ปัญหาความถดถอยในการเรียนรู้และการสร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน
กิจกรรม PLC Leader ครั้งที่ 5 โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง
รุ่นที่ 1 และ 2 ต่อเนื่องในปี 2564
หัวข้อ “ปัญหาความถดถอยในการเรียนรู้และการสร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน”
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะนักเรียนที่ประสบปัญหาด้านการเรียนรู้ที่ถดถอย เนื่องจากขาดความต่อเนื่องในการเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการพูดคุย แลกเปลี่ยนถึงปัญหาหรือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความถดถอยในการเรียนรู้ และการสร้างความพร้อมในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากสภาวะวิกฤติในปัจจุบัน ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบในหลากหลายมุมมอง ในมุมมองทางด้านการศึกษา จะเห็นได้ว่าเกิดการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย โดยเฉพาะแนวทางของ สพฐ. ได้มีการจัดรูปแบบการเรียนการสอน 5 รูปแบบ รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในรูปแบบของออนไลน์มากขึ้น การเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการวัดและประเมินผลการทดสอบต่างๆ ที่ทำให้ครูหรือผู้ปฏิบัติเข้าถึงและเข้าใจมากขึ้น ในทางกลับกัน ผู้เรียนอาจสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้
เนื่องด้วยสถานการณ์ที่ไม่สามารถเปิดการเรียนการสอนแบบปกติได้ ถึงแม้ว่าจะมีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสม แต่ด้วยบริบทของนักเรียนและครอบครัวไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนรู้ ความไม่พร้อมทางด้านเทคโนโลยีที่อาจเป็นช่องว่างทางการศึกษา ส่งผลให้เด็กเกิดความถดถอยในการเรียนรู้ และหลุดออกจากระบบการศึกษาระหว่างที่เรียนหรือในช่วงรอยต่อการจบการศึกษา ในภาคส่วนของเขตพื้นที่การศึกษาได้ให้ความสำคัญถึงปัญหาที่ทำให้เกิดความถดถอยในการเรียนรู้ และพยายามผลักดันโครงการต่างๆ ในการสร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นการระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือเด็กที่ขาดแคลนอุปกรณ์ การขับเคลื่อนเรื่องเด็กหลุดออกจากระบบให้สามารถกลับมาเรียนได้ การให้ความสำคัญด้านสุขภาวะทางอารมณ์และสุขภาพจิตของเด็ก การพัฒนาครูและผู้บริหารให้มีสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนสำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและผู้ปกครอง ตลอดจนการหาแนวทางหรือวิธีการในการปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบอื่นๆ ควบคู่กับการเรียนแบบ On-site อย่างไรให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะ การเรียน Online ให้ตอบโจทย์และมีคุณภาพ เด็กได้เรียนรู้ที่โรงเรียนอย่างมีความสุขและปลอดภัย
ในภาคส่วนของโรงเรียน ได้มีนโยบายในการลดความถดถอยในการเรียนรู้และสร้างโอกาสในการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการถอดบทเรียนจากการเรียนการสอนทั้ง 5 On เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน โดยการบูรณากลุ่มสาระวิชาต่างๆ ที่ส่งเสริมทักษะชีวิตในผู้เรียน การสร้างกิจกรรมกระตุ้นการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมสร้างสรรค์ (Makerspace) กิจกรรม PBL เป็นต้น
การใช้นวัตกรรมกล่องการเรียนรู้ (Learning Box) ผ่านทักษะกระบวนการ STEAM Design Process การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้จากนวัตกรรมการศึกษาด้านหลักสูตร การเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการบริหารจัดการ การพัฒนาและส่งเสริมครูด้านการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การประยุกต์การใช้โปรแกรม Platform Online การดำเนินโครงการพัฒนาสุขภาพกายและจิตของนักเรียน การดูแลสุขภาวะพื้นฐานของนักเรียน ครอบครัวและชุมชน การใช้ชุมชนเป็นฐานการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนในส่วนของศึกษานิเทศน์ ได้มีการลงพื้นที่นิเทศโรงเรียน เพื่อสร้างความตระหนักในการระมัดระวังของการแพร่ระบาดและวิธีป้องกันโรคโควิด-19
จะเห็นได้ว่า การลดความถดถอย หลักการง่ายๆ คือ ทำอย่างไรให้นักเรียนมีความรู้ฝังแน่น ประกอบกับการบูรณาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน ทั้งนี้ ผู้ปกครองถือว่าเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือที่ดีที่สุด และจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ละสถานศึกษาได้มีนวัตกรรมในการสร้างรูปแบบฝังแน่น ผ่านกระบวนการต่างๆ ทั้ง Active Learning, Learning Box และ Makerspace ถือได้ว่า เด็กได้พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ผนวกกับการสร้างหลักสูตรที่มีความแตกต่างตามบริบทของแต่ละโรงเรียน ดังนั้น ถ้าเกิดความร่วมมือในทุกภาคส่วนย่อมสามารถพัฒนาผู้เรียนไม่ให้เกิดความถดถอยในการเรียนรู้ได้
ดร.สุนิสา คงสุวรรณ ผอ.โรงเรียนวัดดอนพุดซา
ดร.พิเศรษฐ์ ไชยสุภา รองผอ.สพป.ชม.เขต 2
ผอ.พิศาล ประเสริฐสิทธิ์ ผอ.โรงเรียนบ้านป่าลาน
บทความใกล้เคียง
งานเสวนา : โรงเรียนเปลี่ยนใหม่ “ปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19”
“ก่อร่างสร้างใหม่ การศึกษาไทยสู่อนาคต” นำเสนอผลการระดมสมอง 5 โจทย์สำคัญเพื่อการเปลี่ยนระบบการศึกษาไทย
มาตรการฟื้นฟูความรู้ถดถอยในเด็ก (Learning Loss) โดย Starfish Education
Related Courses
ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)
หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหลักสูตรที่เน้นการวัดผลแบบสมรรถนะแทนการท่องจำเนื้อหาเพียงเพื่อนำมาสอบ หลักสูตรฐานสมรรถนะยังเป็ ...
Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Peer Learning คืออะไร 5 รูปแบบของกิจกรรม Peer to Peer Learning ตัวอย่างก ...
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...