การศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรเรียนแค่ไหน

Starfish Academy
Starfish Academy 4791 views • 2 ปีที่แล้ว
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรเรียนแค่ไหน

การประชุมทางวิชาการ สภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum) ครั้งที่ 3/2565 เรื่อง การศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรเรียนแค่ไหน

ปัจจุบันในโลกยุค VUCA World เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การศึกษาไทยต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้ความสำคัญกับกระบวนการคิดของผู้เรียน ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นตามแนวทางการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 และการจัดเสวนาสภาการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการอภิปรายถึงประเด็นการศึกษาขั้นพื้นฐานควรเรียนแค่ไหน และควรเรียนอย่างไร รวมถึงข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาผู้เรียนในอนาคตต่อไป

ดร.ชัยยศ – เมื่อพูดถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานต่างมีความเชื่อที่ว่าการเรียนขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเรียน แต่ด้วยโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เคยคิดว่าดีอาจไม่ตอบโจทย์ จะเห็นได้จากหลักสูตรขั้นพื้นฐานในปัจจุบันมีทั้งหมด 8 กลุ่มสาระ 16 - 18 วิชา ต้องใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 800 - 1000 ชั่วโมง หากเทียบกับการเรียน กศน. ที่ใช้ระยะเวลาในการเรียนน้อยกว่าและจบหลักสูตรที่เร็วกว่า ซึ่งถือว่าเป็นประเด็น เพราะสะท้อนถึงความสามารถในการเรียนของแต่ละคนไม่เท่ากัน เด็กบางคนจำเป็นต้องใช้เวลาเรียนนานในการทำความเข้าใจ แต่เด็กบางคนสามารถเรียนรู้ได้เร็ว แต่ไม่สามารถปล่อยให้เด็กก้าวได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ อยากให้ตระหนักถึงปรัชญาพื้นฐานของการศึกษาในแต่ละระดับว่าต้องการอะไร เช่น ระดับประถมศึกษาต้องเตรียมความพร้อมของเด็ก ในเรื่องของการสื่อสาร การอยู่ร่วมกันในสังคม การสร้างตัวเองให้เป็นคนที่เหมาะสมกับสังคม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นการเตรียมคนที่จะอยู่ในสังคมและการทำงาน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นการเตรียมคนให้รู้จักตนเองเพื่อเข้าสู่ความเชี่ยวชาญทางอาชีพ เป็นต้น 

จะเห็นได้ว่า ความจำเป็นในการพัฒนาคนแต่ละวัยแตกต่างกัน ฉะนั้น สิ่งที่ต้องการในการศึกษาขั้นพื้นฐานคือสมรรถนะ ครูต้องอ่านหลักสูตรและใช้หนังสือให้เป็น ขณะเดียวกันต้องมีเนื้อหาบางอย่างที่จำเป็น เช่น เรื่องของภาษาที่จำเป็นในการสื่อสาร แต่ยังมีข้อสังเกตว่ามีบางวิชาที่สำคัญมากแต่ให้ความสำคัญผิดๆ คือ วิชาเคมีและฟิสิกส์ เนื่องจากประเทศไทยมีการสอนที่ยากเกินความจำเป็นต่อการใช้ชีวิต ทำให้เด็กไม่อยากเรียน ทั้งที่ 2 วิชานี้เป็นพื้นฐานของการสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทบทวนว่าเนื้อหาใดมีความจำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม หลักสูตรขั้นพื้นฐานตอนนี้ไม่สามารถตอบได้ว่าแค่ไหนถึงจะพอ แต่ที่น่าสนใจมากกว่าคือ วิธีการ หรือรูปแบบการสอนของครู หากสามารถก้าวข้ามการสอนแบบ Non-formal หรือ Informal for education สู่การสอนแบบผสมผสาน สิ่งสำคัญคือ โรงเรียนสามารถจัดโอกาส หรือบรรยากาศให้นักเรียนได้เรียนอย่างผสมผสานหรือไม่ ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้ คือ หัวใจสำคัญของการศึกษาขั้นพื้นฐาน การเรียนรู้ที่ดีที่สุดไม่ได้เกิดจากการสอนที่ดีที่สุด แต่การเรียนรู้ที่ดีที่สุดเกิดจากการที่ครูวางแผนอย่างดี เพื่อให้เด็กไปเรียนรู้และค้นหาความรู้ด้วยตนเองจากรูปแบบที่หลากหลาย 

คุณโยโกะ – คำว่า “พื้นฐาน” มีเพื่ออะไร เพื่อเตรียมตัวให้ผู้เรียนได้ค้นพบตัวเองหรือไม่ หรือเตรียมตัวพื้นฐาน เพื่อให้เด็กพร้อมทำอาชีพใหม่หรือไม่ ถ้าพื้นฐานในวันนี้กับพื้นฐานเดิมต่างกัน ทำไมเรายังจัดการศึกษาแบบเดิม ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า พื้นฐานมีความสำคัญเพื่อให้เด็กมีเครื่องมือในการเรียนรู้ ฉะนั้น การศึกษาขั้นพื้นฐานจึงมีความจำเป็นต้องให้เด็กอ่านออก เขียนได้ มีความเข้าใจในคณิตศาสตร์ เรียนรู้ที่จะทำงาน มีทักษะการคิด การทำงาน การแก้ปัญหา มีทักษะทางด้านอารมณ์และทักษะสังคมที่ดี เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับโลกอนาคต 

เนื่องจากเด็กในปัจจุบันพบกับการ Disruption อาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นเร็วมาก ซึ่งไม่มีอยู่ในหนังสือเรียน แต่เกิดขึ้นแล้วในโลกยุคใหม่ อาชีพเก่าบางอาชีพกำลังจะหายไป ฉะนั้น ยังสามารถจัดการเรียนรู้รูปแบบเดิมได้หรือไม่ และจะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่ออะไร ประเด็นที่หนึ่ง เราควรจะจัดความพร้อมให้เด็กอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น คณิตศาสตร์พื้นฐานที่ควรมีทั้งหมด และให้เขาใช้เครื่องมือเหล่านั้นในการหาความรู้ที่มีอยู่รอบตัว ระดับต่อไปของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องตอบโจทย์ว่า เรากำลังจะเป็นพื้นฐานให้กับเด็กค้นพบตัวเอง ค้นพบศักยภาพที่เด็กอยากมี ค้นพบความถนัด ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นทักษะสมรรถนะที่สำคัญเพื่อการเตรียมพื้นฐาน รวมไปถึงการจัดการเรียนการสอนควรเป็นเรื่องของ Active Learning เพื่อให้เด็กได้ศึกษาสิ่งที่สนใจ หาสิ่งที่มีคุณค่า มีความหมายกับชีวิต สังคม และชุมชน ครูต้องสร้างให้เด็กมีการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อค้นหาตัวเองและสร้างประโยชน์อย่างมีคุณค่า

นายณชพล - ประเด็นปัญหาของการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พบเจอ คือ เด็กไทยส่วนใหญ่ประสบปัญหาในด้านภาษา ทักษะการใช้ชีวิต และยังไม่รู้ตนเอง การจัดการเรียนการสอนของครูในแต่ละระดับชั้นมีความแตกต่างกัน ครูสอนตามเนื้อหาในหนังสือให้เด็กผ่านได้เกรดดีๆ เพื่อให้ได้งานที่ดี แต่ใช่จริงหรือในเมื่อเราใช้เกณฑ์เดียวในการวัดเด็กที่มีความหลากหลาย ซึ่งการศึกษาในปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์ ทั้งที่ความจริงสิ่งที่ต้องการคือ เด็กต้องรู้จักตนเอง และมีสมรรถนะในการทำงาน อีกทั้งกระทรวงฯ สื่อสารไม่ถึงครู ทำให้แนวทางในการดำเนินงาน หรือเป้าหมายไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 

นายทัฬหวิชญ์ - การศึกษาขั้นพื้นฐานควรเรียนแค่ไหน ถ้าไม่ปรับการสอน เรียนแค่ไหนก็ไม่พอ ประเด็นที่หนึ่ง เด็กไทยใช้เวลาเรียนเยอะแต่ได้ผลน้อย จากผลงานวิจัยของ PISA 2015 พบว่า เด็กอายุ 12 ปี ใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละ 55 ชั่วโมง แต่ยังไม่สามารถใช้ความรู้แก้ปัญหาอย่างง่ายในชีวิตประจำวันได้ 

