เรียนรู้สู่การเป็น ครูกระบวนกร
กระบวนกร หมายถึง ผู้อำนวยความสะดวก สนับสนุน สร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ซึ่งคำว่าสิ่งแวดล้อมประกอบไปด้วยตัวกระบวนกร ตัวผู้เรียน และกิจกรรมที่ดำเนินไปโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และกระบวนกร เป็นผู้สร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ จะเน้นลงไปที่ตัวผู้เรียนที่ผู้เรียนจะได้รับ ไม่ใช่การรับความรู้ แต่คือการเรียนรู้ที่เกิดจากภายในของตัวเอง ดังนั้นกระบวนกรจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และสร้างความเปลี่ยนแปลงของผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเชื่อที่สำคัญคือ ผู้เรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้ และพัฒนาได้อย่างไม่มีขีดจำกัด โดยทักษะสำคัญของกระบวนกรเพื่อการเรียนรู้ จะต้องมีความเชื่อ นั่นคือความเชื่อที่จะต้องมี คือ
1. เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพ
2. เชื่อว่าสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง
โดยจะต้องมีความเชื่อที่มีพื้นฐานการเรียนรู้ร่วมกันคือ เมื่อเราแข่งขัน การแบ่งปันจะหายไป
(เพราะเราจะแบ่งปันแก่คนที่เรารักเท่านั้น) อีกทั้งเราจะบอกความจริงเฉพาะกับคนที่เราไว้ใจเท่านั้น
ความเป็นมนุษย์มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ไม่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆในชั้นเรียนได้ แต่สามารถที่จะควบคุมความคิดต่อสิ่งนั้นๆ รวมถึงพฤติกรรมการแสดงออก หรือความรู้สึกต่อสิ่งที่เห็นได้ ผู้สอนจะต้องตระหนักเสมอว่า เป้าหมายที่สำคัญของของการเรียนรู้ก็เพื่อให้ผู้เรียนเกิดปัญญา (เรียนรู้อย่างเข้าใจโดยใช้สติปัญญาของผู้เรียน) นั่นคือ
1. เกิดจากการฟัง ผู้เรียนจะเกิดปัญญาจากการฟังเพียงอย่างเดียวได้ แต่อาจจะใช้เวลานาน
2. เกิดจากการคิด ไตร่ตรองอย่างมีเหตุและผล แต่ครูต้องรู้ว่าธรรมชาติของเด็กจะไม่ค่อยชอบใช้ความคิดนานๆ ชอบมีอะไรที่ท้าทายมากกว่าให้คิดหรือให้จำโดยที่เขาไม่เข้าใจในสิ่งที่ได้เรียน
3. จากการลงมือปฏิบติ การเรียนรู้เป็นแนวคิดหรือความเชื่อที่สนับสนุนให้คนเราปฏิบัติสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพ ด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง นั่นคือ ผู้เรียนได้กระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ผ่านการปฏิบัติการจริงคือ ผู้เรียนได้ฝึกในสภาพสิ่งแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิดและลงมือทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
กระบวนกรเพื่อการเรียนรู้ คือการสร้างพื้นที่ให้ผู้เรียนทุกคนถามได้ ช่วยกันถาม ช่วยกันจับประเด็น สืบค้นสาเหตุของปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน ภายใต้บรรยากาศการทำงานและการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เกิดผลลัพธ์เป็นวิธีจัดการปัญหาที่มีประสิทธิภาพ และคลี่คลายปัญหาที่เรียนรู้ร่วมกัน ดังนั้นครูผู้สอนจะต้องออกแบบกระบวนการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ นั่นคือการออกแบบการเรียนรู้ในการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ โดยมีการวิเคราะห์องค์ประกอบการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน สื่อกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมถึงการประเมินผล เพื่อให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียน และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
ครูจะต้องมีหลักการคือการปรับฐานใจ ใช้ฐานกาย ขยายฐานการคิด โดยใช้ทักษะการฟัง การสะท้อนกลับ การถาม การถอดความรู้และการฝึกฝน เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมโดยการสื่อสาร คิดหาเหตุ และผลที่สร้างสรรค์จนสามารถลงมือปฏิบัติถึงขั้นทำได้นั้น เพราะครูคือ นักออกแบบการเรียนรู้นั่นเอง
การออกแบบการเรียนรู้ ครูต้องออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องตามลำดับขั้นตอนต่างๆในขณะที่ให้ความรู้ โดยเปลี่ยนบทบาทจากที่เคยบอกความรู้โดยตรง ให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำเพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยครูเตรียมสื่อการสอนที่เป็นตัวอย่างเครื่องมือหรือการปฏิบัติงานในลักษณะต่างๆ เป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เข้าใจ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออก ได้เรียนรู้ และได้ลงมือปฏิบัติจริงตามความถนัดและศักยภาพ ด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเชื่อว่าหากคนเราได้กระทำจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ผู้เรียนจะสนุกสนานที่จะสืบค้นหาความรู้ต่อไป และมีความสุขที่จะเรียน
ดังนั้น สิ่งสำคัญของครูผู้สอนที่จะเป็นนักออกแบบการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ คุณครูจะต้อง เริ่มให้ถูกหลัก จะต้องฝึกให้มากพอ และจะต้องทำให้ต่อเนื่อง เพราะนอกเหนือจากงานสอนแล้วควรจะทำการฝึกฝนการออกแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ เพื่อผลผลิตคือตัวผู้เรียนในการบรรลุเป้าหมายของความสำเร็จนั่นเอง
เห็นได้ว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้การเรียนรู้สู่การเป็นครูกระบวนกรประสบความสำเร็จ ครูต้องรู้จักผู้เรียนครอบคลุมอย่างรอบด้าน และสามารถวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปเป็นพื้นฐานการออกแบบหรือวางแผนการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับผู้เรียน เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสทธิภาพตามศักยภาพของตัวผู้เรียนเอง ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
อาจารย์คงวุฒิ นิรันตสุข
กระบวนการเรียนรู้ มูลนิธิปัญญาวุฑฒิ
(ศูนย์พี่เลี้ยงพันธ์ปัญญา)
บทความใกล้เคียง
Related Courses
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...
สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร
Self-Esteem หรือ การเคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิต เพื่อให้สามารถรับมือกับอารมณ์และสถานการ ...
Micro Learning หลักการเขียนภาษาไทย ม. 1-3
หลักการเขียนภาษาไทย ม.1-3 เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบของ Micro Learning เรื่อง เขียนอย่างไรให้สื่อความง่ายและตรงประ ...
การประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง
การประเมินตามสภาพจริงเป็นการประเมินการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเน้นประเมินทักษะการคิด ความสามาร ...