งานเสวนา : โรงเรียนเปลี่ยนใหม่ “ปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19”
เครื่องมือหรือวิธีการปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19
ในส่วนของโรงเรียนบ้านปลาดาว เป้าหมายของโรงเรียน คือ มุ่งเน้นการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับเด็กทุกคน ให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และมุ่งเน้นให้เด็กเป็นเจ้าของการเรียนรู้ด้วยตนเอง เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อที่เด็กจะได้ความรู้และประสบการณ์ต่างๆ
การจัดการเรียนการสอนในภาวะวิกฤตของโรงเรียนบ้านปลาดาว โรงเรียนได้ทำการวิเคราะห์ “ความรู้ที่ถดถอยของนักเรียน” ผลการเรียนรู้ที่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำคือความท้าทายของโรงเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนในระยะสั้นและระยะยาว
โดยการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบเพื่อตอบโจทย์นักเรียนทุกคน เช่น ชุดกิจกรรม Learning Box, การกำหนดรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการออนไลน์ การใช้กล่องการเรียนรู้และชุมชนครู (Real-Time Communication Channel) และการใช้รูปแบบ Community Outreach (ครูรร.บ้านปลาดาว อาสาสมัคร -ครูหรือผู้ปกครอง นักเรียนรุ่นพี่) ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนจะใช้วิธีการทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ On-hand, On-demand และ Online ตลอดจนการสรุปและสะท้อนกลับ ทั้งนี้ โรงเรียนได้ทำการวิเคราะห์ Learning Losses ของนักเรียนโรงเรียนบ้านปลาดาว โดยการใช้ข้อสอบ NT ระดับชั้นป.4 – 5 ในปีที่เด็กทำ และข้อสอบ NT ในช่วง 3 ปี ทำการคัดเลือกข้อสอบวิชาละ 30 ข้ออีกหนึ่งชุดให้เด็กทำ พบว่า เด็กส่วนใหญ่เกิดปัญหาความรู้ที่ถดถอย เพราะฉะนั้น หน้าที่ของโรงเรียนคือการหาวิธีในการช่วยเหลือเด็กในการลดช่องว่างให้น้อยลงด้วยวิธีการใด และอย่างไร ซึ่งหนึ่งในวิธีที่โรงเรียนได้ทำ คือ การออกแบบ Learning Box เพื่อให้เด็กได้รับการศึกษาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้ว่าจะไม่เท่าเทียมกับการเรียน On-site ที่โรงเรียน โดยในการออกแบบ Learning Box จะประกอบไปด้วย Booklet ชุดเครื่องมือการเรียนรู้ที่ออกแบบเป็น 3 ส่วน คือ
1) กิจกรรมการอ่าน เขียนและคำนวณ หรือที่เรียกว่า 3R
2) พื้นที่นักสร้างสรรค์ที่เด็กสามารถนำเอาความรู้ กระบวนการที่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนนำไปใช้ที่บ้านได้
3) กิจกรรมทักษะชีวิต ที่ให้เด็กเลือกทำตามความสนใจพร้อมอุปกรณ์สำหรับการทำกิจกรรมต่างๆ และทำการส่งมอบ Starfish Learning Box ให้กับนักเรียนทุกคนที่บ้าน
โดยครูฝ่ายวิชาการทำหน้าที่ลงพื้นที่เชิงรุก ส่งผลให้เด็กได้รับความรู้อย่างเต็มที่และสามารถทำงานเกี่ยวกับพื้นที่สร้างสรรค์ (Makerspace) ด้วยตนเองที่บ้านได้ สำหรับเด็กบางคนที่ผู้ปกครองไม่สามารถช่วยเหลือได้จะมีครูลงพื้นที่บ่อยมากขึ้นในการให้ความช่วยเหลือ ตลอดจนการได้รับความช่วยเหลือจากผู้ปกครองอาสาในชุมชนเป็นครูอาสาในการช่วยเหลือเด็ก การมีรุ่นพี่ที่คอยดูแลน้องๆ ประจำชุมชน ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือค่อนข้างดีมาก
