ยกระดับประเด็นท้าทาย ตามสไตล์ครูสายบัว

ยกระดับประเด็นท้าทาย ตามสไตล์ครูสายบัว

ครู SMART ทำได้ สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ ว.PA “ยกระดับประเด็นท้าทาย ตามสไตล์ครูสายบัว”

จากการที่ได้มีประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการประเมินตำแหน่ง วิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ว9 หรือ วPA มาใช้กับครูทั่วประเทศ เพื่อเป็นเกณฑ์ประเมินในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาแล้วนั้น และถ้ากล่าวถึง วPA ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นท้าทายในการปฏิบัติงานของครู เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการแชร์ประสบการณ์การยกระดับประเด็นท้าทาย เพื่อเป็นแนวทางหรือนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนประเมินวิทยฐานะ หรือ วPA ให้เป็นไปตามทิศทางและตรงตามเป้าหมาย

การทำวิทยฐานะของครูตั้งแต่ ว17 ว21 และ วPA (ว9) พบว่า แต่ละ “ว” ได้มีการพัฒนา ปรับเปลี่ยนข้อกำหนดต่างๆ ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และลดภาระงานของครูอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา การกำหนดชั่วโมงปฏิบัติงาน หรือภาระงาน ผลงานที่ใช้ การ PLC จำนวนชั่วโมงอบรมที่ 

ก.ค.ศ. รับรอง แผนพัฒนา ตลอดจนการพัฒนา ตรวจสอบคุณสมบัติของครู เช่น ระยะเวลาดำรงตำแหน่งที่เป็นไปตามเงื่อนไข ผลการประเมิน PA ย้อนหลังครบระยะเวลาที่กำหนด ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นต้น 

สำหรับประเด็นท้าทายตามเกณฑ์ วPA กรณีย้ายโรงเรียน สามารถเขียนยกระดับประเด็นท้าทายได้ โดยเริ่มต้นจาก 

1) การวิเคราะห์ผู้เรียนก่อนเรียน 

2) นักเรียนกลุ่มนี้เกิดปัญหาอะไร ผลสัมฤทธิ์เป็นอย่างไร 

3) ดูบริบทโรงเรียน นโยบาย แผนปฏิบัติการโรงเรียน SAR โรงเรียน สอบถาม สังเกต 

4) ผลลัพธ์ที่อยากให้เกิดขึ้นกับนักเรียน (สมรรถนะนักเรียน/ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21) 

5) สอดคล้องกับรายวิชาที่สอน เพื่อที่ครูจะได้รู้ตัวตนของตนเองและนักเรียน ตลอดจนสามารถนำไปพัฒนา วางแผนการจัดการเรียนการสอนได้  

ดังนั้น ในการเขียนประเด็นท้าทาย จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่งวิทยฐานะของตนเอง หรือเขียนสูงกว่าระดับวิทยฐานะปัจจุบันก็ได้ ซึ่งการเขียนในส่วนของประเด็นท้าทาย จะต้องสามารถตอบโจทย์ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนของผู้เรียนอย่างชัดเจน ด้านการดำเนินการให้บรรลุผลเป็นการเขียนวิธีการกระบวนการตลอดภาคเรียนในรูปแบบใด ซึ่งแสดงถึงหลักฐานในการทำงานเป็นกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน 

ทั้งนี้ ประเด็นท้าทาย สามารถทำเรื่องเดิมได้ แต่ต้องคำนึงถึงว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายหรือไม่ หากเรื่องดังกล่าวได้มีการดำเนินการและเกิดผลลัพธ์แล้ว หลังจากนั้น ครูจะต้องทำการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ใหม่ เพื่อเสนอต่อผู้อำนวยการ ณ โรงเรียนปัจจุบันที่บรรจุ 

อย่างไรก็ตาม การเขียน วPA ไม่ใช่งานวิจัยแต่ลักษณะในเชิงการเขียนที่เห็นกระบวนการอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ เป้าหมายเชิงคุณภาพและหัวข้อต่างๆ คล้ายงานวิจัย แต่เมื่อมีการทำอย่างต่อเนื่องจนก่อให้เกิดเป็นชิ้นงาน หรือนวัตกรรมที่ครูสามารถพัฒนาเด็กได้โดยตรง มีความสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนและโรงเรียนก็สามารถพัฒนาเป็นงานวิจัยได้

จะเห็นได้ว่า การทำ PA ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เป็นการทำหน้าที่ของครูโดยปกติ ซึ่งเน้นในส่วนของการดำเนินการตามมาตรฐานตำแหน่งของครู การทำข้อตกลงกับผู้บริหารสถานศึกษาที่เน้นย้ำการพัฒนาที่ส่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ฉะนั้น ประเด็นท้าทายไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ทำตามระดับปฏิบัติการ ที่สำคัญประเด็นท้าทายต้องศึกษาจากบริบท และศึกษาว่าเด็กควรได้รับการพัฒนาในด้านใด ถึงจะเป็นประเด็นที่ท้าทายที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนสูงสุดทั้งนี้สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/starfishlabz/videos/999956844224444

ครูสายบัว พิมพ์มหา ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 

โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จังหวัดขอนแก่น

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5866 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7054 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
1053 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3773 ผู้เรียน

Related Videos

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
05:22
Starfish Academy

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ

Starfish Academy
1139 views • 3 ปีที่แล้ว
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
797 views • 3 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด
01:01:51

PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด

369 views • 3 เดือนที่แล้ว
PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด
เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
01:28:36

เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

420 views • 9 เดือนที่แล้ว
เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน