กิจกรรม PLC Teacher ครั้งที่ 7 “ห้องเรียนแห่งความสุข”
กิจกรรม PLC Teacher ครั้งที่ 7 โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564 หัวข้อ “ห้องเรียนแห่งความสุข”
กิจกรรม PLC Teacher ในครั้งนี้ เป็นอีกมิติหนึ่งในการ PLC ร่วมกันจากตัวอย่างละครในหัวข้อ “ห้องเรียนแห่งความสุข” เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเทคนิค วิธีการในการสร้างห้องเรียนของครูให้กลายเป็นห้องเรียนที่เติมเต็มความสุขให้กับผู้เรียนตามบริบทที่แตกต่างกันได้มากยิ่งขึ้น
ห้องเรียนแห่งความสุข คือ ห้องเรียนที่เด็กเป็นศูนย์กลาง มีการทำกิจกรรมร่วมกันในห้องเรียน เป็นห้องเรียนแห่งความเสมอภาค นักเรียนได้รับการปฏิบัติถึงความเอาใจใส่จากครูอย่างเท่าเทียมกัน เป็นห้องเรียนแห่งโอกาสที่ครูรู้จุดเด่น จุดด้อย หรือความสามารถของนักเรียนเป็นรายบุคคล การส่งเสริม สนับสนุนต่อยอดในความรู้ ความสามารถของนักเรียน การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นห้องเรียนที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ รวมไปถึงการเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียน หัวใจสำคัญคือการที่เด็กเป็นเจ้าของการเรียนรู้ ครูอาจจะเป็นผู้ช่วย ผู้อำนวยความสะดวก เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนอีกด้วย
สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ ได้ทำการถอดบทเรียนจากตัวอย่างละคร “ครูมะ ห้องป.3” พบว่า มีกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการลงมือทำ การจัดห้องเรียนตามศักยภาพของเด็ก เทคนิคการใช้คำถามของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิด วิเคราะห์ รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ทำให้เด็กเกิดการ Active และพร้อมที่จะเรียนรู้ ทั้งนี้ ครูได้เรียนรู้ถึงการรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน การกระตุ้นการเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติจริงที่ส่งผลดีกว่าการเรียนรู้แบบท่องจำ การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของเด็ก กระบวนการสอนที่กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนส่งผลให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียน ผ่านการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และการจัดรูปแบบกิจกรรมที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในห้องเรียนในการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมที่สอดแทรกประสบการณ์ในห้องเรียน เทคนิคการสอน การสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ และการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
ทั้งนี้ ในการระดมความคิดเห็นของครูจากบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละโรงเรียนมีเทคนิค หรือวิธีการสร้างห้องเรียนแห่งความสุข โดยการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมมือกันในการคิด และการวางแผน เน้นการลงมือปฏิบัติ การสร้างบรรยากาศในการนำเข้าสู่บทเรียน เน้นการใช้เทคโนโลยี ใช้สื่อการสอนที่ทันสมัย ใช้แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ เพื่อฝึกให้เด็กสามารถวิเคราะห์ คิดเป็น แก้ปัญหาได้ และในบทบาทของผู้บริหารมีวิธีการสร้างห้องเรียนแห่งความสุขและเสริมแรงให้ครู โดยการเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับครู สนับสนุนครูในทุกๆ ด้าน เช่น สื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ การส่งเสริม สนับสนุนครูในการเข้ารับการอบรมพัฒนาวิชาชีพ การเสริมแรง การกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กจากสิ่งที่เด็กสนใจ บทบาทสมมติ การสำรวจความต้องการของเด็กรายบุคคล เป็นต้น
สรุปได้ว่า จากการถอดบทเรียนและระดมความคิดเห็นของครูและผู้บริหาร ครูได้เรียนรู้และสามารถนำวิธีการไปปรับใช้ในห้องเรียน อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการสร้างห้องเรียนแห่งความสุขที่แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละโรงเรียน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข
โค้ชศิริรัตน์ คำจูกัลย์ หัวหน้าทีมนักพัฒนาการศึกษา (Head Coach)
โค้ชชลสาย กาศรีวิชัย นักพัฒนาการศึกษา (Coach)
โค้ชสมศรี หล้าบุดดา นักพัฒนาการศึกษา (Coach)
บทความใกล้เคียง
กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 2 การนำไปใช้กับผู้เรียน (ครูผู้สอน)
ภาวะความรู้ถดถอย (Learning Loss) ที่ต้องเร่งแก้ไขในมุมมองของ CEO Starfish Education
กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 1 การเก็บหลักฐานและจัดการข้อมูล (ครูวิชาการ)
Related Courses
ครูสอน KIDS (คิด)
ครูสอน KIDS (คิด) ชวนคุณครูมาร่วมสร้าง Mindset ใหม่ๆ พร้อมหาไอเดียการตั้งคำถาม เพื่อสอนเด็กให้มีวิธีคิดและทำอย่างไรให้เ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)