Academic Journal (TSQP 1) หัวข้อ การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
ศตวรรษที่ 21 ยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกที่ จึงเป็นเหตุผลให้ ทุกพื้นที่ในโลกจำเป็นต้องมีบุคลากรที่ มีความสามารถในการที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำพาพื้นที่มีความเจริญก้าวหน้า และนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน การจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มี สมรรถนะ ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาคนให้มีสมรรถนะ ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ธรรมชาติมนุษย์ทุกคนมีศักยภาพ Potential ภายใน ซึ่งในแต่ละคนอาจมีศักยภาพหลายอย่างแต่ยังไม่ได้แสดงออกมา จนกว่าจะถูกกระตุ้น ศักยภาพจะปรากฏออกมา และถ้าหากศักยภาพในตัวบุคคลนั้นถูกส่งเสริมจะทำให้บุคคลนั้นมีความสามารถในด้านนั้นสูงขึ้น ดังนั้น การได้เรียนรู้ องค์ความรู้ การฝึกทักษะด้านต่างๆ รวมถึงการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จะสามารถช่วยพัฒนาบุคคลให้มีความสามารถเพิ่มสูงขึ้นได้องค์ความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะ ที่มีอยู่ในตัวบุคคลอาจไม่ช่วยให้ประสบความสำเร็จ ถ้าหากว่าไม่นำเอาสิ่งเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการทำงานหรือในชีวิตประจำวัน หรืออีกนัยหนึ่งที่เรียกว่า ขาดความสามารถเชิงสมรรถนะ
ดังนั้นบุคคลที่แสดงออกถึงความสามารถในการนำความรู้ ทักษะ และเจตคติและคุณลักษณะต่างๆจนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง จึงเรียกว่า มีสมรรถนะ สมรรถนะ นำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง ในการกำหนดความสามารถของบุคคลที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติงานและการประกอบอาชีพ โดยได้มีการให้คำจำกัดความ สมรรถนะ ตามวัตถุประสงค์และบริบทของหน่วยงาน หรือองค์กร และในด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ได้ให้ความหมายของคำว่า สมรรถนะ ดังนี้ สมรรถนะ (competency) หมายถึง ความสามารถที่แสดงออกทางพฤติกรรมและการกระทำในการใช้ชีวิต การแก้ปัญหา และการปฏิบัติงาน ให้ประสบความสำเร็จ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skills) เจตคติ (attitude) และค่านิยม (values) ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของสังคม และวัฒนธรรมในสถานการณ์ที่หลากหลาย
องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา(Organization for Economic Co-operation and development หรือ OECD อธิบายการเกิดสมรรถนะไว้ว่า สมรรถนะ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้ประมวล ผสมผสานความรู้ ทักษะ เจตคติและค่านิยมในการลงมือปฏิบัติ (Action)ในงานหรือสถานการณ์ ที่เรียกว่า การประยุกต์ใช้ ซึ่งผู้เรียนจะแสดง สมรรถนะ ออกมาเป็นพฤติกรรมและการกระทำที่สามารถสังเกตได้ จุดที่เป็นคานงัดสำคัญ คือ การประยุกต์ใช้ เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ในเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่หลากหลายและแตกต่างจากการเรียนรู้และฝึกฝนในห้องเรียนด้วยตนเอง มักจะเชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิตและสังคม ที่เป็นสถานการณ์ หรือใกล้เคียงความจริงการพัฒนาสมรรถนะ เป็นกระบวนการต่อเนื่อง จำเป็นต้องฝึกฝนและทำซ้ำๆ จนเกิดความสามารถและพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น และเป็นเส้นทางการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน (personal learning pathways) ซึ่งอาจแตกต่างกันไป กระบวนการ ไตร่ตรองสะท้อนคิด(reflection) เพื่อวิเคราะห์ และประเมินตัวเองสำหรับวางแผนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง จะเป็นทักษะสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong leaning) สมรรถนะเป็นสิ่งที่ติดตัวผู้เรียน สามารถถ่ายโอนไปปรับหรือประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและจัดการกับสิ่งต่างๆได้ และด้วยการไตร่ตรองและสะท้อนคิดจนเป็นนิสัย ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และต่อยอดสมรรถนะเฉพาะด้านต่างๆสำหรับการใช้ชีวิตและการทำงานของตนในอนาคต
กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนเกิดสมรรถนะในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนรู้บางศาสตร์ และการบูรณาการศาสตร์ อย่างที่เรียกว่า หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ หรือกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน ซึ่งการจัดกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิด ทักษะด้านต่างๆ แน่อาจจะยังไม่ถึง สมรรถนะ เท่าที่ควร และในสถานการณ์ปัจจุบันได้มีการพยายามปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้อิงสมรรถนะ ที่สำคัญคือการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะ อย่างแท้จริง บุคลากรที่มีความสำคัญต่อกระบวนการเหล่านี้คือครู จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน mindset ในการจัดกระบวนการเรียนรู้สมรรถนะ รวมถึงการวัดและประเมินผลที่เน้นการวัดและประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อให้เกิดคุณภาพกับนักเรียน เน้นให้นักเรียนค้นพบศักยภาพของตนเอง รู้จักตัวเอง และสามารถพัฒนาตัวเองให้เท่าทันกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน
การศึกษาฐานสมรรถนะ เป็นระบบการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลเป็นสำคัญในการดำเนินการจัดการศึกษา โดยนำสมรรถนะของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ทั้งทางด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ความถนัด และก้าวหน้าไปตามความสามารถของตนโดยเน้นการเชื่อมโยงกับบริบทชีวิตจริง และการนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้จริง และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ เพื่อการส่งเสริมและบ่มเพาะสมรรถนะผู้เรียนทุกคนเต็มศักยภาพ การศึกษาฐานสมรรถนะที่มีคุณค่าและประสบความสำเร็จนั้น ต้องการความวางไว้ใจ(trust) และความร่วมมือของสังคม ชุมชน โรงเรียน ผู้เรียน และครอบครัว
ศน. รัตนาภรณ์ ปั๋นเป็ง
ศึกษานิเทศก์ชำนาญพิเศษ
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่
Related Courses
ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว
เรียนรู้ไอเดียการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย ฉบับโรงเรียนบ้านปลาดาว ทำความเข้าใจลักษณะห้ ...
ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)
หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหลักสูตรที่เน้นการวัดผลแบบสมรรถนะแทนการท่องจำเนื้อหาเพียงเพื่อนำมาสอบ หลักสูตรฐานสมรรถนะยังเป็ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...