How to feedback? สะท้อนผลยังไง พัฒนานักเรียนอย่างแท้จริง

How to feedback? สะท้อนผลยังไง พัฒนานักเรียนอย่างแท้จริง

“Feedback” หรือการสะท้อนกลับ ถือได้ว่าเป็น 1 ใน 8 หลักของการสอนที่ทรงพลัง ในการกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกฝนและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสู่เป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ อีกทั้งยังสร้างความรู้สึกเชื่อมต่อระหว่างครูผู้สอนและผู้เรียนได้เป็นอย่างดี และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการ Feedback นักเรียนอย่างไรให้เกิดการพัฒนาหรือเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง

ในเรื่องของกระบวนการเรียนการสอน ได้มีกลวิธีในการจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยให้เด็กมีกระบวนการเรียนรู้ที่มีความหมาย และการสะท้อนผลในสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนแสดงออก โดยครูจะต้องมีเป้าหมายที่ต้องการสะท้อนกลับไปยังผู้เรียนอย่างชัดเจน เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการช่วยเหลือหรือหาวิธีการในการพัฒนาผู้เรียนเพิ่มเติมอย่างไร ทั้งนี้ ในการจัดการเรียนการสอนและการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียน ครูจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ 8 วิธีการสอนที่ทรงพลังที่มักแฝงสิ่งต่างๆ อยู่ในแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหลักในการตรวจสอบ (Recheck) การจัดการเรียนรู้ของครูว่านักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายหรือไม่ สามารถส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียนและส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูหรือไม่ อย่างไร ซึ่งสังเกตจากพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน โดยการพิจารณาจากผลงาน (Product) หรือผลการปฏิบัติ (Performance) ได้

สำหรับการให้ข้อมูลสะท้อนกลับ (Feedback) อย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงทางความคิดของเด็ก โดยการใช้สถานการณ์และคาดหวังให้เด็กเติมประสบการณ์ใหม่ และถ้าโมเดลความคิดเดิมมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน การได้รับประสบการณ์ใหม่ที่จัดเตรียมไว้อย่างเป็นระบบจะช่วยให้นักเรียนมีมโนทัศน์ที่ถูกต้องมากขึ้น ซึ่งมาจาก 8 วิธีการสอนที่ทรงพลัง ในการสร้างการเรียนรู้ที่มีความหมาย การใช้กิจกรรมสร้างการเรียนรู้ โดยใช้การตั้งคำถามในขณะทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิด ถ้าครูผู้สอนมีเป้าหมาย เข้าใจกระบวนการคิดของผู้เรียน จะช่วยให้รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนมาจากการออกแบบการเรียนการสอน และการประเมิน (Assessment) ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้ที่มี หรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียน แต่เป็นผลการปฏิบัติ (Performance) ของเด็ก ซึ่งเป็นชิ้นงานที่ครูสามารถใช้เกณฑ์ในการให้คะแนนเด็กได้ แต่สิ่งที่สนใจในครั้งนี้ คือ กระบวนการคิด (โครงสร้างทางความคิด) ของเด็กในระหว่างที่เด็กเรียนรู้ ซึ่งการประเมินแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

1) การประเมินผลการเรียนรู้ (AoL) ครูใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในการประเมินตัดสินผลการเรียนตามเป้าหมายและมาตรฐาน 

2) การพัฒนาการประเมินเพื่อการเรียนรู้ (AfL) ครูใช้ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ ทักษะของนักเรียนเพื่อสะท้อนการสอนของตนเอง ครูให้ข้อมูลผู้เรียนและชี้แนวทางการปรับปรุงพัฒนา และ

3) การประเมินเป็นการเรียนรู้ (AaL) ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักประเมินการเรียนรู้ของตนเองและมองเห็นแนวทางการปรับปรุงพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง 

ทั้งนี้ ครูจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กคิดอะไร จะต้องใช้คำถามอย่างไร และพอเด็กตอบกลับมาครูจะช้อนคำตอบของเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการคิดต่ออย่างไร ซึ่งการประเมินแบบ AaL และ AfL เป็นตัวที่ช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการในระหว่างการเรียนรู้ ที่สำคัญคือ ช่วยเรื่องของการเรียนรู้ของตัวเด็กเอง (Personalize) อีกด้วย

สำหรับการนำความรู้ไปใช้ ในการจัดการเรียนการสอนระดับของการใช้ความรู้ มักจะคุ้นเคยกับทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมทที่นำไปใช้ในการช้อนคำถามนักเรียนอย่างแพร่หลาย แต่ยังมีอีกหลายวิธีที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการของ DOK หรือ SOLO ซึ่งแนวทางในครั้งนี้ได้เลือกใช้ลักษณะของ SOLO Taxonomy เป็นการอธิบายโครงสร้างความคิดของผู้เรียน เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้ในระดับต่อไป ทั้งนี้ SOLO แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้ 

