ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) คือ การที่ครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา ได้มาแบ่งปันแนวคิดเพื่อพัฒนาแนวทางการสอน และสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เหมาะสม ที่จะช่วยให้นักเรียนทุกคนสามารถบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนเองได้ มาดูกันว่า “ประโยชน์ 4 ข้อของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” มีอะไรบ้าง ?
1. ช่วยให้ครูมีโอกาสปรับปรุงการเรียนการสอนได้โดยตรง : การ PLC ทำให้ครูได้มาแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติ ระดมความคิด และหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงการสอนของตนเองและขับเคลื่อนความสำเร็จของนักเรียน อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนเกี่ยวกับการปฏิบัติการสอน และผลลัพธ์ของนักเรียนอีกด้วย
2. สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างสมาชิกในทีม : การ PLC ทุกสัปดาห์จะยิ่งสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างสมาชิกในทีม และเป็นการสร้างทีมผู้นำภายในโรงเรียนอีกด้วย ซึ่งการสร้างทีมผู้นำจะแข็งแกร่งได้นั้น ต้องมีการกำหนดบทบาทและความสัมพันธ์ของสมาชิกในทีม เมื่อมีการเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกันภายในทีม สมาชิกทุกคนก็จะสามารถเป็นผู้นำภายในทีมได้
3. ช่วยให้ครูติดตามงานวิจัยและเครื่องมือเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่สำหรับห้องเรียน : PLC ภายในโรงเรียนและที่อื่น ๆ จะทำให้ครูมีโอกาสเรียนรู้จากกันและกันอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ซึ่งในการทำ PLC ระดับโลก จะช่วยให้ครูสามารถแบ่งปันและเรียนรู้จากกันและกันได้ทุกวัน ทวิตเตอร์และโซเชียลมีเดียอื่น ๆ จะช่วยให้ครูสามารถทำงานร่วมกันได้ทั่วโลก และสร้างชุมชนแห่งการปฏิบัติที่เกินขอบเขตในห้องเรียน อีกทั้งยังทำให้ครูได้เรียนรู้งานวิจัย และเครื่องมือเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่สำหรับห้องเรียน และช่วยให้ครูเห็นว่าโรงเรียนอื่น ๆ กำลังทำอะไรกันอยู่บ้าง
4. ช่วยให้ครูสะท้อนความคิด : การเรียนรู้จากคนอื่น ๆ ในวง PLC ทำให้ครูสามารถไตร่ตรองถึงการปรับวิธีการสอน และปรับวิธีการปฏิบัติของตนเอง และยิ่งในวง PLC มีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายมากเท่าไหร่ ครูก็จะยิ่งมีโอกาสที่จะเพิ่มคุณค่าในการทำงานของตัวเองมากขึ้นเท่านั้น
ดังนั้น เมื่อมีการทำ PLC ร่วมกัน ทุกคนต้องมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้และความสำเร็จของนักเรียน และความสำเร็จของนักเรียนจะต้องเป็นจุดเน้นในการทำ PLC ร่วมกัน
แปลและเรียบเรียงจาก :
Serviss. (2021). 4 Benefits of an Active Professional Learning Community.
Related Courses
เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
การสอนภาษาไทยผ่านกระบวนการ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหลากหลายรูปแ ...



เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
การจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐาน (Ariyasacca Based Learning : ABL)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐาน เน้นการเรียนรู้บนฐานชีวิตจริงที่ให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยต ...



การจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐาน (Ariyasacca Based Learning : ABL)
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.2 Active Learning
เรียนรู้การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครูในการประเมิ ...



เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.2 Active Learning
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...



เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
Related Videos


PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง


6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ

