3 มายเซ็ตพ่อแม่ยุคใหม่สื่อสารให้ได้ใจวัยพรีทีน

Starfish Academy
Starfish Academy 2466 views • 2 ปีที่แล้ว
3 มายเซ็ตพ่อแม่ยุคใหม่สื่อสารให้ได้ใจวัยพรีทีน

เมื่อถึงจุดหนึ่ง ลูกอาจเริ่มแยกตัวจากพ่อแม่ อยากมีชีวิตของตัวเอง เวลาลูกตอบคำถามเมื่อเราถามว่า “วันนี้ที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง” ลูกเพียงพยักหน้า หรือ ส่งเสียงพึมพำในลำคอ แค่นั้นก็ยังดี เพราะนั่นหมายความว่าคุณและลูกมีสายสัมพันธ์ที่ดีพอสมควร

ซึ่งสายสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกวัยรุ่นยอมพูดคุยกับพ่อแม่ถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตของพวกเขานั้น จำเป็นต้องเกิดขึ้นหลายปีก่อนเข้าสู่วัยรุ่น ว่ากันว่าทักษะการสื่อสารของเด็กนั้น เริ่มตั้งแต่แบเบาะ เมื่อทารกร้องไห้ พวกเขากำลังสื่อสารว่าเขาต้องการการปกป้องดูแล ซึ่งหากพ่อแม่ตอบสนองทันที ก็ช่วยทำให้ทารกมั่นใจว่า ชีวิตเขามั่นคงปลอดภัย มีคนที่พึ่งพิงได้

พ่อแม่จึงจำเป็นต้องมีมายเซ็ตที่เข้าใจเรื่องการสื่อสารกับลูกแต่ละวัยเป็นอย่างดี เพราะการสื่อสารที่ดีนั้น ไม่ได้หมายถึงการ “สั่ง” และ “สอน” เท่านั้น แต่ยังรวมถึง การ “ฟัง” อย่างแท้จริงด้วย ซึ่งการฟังที่แท้จริง พ่อแม่จะได้ยินสิ่งที่ลูกอยากสื่อสาร แม้ว่าลูกจะไม่ได้เอ่ยเป็นคำพูดออกมาก็ตาม 

ความสำคัญของการสื่อสารเพื่อสานสัมพันธ์กับลูก

งานวิจัยเรื่อง The Role of communication in the parent-child interaction ระบุว่า ทักษะการสื่อสารที่ดีระหว่างพ่อแม่และลูก มีความสำคัญอย่างชัดเจนต่อการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีและการยอมรับตัวตนซึ่งกันและกัน 

ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังระบุว่า การสื่อสารที่ดี หมายถึง การเข้าใจ เคารพในสิ่งที่ลูกสื่อสารออกมา ให้ฟีดแบ็กในสิ่งที่พ่อแม่คิดและรู้สึกต่อสิ่งที่ลูกสื่อสาร ด้วยการใช้คำศัพท์ที่เหมาะสมกับวัยของลูก ใช้น้ำเสียงสงบและภาษากายที่เหมาะสมกับสิ่งที่กำลังสื่อสาร 

พัฒนาการที่สมบูรณ์แบบของเด็กๆ เป็นผลมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ค้นพบตัวเอง ค้นพบจุดยืนในสังคม ออกไปสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นใจ ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องเกิดจากมายเซ็ตที่ดีของพ่อแม่ที่มีต่อการสื่อสารกับลูกแต่ละวัย 

สื่อสารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

คุยกับลูกปฐมวัยต้องเจาะจง

เคยไหมถามอะไรลูกก็บอกแต่ว่า “ไม่รู้” หรือ “จำไม่ได้แล้ว” ที่เป็นเช่นนี้ เพราะถึงแม้ลูกวัยนี้จะดูเหมือนเข้าใจสิ่งต่างๆ ดีแล้ว แต่พัฒนาการทางภาษาก็ยังพัฒนาไม่เต็มที่ แม้ว่าอยากจะ

เล่าเรื่องราวต่างๆ ให้พ่อแม่ฟังมากเพียงใด แต่พวกเขาก็ไม่รู้ว่าจะเล่าอย่างไรดี โดยเฉพาะเด็กๆ ที่พ่อแม่ไม่ค่อยได้พูดคุยเล่นด้วย ไม่ค่อยได้ฟังนิทาน จึงไม่มีคลังคำศัพท์มากพอที่จะเลือกใช้เพื่อสื่อสารความต้องการได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการถามคำถามปลายเปิดอย่าง “วันนี้เป็นยังไงบ้าง” ซึ่งเด็กๆ อาจนึกไม่ออกว่าจะตอบอย่างไร แล้วลองเปลี่ยนเป็นคำถามที่เจาะจงมากขึ้น เช่น “วันนี้ที่โรงเรียนลูกชอบตอนเล่นในสนามกับเพื่อน หรือตอนที่ทำกิจกรรมร้องเพลงมากกว่ากันนะ” จะช่วยให้เด็กๆ ตอบคำถามได้ง่ายขึ้น หรือคำถามง่ายๆ ที่มีคำตอบเจาะจงเช่น “วันนี้เล่นกับใคร” หรือ “วันนี้ครูให้ร้องเพลงอะไรบ้าง” ก็ได้ผลเช่นกัน

หากต้องการรู้เรื่องอารมณ์ความรู้สึกของลูก ซึ่งอาจยากที่เด็กๆ จะอธิบาย พ่อแม่ควรสังเกตพฤติกรรมและยกเอาพฤติกรรมของลูกมาถาม เช่น “เมื่อกี้ตอนแม่ไปรับ ลูกทำหน้าตลกๆ เพราะอะไรเหรอ” หรือ “วันนี้ไม่เห็นเพื่อนสนิทเดินมาด้วยกันเลย เขาไม่มาเรียนเหรอ” เป็นต้น

พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย

คุยกับลูก Pre-teen ต้องรับฟัง

การฟังลูก อาจดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย แต่ในฐานะพ่อแม่ เมื่อลูกเปิดใจเล่าเรื่องราวในชีวิตให้ฟัง เราก็มักอดไม่ได้ที่จะทำตัวเป็นไลฟ์โค้ช ให้คำแนะนำช่วยแก้ปัญหา ซึ่งเมื่อไรก็ตามที่พ่อแม่ด่วนให้คำแนะนำเร็วเกินไป ก็อาจทำให้ลูกปิดใจไม่เล่าอะไรให้ฟังอีกเลย

ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก เมื่อเราให้คำแนะนำ ในขณะเดียวกันเราก็กำลังตัดสินเรื่องราวจากมุมมองของเราเอง ซึ่งเด็กๆ หรือกระทั่งใครก็ตาม ย่อมไม่ชอบถูกตัดสิน

เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญเมื่อสื่อสารกับวัยพรีทีน คือ การเป็นผู้ฟังที่ดี ซึ่งการฟังในที่นี้ยังรวมถึง หมั่นสังเกตท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง และการแสดงออกของลูกด้วย เช่น หากลูกหลบสายตาทุกครั้งที่คุย หรือหันหน้าหนีไปเซ็ดน้ำตา พ่อแม่อาจบอกกับลูกว่า “แม่รักลูกนะ แม่เห็นจากท่าทางของลูก แม่คิดว่าลูกคงมีปัญหาแต่ยังไม่พร้อมจะบอกแม่ แต่ถ้าลูกพร้อมเมื่อไร แม่อยู่ตรงนี้เสมอ”

บางครั้งสิ่งที่เด็กๆ ต้องการ อาจไม่ใช่คำแนะนำ พ่อแม่ที่มีลูกเข้าสู่วัยพรีทีน ควรปรับเปลี่ยนมายเซ็ตที่ว่า พ่อแม่ต้องสอนหรือหาทางแก้ปัญหาให้ลูก เป็น พ่อแม่ที่พร้อมอยู่เคียงข้างและรับฟัง ก็จะทำให้ลูกเชื่อใจในตัวพ่อแม่มากขึ้น