1) ระดับโครงสร้างพื้นฐาน (Pre-Structural) ไม่มีความรู้เดิมหรือมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน 

2) ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni- Structural) ระบุ บอกชื่อ ทำตามกระบวนการอย่างง่าย 

3) ระดับโครงสร้างหลาย (Multi- Structural) หลอมรวม (Combine) บรรยาย แจกแจง ปฏิบัติทักษะที่ต่อเนื่องกัน (คิดได้หลากหลาย) 

4) ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational) วิเคราะห์ ประยุกต์ใช้ โต้แย้ง เปรียบเทียบความแตกต่าง วิพากษ์ อธิบายสาเหตุเชื่อมโยงกับการตัดสินใจ (คิดด้วยเหตุด้วยผล) 

5) ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level) สร้างสรรค์ สูตร ขยายความ สมมติฐาน สะท้อนคิด ทฤษฎี ทั้งนี้ โซโลทำให้การเรียนการสอนชัดเจนเพราะรูปแบบการประเมินค่าและประเมินผลสอดคล้องกับโครงสร้างของพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน 

สำหรับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ได้ดำเนินการใช้แนวทางของ SOLO ใน 4 ระดับ 

(งอแงไม่ยอมคิด ขอคิดนิดหนึ่ง คิดได้หลากหลาย คิดด้วยเหตุผล) ยกตัวอย่างเช่น วิชาวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมเรื่องสารสี ครูมีเป้าหมายผลงาน คือแผนภาพอธิบายความคิด นักเรียนสามารถแปลความหมายของข้อมูลได้หรือไม่ และผลการปฏิบัติ เป็นการสร้างคำอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยมีสถานการณ์ (ทำไมใบไม้จึงเปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วง) ให้เด็กได้ลองสร้างคำอธิบาย จากการดูรูปภาพ คลิปวิดีโอ บรรยายจากการสำรวจและรวบรวมข้อมูล โดยใช้ 4W (Who Where When Which) และอธิบายจากการใช้คำถาม “ทำไม” ถึงสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งในการวางแผนการสอน ครูจะทำการเชื่อมโยงการเรียนรู้ต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การทบทวนการมองเห็น การใช้ชุดข้อมูลหลักฐานจากห้องทดลองบนมือถือ การทบทวนคำศัพท์ผ่านแอปพลิเคชั่น Quizlet และการสรุปผล ซึ่งจากการวิเคราะห์ทั้ง 4 ระดับ สามารถทำให้เด็กเกิดการเชื่อมโยงการเรียนรู้ได้ ทำให้เด็กรู้ว่าระดับการคิดในแต่ละขั้นเป็นอย่างไร และทำให้ครูทราบว่ากระบวนการคิดของเด็กในแต่ละขั้นมีลักษณะแบบไหน เพื่อให้เด็กสามารถสะท้อนกลับจากโครงสร้างทางความคิดของตัวเองได้ด้วย 

เห็นได้ว่า จากการสะท้อนกลับของเด็ก อาจทำให้ครูต้องสะท้อนในการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มสาระวิชา ซึ่งเป็นการสะท้อนกลับมายังครูว่าการที่เด็กไม่รู้ ทำให้ครูได้เห็นมุมมองที่เพิ่มมากขึ้น แต่ในเมื่อมีโครงสร้างที่ได้วางแผนไว้ สิ่งนี้จะช่วยให้ครูสามารถช่วยเหลือให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในระหว่างที่ทำกิจกรรมได้ทันที ตลอดจนเป็นการสร้างกลยุทธ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ให้นักเรียน ดังนั้น ในการที่จะได้รับการ Feedback ที่ดี ครูจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการจัดการเรียนการสอนและครูจะต้องมีการเรียนรู้โครงสร้างทางความคิดของเด็ก เพื่อที่จะให้เด็กนั้นได้เชื่อมโยงการเรียนรู้อย่างเป็นระบบเช่นเดียวกับการพัฒนากระบวนการคิดได้ ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ 

www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=7434081449965185

ครูกมลรัตน์ ฉิมพาลี โรงเรียนถนนหักพิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

การทดสอบเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ ว่าเรามีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากน้อยแค่ไหน และการสอบนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม
Starfish Academy

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
10688 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7078 ผู้เรียน
Technology Skills
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร

Self-Esteem หรือ การเคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิต เพื่อให้สามารถรับมือกับอารมณ์และสถานการ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร
Starfish Academy

สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร

Starfish Academy

Related Videos

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
797 views • 3 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
Makerspace Day #1
07:41
Starfish Academy

Makerspace Day #1

Starfish Academy
579 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #1
การเขียน วPA
05:24
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การเขียน วPA

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1274 views • 3 ปีที่แล้ว
การเขียน วPA
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
05:56
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1583 views • 3 ปีที่แล้ว
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง