7 ประเภทของคำถาม ช่วยนักเรียนสะท้อนคิด

Starfish Academy
Starfish Academy 25576 views • 2 ปีที่แล้ว
7 ประเภทของคำถาม ช่วยนักเรียนสะท้อนคิด

ประเภทที่ 1: สะท้อนคิดเพื่อสร้างความร่วมมือ (Reflection & Collaboration) 

ตัวอย่างคำถาม

  1. นักเรียนคิดยังไงกับสิ่งที่เพื่อนพูด / สิ่งที่ได้ยิน
  2. เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วยกับสิ่งนี้อย่างไร  
  3. มีคำตอบอื่น ๆ ที่เหมือนกับสิ่งที่นักเรียนคิด แต่มาจากวิธีการอื่น ๆ 
  4. มีใครคิดวิธีการแก้ปัญหาอื่น ๆ ได้อีกบ้าง
  5. จะโน้มน้าวใจครูและเพื่อนๆ ยังไงว่าวิธีการที่นักเรียนเสนอนั้นดีที่สุด 

ประเภทที่ 2: สะท้อนคิดเพื่อทบทวนความคิดตนเอง (Self-Reflection) 

ตัวอย่างคำถาม 

  1. พิสูจน์ได้อย่างไร ว่าสิ่งนี้คือเรื่องจริง
  2. ลองคิดถึงวิธีการอื่น ๆ ที่แตกต่างดูไหม ? 
  3. ทำไมถึงคิดว่าคำตอบนั้นถึงได้สมเหตุสมผล​ ? 
  4. มีวิธีการอื่น ๆ ไหมที่แสดงหรือสามารถพิสูจน์สิ่งที่นักเรียนพูดได้ 

ประเภทที่ 3: สะท้อนคิดเพื่อให้เหตุผล (Reasoning) 

ตัวอย่างคำถาม

  1. ทำไมถึงคิดว่าสิ่งนี้ได้ผล ? แล้วมันจะได้ผลเสมอไปหรือเปล่า เพราะอะไร ?
  2. คิดว่าเรื่องนี้จริงอย่างไร ? 
  3. หาวิธีการพิสูจน์คำตอบให้ครูดูหน่อย ?
  4. เพราะอะไรต้องใช้สมมติฐานนี้ ?
  5. มีอะไรที่อยากโต้แย้งกับประเด็นนี้ไหม อย่างไร? 

ประเภทที่ 4: สะท้อนคิดเพื่อวิเคราะห์ (Analysis) 

ตัวอย่างคำถาม

  1. ช่วยแสดงความเหมือน และความต่างของสิ่งนี้ให้ดูหน่อย ? 
  2. มีรูปแบบไหน / วิธีการไหน ที่จะทำให้เราได้คำตอบอื่นๆ ด้วยไหม ?
  3. มีความเป็นไปได้อื่นๆ อะไรอีกบ้าง และเพราะอะไรถึงต้องเป็นแบบนั้น ?
  4. ลองเดาคำตอบหน่อยว่า พอจะมีกี่คำตอบ ? 

ประเภทที่ 5: สะท้อนคิดเพื่อเชื่อมโยง (Connection) 

ตัวอย่างคำถาม 

  1. สิ่งนี้เชื่อมโยงกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเราอย่างไรบ้าง ?
  2. ไอเดีย/ความคิดไหนที่ดูสมเหตุสมผลที่สุดสำหรับเรา และเพราะอะไร ?
  3. มีปัญหาอะไรบ้างที่รู้สึกคุ้นเคย หรือเคยเจอมาก่อน และเพราะอะไรถึงรู้สึกคุ้นเคย ?
  4. สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างไร ?
  5. ลองบอกตัวอย่างที่ทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้นหน่อย ?
  6. มีตัวอย่างอื่น ๆ อีกไหม ที่เหมาะกับการแก้ปัญหาแบบนี้ ? 

ประเภทที่ 6: สะท้อนคิดแบบวรรณกรรม (Literary Questions) 

ตัวอย่างคำถาม 

  1. ตัวละคร หรือเหตุการณ์ไหนที่ทำให้เรานึกถึงตัวเอง เพราะอะไร ?
  2. คิดว่าการกระทำของตัวละคร ส่งผลกระทบถึงเราอย่างไร ลองอธิบาย ? 
  3. ถ้านักเรียนเป็นตัวละครตัวนี้ เรื่องราวมันจะเปลี่ยนแปลงไปไหม อย่างไร ?
  4. ตัวละคร หรือเหตุการณ์ไหน ที่ทำให้นักเรียนรู้สึกประหลาดใจ หรือสับสน ช่วยอธิบายหน่อย ?
  5. คิดว่าเพราะอะไรผู้เขียนถึงเขียนจากมุมมองของตัวละครนี้ ? 
  6. นักเรียนคิดว่าผู้เขียนพยายามจะบอกอะไร / จะพยายามทำอะไรให้สำเร็จ ?
  7. นักเรียนคิดว่าผู้เขียนมีมุมมองอย่างไรต่อโลก ?
  8. นักเรียนคิดว่าเรื่องเล่านี้ บอกหรือสอนอะไรกับชีวิตเราได้บ้าง ? 
  9. นักเรียนคิดว่าตัวละคร สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเรื่องราวนี้ได้อย่างไร ? 
  10. นักเรียนถึงคิดว่าเรื่องราวแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้จริง หรือไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไร ?

ประเภทที่ 7: สะท้อนคิดแบบวิทยาศาสตร์และสังคม (Science & Social Question) 

ตัวอย่างคำถาม

  1. จุดประสงค์ของการทดลอง หรือข้อโต้แย้งนี้คืออะไร ? 
  2. ช่วยอธิบายเพิ่มเติม หรือให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดประสงค์นี้หน่อย ?
  3. นักเรียนเห็นประเด็นและปัญหาอะไร ?
  4. อะไรคือหลักฐาน ที่ช่วยทำให้สิ่งนี้มีคุณค่ามากขึ้น ? 
  5. อะไรคือความซับซ้อนที่ต้องพิจารณา ? 
  6. หลักคิด หรือแนวคิดอะไร ที่ช่วยให้จัดระบบข้อมูลเหล่านี้ ?
  7. ให้เหตุผลกับข้อมูลนี้อย่างไรบ้าง ?
  8. จะตรวจสอบข้อมูลนี้อย่างไร ?
  9. เพื่อให้ข้อมูลนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เราควรเพิ่มเติมอะไรบ้าง ?
  10. ชุดข้อมูลแบบไหนที่สำคัญมากที่สุด ?
  11. ข้อมูลทั้งหมดนี้สอดคล้อง หรือไม่สอดคล้องกันอย่างไร ?
  12. นักเรียนมีมุมมองต่อข้อมูลนี้อย่างไร แบบผู้กระทำ หรือผู้ถูกกระทำ แล้วควรเปลี่ยนมุมมองหรือไม่ ? 

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

การทดสอบเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ ว่าเรามีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากน้อยแค่ไหน และการสอบนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม
Starfish Academy

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

ครูสอน KIDS (คิด)

ครูสอน KIDS (คิด) ชวนคุณครูมาร่วมสร้าง Mindset ใหม่ๆ พร้อมหาไอเดียการตั้งคำถาม เพื่อสอนเด็กให้มีวิธีคิดและทำอย่างไรให้เ ...

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
ครูสอน KIDS (คิด)
ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง

ครูสอน KIDS (คิด)

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
Technology Skills
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร

Self-Esteem หรือ การเคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิต เพื่อให้สามารถรับมือกับอารมณ์และสถานการ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร
Starfish Academy

สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร

Starfish Academy
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7049 ผู้เรียน

Related Videos

Makerspace Day #1
07:41
Starfish Academy

Makerspace Day #1

Starfish Academy
569 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #1
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
84 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
428 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
7686 views • 1 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”