเรียนร่วมกันตอบคำถามกระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับจุด เส้นตรง ส่วนของเส้นตรง ระนาบ รังสี (Ask)
- นักเรียนจินตนาการถึงรูปร่าง รูปทรงของรูปเรขาคณิตต่างๆ (Imagine)
- นักเรียนวางแผนประดิษฐ์ลวดลายโดยใช้รูปเรขาคณิต (Plan)
- นักเรียนลงมือทำชิ้นงานตามที่วางแผนไว้ (Create)
- นักเรียนและครูร่วมกันสะท้อนผลจากชิ้นงาน (Reflect)
หลังจากโรงเรียนได้ใช้นวัตกรรม Learning Box (กล่องการเรียนรู้) ได้ผลลัพธ์จากการใช้นวัตกรรมเป็นที่น่าพอใจ สรุปได้ดังนี้
- นักเรียนได้ทบทวนความรู้เรื่องเดิม หรือประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเรื่องเรขาคณิต และมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น
- ได้ใช้ทักษะด้านเรขาคณิตในการสร้างสรรค์ผลงานผ่านกระบวนการ STEAM Design Process เป็นต้น
Related Courses
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...
3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน
เรียนรู้ 3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ที่นำไปใช้ได้จริงสำหรับการสร้างสื่อการสอน สะดวกต่อการใช้งาน มีประโยชน์สำหรับห้องเรียน ช่วยให้นัก ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...