ประเด็นที่สอง ความรู้มีหมดอายุ ถ้าสอนเนื้อหาเก่า ไม่ตอบโจทย์อนาคต จากหนังสือ The Half-Life of facts ทำการศึกษาความรู้ที่เรียนหมดอายุในกี่ปี คิดเทียบเป็นร้อยละ 50 พบว่า ฟิสิกส์ใช้เวลา 13 ปี คณิต/เศรษฐศาสตร์ 10 ปี และประวัติศาสตร์ 8 ปี จะเห็นได้ว่า โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ความรู้ย่อมหมดอายุลงหรือเปลี่ยนแปลงตาม เช่น การเข้าสู่สังคมสูงวัย ความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี เป็นต้น นอกจากนี้หลักสูตรปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์ นักเรียนไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ประเด็นที่สาม โควิด-19 ตั้งคำถามกับสุขภาพระบบการศึกษาไทย พบว่ายังเป็นปัญหา เนื่องจากนักเรียนต้องเรียนในรูปแบบออนไลน์ ทำให้การเรียนรู้ไม่เต็มที่และไม่ต่อเนื่อง 

สำหรับข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงระบบการศึกษาไทย เริ่มจากขั้นตอนดังนี้

1. การเสวนาเพื่อปรับหลักสูตรตามเป้าหมาย ในเรื่องหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งมิติเนื้อหาและมิติสมรรถนะ อะไรคือความจำเป็นที่คนในอนาคตจะต้องเรียนในแต่ละช่วงวัย เน้นสมรรถนะผู้เรียน ปรับกระบวนจัดการศึกษาในโรงเรียน เพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน และลดอำนาจการควบคุมจากส่วนกลางลง ให้โรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก

2. เน้นทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ผ่านกระบวนการ Active Learning เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย ค้นพบคุณค่าในตัวเอง

3. ข้อเสนอเชิงนโยบาย หรือที่เรียกว่า กระดุม 6 เม็ด ให้ระบบการศึกษาตอบโจทย์อนาคต ดังนี้

  • 1) ปรับหลักสูตรใหม่ มุ่งสร้างสมรรถนะ 
  • 2) เร่งพัฒนาบุคลากร (ผลิต/อบรม) รองรับหลักสูตร 
  • 3) ปรับระบบการบริหารบุคลากร 
  • 4) ปรับระบบงบประมาณโรงเรียนให้ยืดหยุ่น 
  • 5) ปรับการวัดและประเมินผล (ประเมิน/รายงาน/เทียบโอน) 
  • 6) ปรับระบบประกันคุณภาพให้สอดคล้อง

จะเห็นได้ว่า การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาคน จึงมีความจำเป็นที่การศึกษาจะต้องปรับเปลี่ยน เพื่อสร้างผู้เรียนให้มีทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ตลอดจนสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ fb.watch/e3ErtXrOZN/

ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ อดีตรองเลขาธิการสภาการศึกษา

นางสาวโยโกะ เตรูย่า

ผู้แทนบริษัท สตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น โซเซียล เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด

นายทัฬหวิชญ์ ฐิติรัตน์สกุล 

นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

นายณชพล จึงสำราญ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)

หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหลักสูตรที่เน้นการวัดผลแบบสมรรถนะแทนการท่องจำเนื้อหาเพียงเพื่อนำมาสอบ หลักสูตรฐานสมรรถนะยังเป็ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)
Starfish Academy

ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)

Starfish Academy
1348 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว

เรียนรู้ไอเดียการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย ฉบับโรงเรียนบ้านปลาดาว ทำความเข้าใจลักษณะห้ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว
Starfish Academy

ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
1039 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน

การช่วยเหลือผู้เรียนสำคัญต่อการลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครอง

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน
Starfish Academy

Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน

Starfish Academy

Related Videos

Starfish Future Labz – Craft Your Future
05:27
Starfish Academy

Starfish Future Labz – Craft Your Future

Starfish Academy
210 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Future Labz – Craft Your Future
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
85 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
MetamorCBE ชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะผ่านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางความคิด
24:56
Starfish Academy

MetamorCBE ชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะผ่านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางความคิด

Starfish Academy
161 views • 1 ปีที่แล้ว
MetamorCBE ชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะผ่านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางความคิด
Makerspace Day #2
04:27
Starfish Academy

Makerspace Day #2

Starfish Academy
279 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #2