ภาวะความรู้ถดถอย (Learning Loss) ที่ต้องเร่งแก้ไขในมุมมองของ CEO Starfish Education
ภาวะความรู้ถดถอย (Learning Loss) ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย ตั้งแต่ที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และได้สร้างผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อตัวเด็กนักเรียนโดยตรง และต่อประเทศในหลากหลายมิติ โดยที่ Starfish Education มุ่งให้ความสำคัญและแก้ไขผลกระทบต่อตัวเด็กใน 3 มิติ ดังนี้ ด้านวิชาการ ด้านพัฒนาการ และด้านอารมณ์และสังคม และได้ให้ข้อเสนอ 5 มาตรการฟื้นฟูความรู้ถดถอย (Education Recovery)
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาทั่วโลก ถึงแม้จะมีการจัดการเรียนรู้ที่เรียกว่า Remote Learning หรือการจัดการศึกษาทางไกลที่หลากหลายรูปแบบ ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์การเรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคลได้ ยกตัวอย่างเช่น ผลการสำรวจของนักเรียนโรงเรียนบ้านปลาดาว มีเพียงแค่ 20% เท่านั้นที่พร้อมสำหรับการเรียนออนไลน์ ส่วน 80% พบว่าไม่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้ โดยมีเหตุผลเช่น ไม่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือแท็ปเล็ต ไ่ม่สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับเรียนออนไลน์ได้ และบางส่วนพ่อแม่ไม่รู้หนังสือ
นอกเหนือจากตัวอย่างผลสำรวจความพร้อมของโรงเรียนบ้านปลาดาวแล้ว ยังมีงานวิจัยมากมายพบว่าสิ่งที่เด็ก ๆ กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ ทำให้เด็ก ๆ ในประเทศไทยเกิด ‘ภาวะความรู้ถดถอย (Learning Loss)’
ดร. แพร ได้ให้ความหมายของภาวะความรู้ถดถอย (Learning Loss) ว่า สิ่งที่ผู้เรียนควรที่จะได้เรียนรู้ หรือรู้แล้วตามระดับชั้นของตัวเอง แต่นักเรียนไม่รู้ เช่น นักเรียนเรียนอยู่ชั้นป.4 แต่เขาไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานในระดับของเขา หรือ อาจจะเป็นสิ่งนักเรียนเคยรู้แล้ว แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป และไม่ได้ไปโรงเรียนนาน ๆ นักเรียนกลับจำไม่ได้ หรือเด็กเล็กที่เคยช่วยเหลือตัวเองได้ กลับเริ่มทำอะไรไม่ได้ เป็นต้น
ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมจากกรณีศึกษาโรงเรียนบ้านปลาดาว ที่ได้มีการวัดความรู้ถดถอยของนักเรียนระดับชั้นป.4 และป.5 โดยใช้ข้อมูล NT ชุดที่นักเรียนเคยทำ ผลปรากฎว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ลดลงมากกว่าความสามารถด้านภาษา ซึ่งมีนักเรียนร้อยละ 54 มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ลดลง และนักเรียนร้อยละ 15 มีความสามารถด้านภาษาลดลง และนักเรียนกลุ่มเก่งมีความรู้ถดถอยมากกว่ากลุ่มอ่อน
ส่วนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีความสามารถด้านภาษาลดลงกว่าด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนร้อยละ 48 มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ลดลง นักเรียนร้อยละ 63 มีความสามารถด้านภาษาลดลง และนักเรียนกลุ่มเก่งมีความรู้ถดถอยมากกว่านักเรียนกลุ่มอ่อนกว่า (ข้อมูลจากโรงเรียนบ้านปลาดาว, 2564)
ซึ่งจากสถานการณ์ของโรงเรียนบ้านปลาดาว ทำให้เห็นชัดเจนเลยว่า “ภาวะความรู้ถดถอย (Learning Loss)” ได้เกิดขึ้นแล้วกับเด็ก ๆ
จึงทำให้ Starfish Education มีจุดโฟกัสเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาภาวะความรู้ถดถอยนี้ใน 3 มิติ ได้แก่
- ด้านวิชาการ
- ด้านพัฒนาการ
- ด้านอารมณ์และสังคม
ซึ่งที่ผ่านมา Starfish Education ได้พยายามให้ความสำคัญการเรียนรู้ของผู้เรียน ในช่วงที่เด็กๆ มาเรียนไม่ได้ เช่น โรงเรียนบ้านปลาดาวได้จัดส่งกล่อง Learning box ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ที่บ้าน ผ่านการทำงานของคุณครูโรงเรียนบ้านปลาดาวร่วมกับอาสาในชุมชน และมีการสื่อสารกับผู้ปกครองอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการช่วยเหลือด้านการเรียนรู้ให้กับนักเรียน (Learning Intervention) ที่โรงเรียนบ้านปลาดาวได้ทำ
แต่เพียงแค่ Learning Box อย่างเดียวไม่สามารถฟื้นฟูความรู้ถดถอยที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพราะ Learning Box เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอยเท่านั้น
ดร.แพร จึงได้เสนอ 5 มาตรการฟื้นฟูความรู้ในเด็ก ได้แก่
มาตรการที่ 1. ประเมินสภาพแวดล้อมทั้งระบบ (Landscape Assessment)
มาตรการที่ 2. การวางแผนของโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Planning) เพื่อสร้างความพร้อมและความมั่นใจให้แก่บุคลากรของโรงเรียน
มาตรการที่ 3. การสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครู (Professional Development Support for Teachers)
มาตรการที่ 4. การช่วยเหลือเด็กเรียนรายบุคคล (Intervention and Support for Students)
มาตรการที่ 5. (การติดตามปรับปรุงและผลสะท้อนกลับ (Monitoring and Intervention Redesign)
อ่านเพิ่มเติม: บทความ มาตรการฟื้นฟูความรู้ถดถอยในเด็ก (Learning Loss) โดย Starfish Education bit.ly/3BWsyAp
จะเห็นได้ว่า ภาวะการเรียนรู้ถดถอย (Learning Loss) เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไขให้เร็วที่สุด เพราะผลกระทบนำมาซึ่งความเสียหายใหญ่ในระดับประเทศ ซึ่ง Starfish Education ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้ร่วมมือกับโรงเรียนเครือข่าย โดยมีโรงเรียนบ้านปลาดาวเป็นต้นแบบ และดำเนินการโครงการต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานทั้งภายใน และภายนอกประเทศเพื่อช่วยแก้วิกฤตในครั้งนี้
แหล่งที่มาข้อมูล
เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ เรื่องภาวะความรู้ถดถอย (Learning Loss) โดย ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร
(27 ตุลาคม 2564)
บทความใกล้เคียง
บทบาทของนักการศึกษากับการพัฒนานวัตกรรมในโรงเรียนยุคโควิด-19
งานเสวนา : โรงเรียนเปลี่ยนใหม่ “ปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19”
“ก่อร่างสร้างใหม่ การศึกษาไทยสู่อนาคต” นำเสนอผลการระดมสมอง 5 โจทย์สำคัญเพื่อการเปลี่ยนระบบการศึกษาไทย
Related Courses
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...
Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Peer Learning คืออะไร 5 รูปแบบของกิจกรรม Peer to Peer Learning ตัวอย่างก ...
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอยในวันที่โรงเรียนกลับมาเปิดเทอมใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เด็กๆ เรียนออนไลน์มาเป็นเวลานาน ส่ง ...