ในส่วนของการเรียนออนไลน์ โรงเรียนได้ทำการสำรวจผู้ปกครองถึงความพร้อมในการเรียนออนไลน์ พบว่า ผู้ปกครองร้อยละ 80 ไม่มีความพร้อมในการเรียนออนไลน์ เนื่องจาก ไม่มีอุปกรณ์รองรับในการเรียนออนไลน์ และไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต โรงเรียนบ้านปลาดาวจึงได้ดำเนินการ โดยการให้นักเรียนยืมอุปกรณ์ (IPad) สำหรับการเรียนรู้ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายในส่วนของอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากเงินอุดหนุนรัฐบาลและมูลนิธิสตาร์ฟิช คันทรีโฮม ทำให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนที่ครอบคลุมให้กับเด็กได้
ในด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียน จึงทำการปรับลดเวลาในการเรียนการสอนแบบออนไลน์จาก 50 นาที เหลือ 40 นาที โดย 5 นาทีแรกจะเป็นรูปแบบการเริ่มต้นเข้าสู่บทเรียน ทบทวนความรู้ และเข้าสู่ช่วงสอน 15 นาที ในส่วนที่เหลือจะเป็นช่วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 15 นาที และ 5 นาทีสุดท้ายครูจะสะท้อนผลโดยการเล่นเกมตอบคำถามทบทวนความรู้ และหากเด็กต้องการข้อมูลการเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ด้วยตนเองที่เพจ Starfish Labz ที่ได้รวบรวมข้อมูลการเรียนรู้ต่างๆ ในการเป็นตัวอย่าง แนวทางการเรียนรู้สำหรับเด็กและผู้ปกครอง
วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านปลาดาวใช้วิธีการวัดและประเมินผลค่อนข้างหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตพฤติกรรม การประเมินตนเอง การประเมินโดยเพื่อน การประเมินการปฏิบัติ การประเมินตามสภาพจริง การใช้คำถาม การสนทนา และแบบทดสอบ ทั้งนี้ โรงเรียนได้ทำการประเมินการเรียนรู้ของเด็ก โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มสีแดง เป็นกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองที่ต้องการความช่วยเหลือจากโรงเรียน
กลุ่มสีเหลือง เป็นกลุ่มที่สามารถเรียนรู้ได้แต่ต้องมีคนคอยแนะนำ ผู้ปกครองสามารถช่วยเด็กได้ กลุ่มสีเขียว เป็นกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองสามารถเรียนรู้เองได้
ซึ่งในการทำงานครูจะทำการประเมิน พูดคุย PLC ร่วมกันในการหาแนวทางหรือ วิธีการในการให้ความช่วยเหลือเด็กกลุ่มสีแดงและสีเหลืองให้สามารถเรียนรู้ได้ และหน้าที่ของโรงเรียนจะทำการส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กได้ก้าวพัฒนาขึ้นไปมากกว่าเดิม นอกจากนั้น โรงเรียนยังดูแลเรื่องสุขภาวะของเด็ก และความปลอดภัยของครู โดยโรงเรียนได้จัดให้นักเรียนได้พบกับนักจิตวิทยาเดือนละ 1 ครั้ง ในการช่วยเหลือนักเรียนในด้านความเครียด ในส่วนของครูที่ลงพื้นที่ ทางโรงเรียนได้จัดหาอุปกรณ์ตรวจโควิด โดยความร่วมมือกับ รพสต. ทำการ SWAB ทุก 14 วัน เพื่อจะได้หาวิธีหรือแนวทางในการให้ความช่วยเหลือเด็กและครูได้อย่างทันท่วงที
นางมุกดา คำวินิจ
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปลาดาว จ.เชียงใหม่
Related Courses
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...