กิจกรรม TSQP Kick Off และ Leader Workshop
“สพฐ.วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ”
มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ถือได้ว่าเป็นอีกหน่วยหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในฐานะพี่เลี้ยง เป็นผู้ทำงานร่วมกับโรงเรียนในสังกัดโดยเฉพาะสังกัด สพฐ. และจากการที่ได้รับมอบหมายจากท่านศึกษาธิการให้ดำเนินการโครงการในการเป็นผู้แทนในองค์คณะ ทั้งกรรมการ อนุกรรมการ จึงได้มีโอกาสในการเรียนรู้จากทั้ง 11 องค์กร
โดยเฉพาะมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชฯ ทำให้ได้รับรู้ข้อมูล ข่าวสาร สภาพต่างๆ จากการประชุมร่วมกับคณะทำงาน สำหรับทิศทาง กรอบแนวคิดของ สพฐ. นั้น มีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะทำให้โรงเรียนในโครงการสามารถทำกิจกรรมร่วมกับโค้ช หรือพี่เลี้ยงได้อย่างเต็มที่ โดยสกัดเอากิจกรรมอื่นๆ ที่ สพฐ.เคยมอบหมายให้โรงเรียนทำลดน้อยลงให้มากที่สุด ประการที่สอง ขอขอบคุณมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชที่ทำงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ทั้งศึกษานิเทศน์ เขตพื้นที่การศึกษาฯ ท่านรองฯส่วนงานวิชาการ และเขตพื้นที่การศึกษาฯ เพื่อที่โรงเรียนจะได้ไม่เกิดความสับสน กังวลถึงนโยบาย ทิศทาง หรือกรอบในการทำงาน และที่สำคัญไม่เป็นการสร้างภาระงานเพิ่มให้กับครู ประการที่สาม ฝากข้อคิดเห็นโดยเฉพาะทางกลุ่มพี่เลี้ยง เขตพื้นที่ โรงเรียน ผู้อำนวยการ และครูถึงสิ่งที่ทำร่วมกันไม่ใช่การเพิ่มภาระงาน แต่เป็นหน้าที่งานปกติที่ต้องทำไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ ในการ “Coach” หรือ “Coaching” เป็นการแนะนำ ช่วยเหลือ ซึ่งต่างจากการสั่งการ (Direction) การบังคับ (Command) หรือจากการบอก (Telling) ซึ่งในบางครั้งต้องทำความเข้าใจและยอมรับความจริงที่ว่า ในหลายเรื่อง สพฐ.หรือเขตพื้นที่ฯ มีความจำเป็นต้องใช้วิธีการ Command กับทางโรงเรียน เพราะเป็นข้อตามตัวบทกฎหมาย หรือเป็นข้อสั่งการของกระทรวง รัฐมนตรี เนื่องจากโรงเรียนยังเป็นองค์กรทางราชการ เพียงแต่การ Command จะเป็นการทำเฉพาะเรื่องจำเป็น นโยบายหรือข้อที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น กรณีถ้างานไม่ใช่ตัวบทกฎหมายกำหนด หรือถ้าไม่ใช่นโยบายของเจ้ากระทรวง หรือเลขาธิการจะเปลี่ยนเป็นวิธีการบอก หรือเรียกว่า การ Direction แทน แต่สำหรับการ “Coach” หรือ “Coaching” ไม่ใช่การ Command หรือ Telling แต่เกิดจากการที่ทุกคนทำงานร่วมกัน ครูเป็นตัวหลัก ส่วนครูพี่เลี้ยงเป็นผู้ให้การแนะนำ ชี้นำแนวทาง กระตุ้นความคิดของครูให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชฯ ถือได้ว่า เป็นพี่เลี้ยงหน่วยหนึ่งที่ทำงานได้เป็นอย่างดี ตรงประเด็น เป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่ใจ ทำงานร่วมกับโรงเรียน เพื่อพัฒนาเด็กให้เป็นคนที่มีความรู้อย่างรอบด้าน เป็นคนเก่ง เป็นคนดี สามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ทั้งตนเอง สังคม และประเทศชาติ ถือได้ว่า เป็นกระบวนการในการสร้างคุณภาพของเด็ก
สำหรับกระบวนการสร้างคุณภาพของเด็ก ประกอบไปด้วย 4 ส่วน ดังนี้
1) กระบวนการบริหาร ถือได้ว่าผู้อำนวยการเป็นบุคคลสำคัญ ถ้ามีกระบวนการบริหารที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมทำให้การขับเคลื่อนเป็นไปได้ยาก ดังนั้น ผู้อำนวยการจึงต้องทำงานร่วมกับหน่วยพี่เลี้ยง เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการบริหารที่ก่อให้เกิดความรู้ ความเก่ง ความดีส่งผลต่อเด็กจริงหรือไม่ พี่เลี้ยงและโค้ชจะมีหน้าที่กระตุ้น แนะนำ ปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อให้เกิดการจัดกระบวนการการบริหารใหม่
2) กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนสำหรับครู ถ้าอยากให้เด็กเรียนแบบ Active Learning ครูจะต้องเปลี่ยนมาใช้วิธีการทำงานร่วมกับเด็ก ให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ แทนการใช้วิธีการแบบ Telling หรือ Commanding กับเด็ก
3) กระบวนการวัดประเมินผล
4) กระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน กรรมการสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาฯ และพี่เลี้ยงจากมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชฯ ในการดำเนินการร่วมกัน
บทความใกล้เคียง
มัดรวมข้อมูลสำคัญ ว.PA สำหรับศึกษานิเทศก์
อัปเดตใหม่ 2564 แผนหลักสูตรฐานสมรรถนะ 6 ด้านจากศธ. ที่คุณครูต้องรู้
เพราะ วPA ไม่ใช่ตัวร้าย ถ้าครูทำแบบเข้าใจ
Related Courses
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู