กิจกรรม PLC Leader ครั้งที่ 7 โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564 “การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาการศึกษา”
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การจัดการเรียนการสอนขาดความต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าสถานศึกษาได้มีการปรับรูปแบบการเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย และสอดคล้องกับบริบทของนักเรียน แต่พบว่านักเรียนยังประสบปัญหาเกิดการเรียนรู้ที่ถดถอย ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2565 นี้ ได้มีการเปิดภาคเรียนในรูปแบบ On-site แต่ละสถานศึกษาจะมีวิธีการเตรียมรับมือเปิดภาคเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาการศึกษาอย่างไร กิจกรรม PLC ในครั้งนี้ จะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับโรงเรียนบ้านแซววิทยาคม สพม.เชียงราย โรงเรียนต้นเรื่องถึงวิธีการในการรับมือและการสร้างเครือข่าย เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียนได้
โรงเรียนบ้านแซววิทยาคม เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ขนาดกลาง เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 เป็นโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา รุ่นที่ 4 โรงเรียนดำเนินงานภายใต้กรอบความคิด (Mindset) ที่ว่า “เราจะสร้างคนดีให้บ้านเมือง” จึงได้มีการพัฒนาโรงเรียนตามกลยุทธ์ของโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา 5 ข้อ ดังนี้
1) การพัฒนาครูให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน
2) การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) การพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนให้มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม
4) การพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ
5) การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนคุณภาพ ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ โรงเรียนได้สร้างเครือข่ายครอบคลุมทั้ง 5 กลยุทธ์ ในการสนับสนุนการเรียนการสอนให้บรรลุตามเป้าหมายของแต่ละกลยุทธ์ จากผลการดำเนินงาน นักเรียนสามารถทำคะแนน PISA ได้ใกล้เคียงระดับประเทศ เป็นโรงเรียนต้นแบบ PISA และมีระดับผลคะแนน O-Net ระดับชั้นม.3 ในปีการศึกษา 2564 สูงกว่าระดับประเทศและสูงกว่าค่าเป้าหมายร้อยละ 3 ของทุกวิชา รวมไปถึงมีศิลปวัฒนธรรมด้านกลองสะบัดชัยที่สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนอีกด้วย
สำหรับการเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนได้มีวิธีการเตรียมตัวรับมือในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยการเสริมสร้างความพร้อมของนักเรียน ครูทำการทบทวนและพยายามปรับตัวให้เข้ากับเด็ก ไม่ว่าจะเป็น การจัดการเรียนการสอน การเข้าสังคม การปรับบริบทพื้นฐานให้กับเด็ก ตลอดจนการจัดกิจกรรมที่ไม่เน้นเนื้อหาวิชาการมากเกินไป แต่มุ่งให้เด็กเข้าใจกระบวนการและบริบทของโรงเรียนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Thinking School และโรงเรียนคุณธรรม
ในส่วนของครู ได้มีการทบทวนโดยการเชิญผู้บริหารและครูจากโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สร้างความร่วมมือร่วมกันในการเข้ามาเยี่ยมชม และสร้างกรอบความคิด (Mindset) ใหม่ให้กับโรงเรียน การจัดอบรมทบทวนการใช้เครื่องมือการสอนคิดทั้ง 10 รูปแบบ การจัดประชุม PLC ร่วมกัน การจัดทำแผนหน่วยการเรียนรู้ ในด้านมาตราการความปลอดภัย โรงเรียนได้มีมาตราการการป้องกันเบื้องต้น โดยการคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิ การแจกและตรวจ ATK นักเรียนทุกคน กรณีที่นักเรียนมีความเสี่ยงสูงสามารถมารับบริการ ATK เพิ่มเติมได้ นอกเหนือจากแผนมาตราการ 6 ข้อ
ทั้งนี้ จากการดำเนินการเตรียมตัวรับมือของโรงเรียนในช่วงเปิดภาคเรียน ถือได้ว่าเป็นจุดเชื่อมการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมของครูในการออกแบบ คิด ทำ และพัฒนาโรงเรียนตามกลยุทธ์ ที่ได้ตั้งเป้าหมายร่วมกับเครือข่ายภายนอกสถานศึกษา ทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการให้ความรู้ คำแนะนำ หรือที่ปรึกษาในแต่ละด้านของกลยุทธ์ที่ก่อให้เกิดกิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ตลอดจนการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองและขยายผลไปยังชุมชนภายนอก โดยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน การนำปราชญ์ชุมชนมาให้ความรู้แก่นักเรียน รวมไปถึงการศึกษาวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการดึงบทเรียนจากสภาพชุมชนมาใช้ในการจัดการเรียนรู้อีกด้วย
จะเห็นได้ว่า ในการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาโรงเรียน ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการสร้างเครือข่ายในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นครู นักเรียน ผู้ปกครอง หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สิ่งที่สำคัญคือ การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน และการสร้างแรงจูงใจ ตราบใดที่มีแรงจูงใจร่วมกัน เครือข่ายก็มีความยั่งยืน ดังนั้น การสร้างภาคีเครือข่าย ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนให้เรื่องเหล่านี้ประสบผลสำเร็จได้ ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.starfishlabz.com
ผอ.กุศล มีปัญญา ผอ.โรงเรียนบ้านแซววิทยาคม สพม.เชียงราย
ครูชนาธิป โหตรภวานนท์ โรงเรียนบ้านแซววิทยาคม
ศน.กรรณิการ์ นารี ศธจ.เชียงใหม่
บทความใกล้เคียง
เปิดเทอมคราวนี้ต้องให้ความสำคัญ เรื่อง “การฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย”

แค่ไม่อยากให้ "โรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม" เป็นเพียงความทรงจำที่ดี ตอนที่ 1 "จุดเริ่มต้น"

แค่ไม่อยากให้ "โรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม" เป็นเพียงความทรงจำที่ดี ตอนที่ 2 "ระเบิดจากข้างใน"

Related Courses
การช่วยเหลือผู้เรียนในกลุ่มเปราะบาง
การศึกษาในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียน ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีพัฒนาการแบบองค์รวม คือ ให้เป็นคน ...



การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...



การจัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (EE)
เพื่อให้นักการศึกษาได้ตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย และประโยชน์ของการศึกษารวมถึงความสำคัญของการบูรณาการของ ...



Environmental Education (EE)
The goal of the course is to explain to educators what environmental education is, what its goal ...



Related Videos
![Starfish Country Home School Foundation [ENG]](https://img.youtube.com/vi/eeT-qLyd87U/mqdefault.jpg)

Starfish Country Home School Foundation [ENG]


แนวทางปฏิบัติของครูเพื่อป้องกันโควิด-19 ในโรงเรียน


แนวทางป้องกันโควิด-19 ในโรงเรียน

