6 คุณลักษณะของคุณครูที่ดี
คุณลักษณะของครูที่ดี สามารถประเมินได้จากความสำเร็จของนักเรียนใช่หรือไม่ ? จากการศึกษาบทความ เกี่ยวกับคุณสมบัติของครูที่ดีจากหลากหลายบทความพบว่า มี 6 คุณลักษณะหลักที่เหมือนกันในการเป็นครูที่ดีนั้น ประกอบไปด้วย ดังนี้
1. ครูที่ดีจะปลูกฝังความมั่นใจให้กับนักเรียน เมื่อนักเรียนมีความมั่นใจในตัวเองต่ำ จะกลายเป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนของครูที่ต่อเนื่องมากที่สุด (หนังสือ 50 ways to improve student behavior เขียนไว้) ดังนั้น วิธีการปลูกฝังความมั่นใจให้กับนักเรียน ประกอบด้วย การสร้างเป้าหมายการเรียนรู้ร่วมกับนักเรียน ปลูกฝังความคิดแบบเติบโต (Growth-Mindset) ผ่านการให้ฟีดแบกเชิงบวกกับนักเรียน สร้างความมั่นใจให้นักเรียนด้วยคำพูด เช่น “ครูเชื่อว่าเธอทำได้” และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการศึกษาให้เป็นประโยชน์ (Edtech) เช่น การเรียนรู้ผ่านเกม เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
2. ครูที่ดีสามารถจัดการห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการห้องเรียนเป็นการรวมกลยุทธ์ทุกอย่างที่ครูใช้ ได้แก่ การผลิตสื่อการเรียนรู้ การจัดการพื้นที่ และการใช้เวลาในห้องเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอน ซึ่งการจัดการห้องเรียนจะช่วยให้นักเรียนเพลิดเพลินกับสภาพแวดล้อมที่มีโครงสร้างและเป็นระเบียบ โดยเน้นที่บรรยากาศเชิงบวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตัวอย่างของการจัดการห้องเรียนที่ดี ได้แก่ ออกแบบกติการ่วมกันในห้องเรียน สร้างกิจวัตรประจำวัน และ จัดที่นั่งให้ยืดหยุ่นและขยับได้ เป็นต้น
3. ครูที่ดีจะเตรียมตัวก่อนที่จะสอน เป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ดีของครู ประกอบด้วย
(3.1) ครูต้องรู้ขอบเขตเนื้อหาที่จะสอน
(3.2) ครูต้องมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เช่น แนวคิด สมมติฐาน ข้ออภิปราย หรือกระบวนการในการเสาะหาความรู้
(3.3) มีความคิดต่อยอดจากเนื้อหา
(3.4) ความสามารถในการนำเสนอ เช่น การเลือกเนื้อหาที่จะเล่า และนำเสนอหัวใจสำคัญของเรื่องที่เชื่อมโยงกับความเข้าใจเดิมของนักเรียน
4. ครูที่ดีจะตั้งความคาดหวังที่สูงต่อนักเรียน เชื่อว่านักเรียนทำได้ โดยมักจะท้าทายนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พัฒนาตนเองไปได้เรื่อย ๆ ดังนั้น วิธีการที่จะตั้งความคาดหวังที่สูงต่อนักเรียนจะต้องไม่ทำร้ายครูและนักเรียน ได้แก่
(4.1) ครูจะไม่ชื่นชมงานที่ไม่ได้มาตรฐานของนักเรียน แต่ครูจะใช้วิธีการฟีดแบ็กในสิ่งที่ถูกต้องกับนักเรียน
(4.2) เช็กความเข้าใจกับนักเรียนเสมอ เช่น เช็กการอธิบายของครู เช็กคำถามที่ครูใช้ เป็นต้น และ
(4.3) ตอบสนองต่อพฤติกรรมของนักเรียนเพื่อการเปลี่ยนแปลง เช่น เมื่อครูเห็นผลงานของนักเรียนที่ไม่ถึงมาตรฐานที่วางไว้ ครูควรจะสื่อสารหรือตอบสนองพฤติกรรมนั้นอย่างจริงจัง เช่น พูดกับนักเรียนว่า “นี่ไม่ใช่มาตรฐานที่ครูคาดหวังไว้กับเธอ ครูว่าเธอทำได้ดีกว่านี้นะ” และ
(4.4) ฟีดแบ็กกับนักเรียนตามเกณฑ์ความสำเร็จ
5. ครูที่ดีจะฝึกฝนสะท้อนและประเมินตัวเอง โดย ใช้บันทึกหลังการสอนเพื่อสะท้อนการจัดการเรียนรู้ของตัวเอง ให้เพื่อนครูมาสังเกตการสอน ตั้งกล้องบันทึกการสอน และ ตั้งคำถามกับตัวเองว่า “อะไร” และ “ทำไม”
6. ครูที่ดีจะใช้รูปแบบการสอนที่หลากหลาย ไม่กลัวที่จะเรียนรู้วิธีการสอนแบบใหม่ หรือใช้กลยุทธ์การสอนแบบใหม่ ยกตัวอย่างรูปแบบการสอน เช่น การสอนแบบ Active Learning ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียน การสอนแบบ Experiential Learning activities เป็นการส่งเสริมทักษะและความรู้ให้กับนักเรียนผ่านการสร้างประสบการณ์ตรง และ การสอนแบบ Project-based Learning ใช้วิธีการปลายเปิดให้นักเรียนได้ทำงานคนเดียว หรือทำงานร่วมกับเพื่อน ซึ่งอาจจะเป็นหลักสูตรพิเศษ หรือเป็นเนื้อหาที่ท้าทายนักเรียน เป็นต้น
แปลและเรียบเรียงจาก :
Ruadys. (2020).6 Key Qualities of a Good Teacher and 25 Ways to Live them Out. www.prodigygame.com/main-en/blog/qualities-of-a-good-teacher/
Related Courses
การจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐาน (Ariyasacca Based Learning : ABL)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐาน เน้นการเรียนรู้บนฐานชีวิตจริงที่ให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยต ...
การจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐาน (Ariyasacca Based Learning : ABL)
Micro Learning - เครื่องมือเพื่อการสร้างสื่อ
เครื่องมือเพื่อการสร้างสื่อ ประกอบไปด้วย แอปพลิเคชัน 4 แอปพลิเคชัน คือ Top Worksheets ,Canva ,Book Creator แล ...
Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน
การช่วยเหลือผู้เรียนสำคัญต่อการลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครอง
ชุมชนการเรียนรู้ ชุมชนแห่งการพัฒนา
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้บุคลากรทางการศึกษาได้เรียนรู้แ ...