Teacher Hero Season 3 : สร้างครูไทยหัวใจฮีโร่
จากการดำเนินกิจกรรม Workshop Teacher Hero Season 3 : สร้างครูไทยหัวใจฮีโร่ สำหรับครูแกนนำ ในส่วนของสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดย ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครู ได้มีความมุ่งมั่นในการสานต่อร่วมกับมูลนิธิสตาร์ฟิชคันทรีโฮมในการเตรียมความพร้อมของครู เพื่อให้สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือวิธีคิดต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ ประการแรกคือ ตัวผู้เรียน ซึ่งเป็นผลงานที่จะแสดงให้เห็นเชิงประจักษ์ ประการที่สอง การฝึกและสร้างความเข้าใจเพิ่มเติมในการใช้ดิจิทัล แพลตฟอร์มออนไลน์ในรูปแบบผสมผสาน เพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นเรื่องดีในการร่วมแบ่งปัน เผยแพร่จากครูแกนนำ 30 ท่านแรกสู่เพื่อนครูในเครือข่าย ทั้งในและนอกโรงเรียนผ่านสื่อแพลตฟอร์มต่างๆ หรือการสื่อสารให้กับสังคม ไม่เฉพาะแวดวงด้านอาชีพครูเพียงเท่านั้น ทั้งนี้ ทาง กสศ. ได้มีแพลตฟอร์มผ่านระบบออนไลน์ที่เพื่อนครูสามารถมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นคอร์สความรู้ การแบ่งปันข้อมูลความรู้ต่าง ๆ หรือสามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่ website : I am Kru?
อย่างไรก็ตาม ในการจัดการเรียนรู้ ทาง ก.ค.ศ. โดย รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้มีการนำหลัก 8 ตัวชี้วัด ที่ได้แนวคิดมาจากหนังสือ How Learning Work จากการวิจัยของ Ambrose ที่สะท้อนให้เห็นถึงหลัก 7 ประการ คือ
1) การจัดกระบวนการเรียนการสอนอย่างไร ให้เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของนักเรียนกับการเรียนรู้ใหม่
2) ทำให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านการลงมือทำจริง
3) สร้างแรงจูงใจกระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียนรู้
4) ฝึกให้นักเรียนคิดและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
5) ครูออกแบบกิจกรรมให้เด็กลงสู่การปฏิบัติ และสะท้อนผลการปฏิบัติอย่างไร
6) จัดบรรยากาศชั้นเรียนให้นักเรียนกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
7) ทำให้นักเรียนมีการกำกับตัวเองในการเรียนรู้ โดยทั้ง 7 ข้อ ถือว่าเป็นหลัก Smart Teaching ไม่ว่าห้องเรียนนั้นจะมีการสอนในรูปแบบใด และอีก 1 ตัวชี้วัดที่ กคศ. เพิ่มเติม เพื่อใช้ในการเป็นทิศทางพัฒนาการสอนของครู คือ
8) ความแม่นยำถูกต้องของเนื้อหา ซึ่งเป็นที่มาของ 8 ตัวชี้วัดและ 4 ผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยได้กรอบมาจาก World Economic Forum, 2018 ที่แสดงให้เห็นว่า การที่เด็กเข้ารับการศึกษาในยุคต่อไป เด็กจะต้องมีทักษะที่จะนำไปสู่การทำงานได้จริง หรือที่เรียกว่า Core work-related skills แบ่งออกเป็น 3 โดเมน ได้แก่
- 1. Abilities (ความสามารถ) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Cognitive Abilities (ความสามารถทางการคิด ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ การยืดหยุ่นทางความคิด การให้เหตุผลเชิงตรรกะ ความรู้สึกไวต่อปัญหา การใช้เหตุผลตามหลักคณิตศาสตร์) และ Physical Abilities (ความสามารถทางกายภาพ ได้แก่ ความคล่องแคล่ว แม่นยำ)
- 2. Basic Skills (ทักษะพื้นฐาน) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Content Skills (ทักษะด้านเนื้อหา ได้แก่ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ความสามารถในการอ่าน การพูด การเขียน ทักษะความเข้าใจ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ) และ Process Skills (ทักษะด้านกระบวนการ ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การประเมินตนเองและผู้อื่น)
- 3. Cross-functional Skills (ทักษะการบูรณาการการทำงาน) แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ Social Skills (ทักษะทางสังคม) Systems Skills (ทักษะเชิงระบบ) Complex Problem-Solving Skills (ทักษะด้านการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน) Resource Management Skills (ทักษะการจัดการทรัพยากร) และ Technical Skills (ทักษะเฉพาะทาง)
ฉะนั้น การเป็นครูไทยหัวใจฮีโร่ อย่างแรกต้องพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ 8 ตัวชี้วัดให้เป็น Smart Teaching และพยายามให้ไปสู่ 4 ตัวผลลัพธ์ของผู้เรียนให้ได้ แต่หัวใจสำคัญคือ “อย่ามุ่งแต่ที่ตัวเองจะพัฒนาเพื่อให้ได้วิทยฐานะ แต่อยากให้เน้นย้ำถึงผลลัพธ์ที่ดี ที่เกิดกับเด็กและวงการศึกษา ส่วนการที่จะได้วิทยฐานะนั้นเป็นผลพลอยได้”
เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาความรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร CEO Starfish Education ได้แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. Professional Development (PD) เป็นการอบรม การพัฒนาความรู้ทางวิชาชีพ หรือเป็นลักษณะของการสอนรูปแบบเหมา หรือวิธีการแบบเดียวใช้ได้หมด (One Size Fits All) และส่งผลให้เกิดการจัดการกับผู้อื่นซึ่งเป็นการพัฒนาในรูปแบบเดิม
2. Professional Learning (PL) เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Take ownership of your own learning) เด็กเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มีการร่วมมือกัน การ Coaching การปรับเปลี่ยนผลจากการเรียนรู้ของผู้เรียน กล่าวคือ การนำเอา Learning Outcome ของผู้เรียนมาปรับกับวิถีการเรียนรู้ของครู และสอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียน
ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการขับเคลื่อนด้วยความอยากเรียนรู้ของครู เป็น PL ที่ครูเลือกที่จะเรียนรู้ และเห็นคุณค่าในการพัฒนาวิชาชีพด้วยตนเอง สำหรับทักษะครูยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ย่อมมีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หรือแม้กระทั่งตัวผู้เรียนเอง โดยทางสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ได้สรุปทักษะครูยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
- 1) ทักษะการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator)
- 2) การร่วมมือกัน (Collaboration)
- 3) การเรียนรู้รายบุคคล (Personalized Learning)
- 4) การเขียนและเผยแพร่ (Authoring & Publishing) อย่างไรก็ตาม ทักษะของครูในอุดมคติอาจไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการพัฒนาตนเองในด้านใด เพื่อต่อยอดสู่การเติบโตในด้านอาชีพต่อไป
Related Courses
Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน
การช่วยเหลือผู้เรียนสำคัญต่อการลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครอง
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
โอริกามิ สื่อการพับกระดาษญี่ปุ่น
การเรียนรู้เรื่องโอริกามิ การพับกระดาษแบบญี่ปุ่นจะได้เรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมา ความหมาย เทคนิคการพับกระดาษ และแนวกา ...