เกร็ดความรู้และเคล็ดลับเพื่อพ่อแม่

คุยกับวัยรุ่นต้องให้เกียรติ 

วัยรุ่น มักคิดว่าตนเองโตพอที่จะรับมือกับสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองได้แล้ว การได้รับคำแนะนำ หรือสั่งสอนจากพ่อแม่ บางครั้งจึงทำให้พวกเขารู้สึกว่าพ่อแม่ไม่เชื่อใจพวกเขา หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งลูกวัยรุ่นก็อาจรู้สึกต่อต้านพ่อแม่ได้

การสื่อสารกับลูกวัยนี้นอกจากเป็นผู้ฟังที่ดีแล้ว จึงต้องให้เกียรติลูกในฐานะที่เป็นคนๆ หนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับพ่อแม่ ที่มีทัศนคติว่าตนเองเป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ต้องสั่งสอนลูก แต่การจะสื่อสารกับลูกวัยนี้ให้สำเร็จ พ่อแม่อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนมายเซ็ตว่าลูกโตขึ้นแล้ว แม้อาจจะมีความคิดหุนหันพลันแล่นไปบ้าง แต่ก็ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ลองผิดลองถูกบ้าง ในเรื่องที่เห็นว่าไม่หนักหนาสาหัสเกินไป

นอกจากนี้ การช่วยวัยรุ่นระบุอารมณ์ความรู้สึก ก็อาจลดช่องว่างในการสื่อสารได้ เพราะฮอร์โมนวัยรุ่นมักทำให้พวกเขามีอารมณ์พลุ่งพล่าน หากพ่อแม่สังเกตเห็น อาจช่วยรู้ให้รู้ทันอารมณ์ของตนเอง เช่น “ลูกคงโกรธแน่ที่เพื่อนผิดนัด ถ้าอยากให้แม่ไปเป็นเพื่อนก็ได้นะ” หรือ แสดงความเข้าใจเมื่อลูกเผชิญสถานการณ์ลำบาก ด้วยการบอกว่า “โอโห้! เรื่องนี้คงตัดสินใจยากมากๆ เลย แม่เป็นกำลังใจให้นะ”  

การช่วยวัยรุ่นระบุอารมณ์ แม้ว่าพวกเขาอาจไม่ตอบสนอง แต่อย่างน้อย ก็ทำให้ลูกวัยรุ่นได้ฉุกคิด และหันกลับมาสำรวจตัวเองและทำให้เขาค้นพบทางออกของปัญหาได้ด้วยตัวเองในที่สุด

เมื่อพ่อแม่เปิดโอกาสให้วัยรุ่นแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เท่ากับว่าคุณให้เกียรติและเชื่อใจลูกในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งทำให้เด็กๆ มีความมั่นใจในตัวเอง  จนไม่มีนิสัยกล้าๆ กลัวๆ ที่จะเป็นตัวขัดขวางการเรียนรู้ของเขาได้ เมื่อลูกมีความมั่นคงทางจิตใจ ก็จะมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นสูง ไม่เผลอไปทำร้ายจิตใจใคร และสามาถสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เป็นที่รักของผู้คนรอบข้างได้นั่นเอง 

แหล่งอ้างอิง (Sources):

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

Technology Skills
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1849 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
1225 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การรู้จักสังคม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning - เทคนิคการสื่อสาร และดูแลลูก

เทคนิคการสื่อสาร และดูแลลูก เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครองในปัจจุบันที่ต้องทำความเข้าใจเพื่อนำไปใช้กับลูกหลานของตนเอง และเ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - เทคนิคการสื่อสาร และดูแลลูก
Starfish Academy

Micro Learning - เทคนิคการสื่อสาร และดูแลลูก

Starfish Academy
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.4-6

การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ดีจากภายในสู่ภายนอก ควรทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.4-6
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.4-6

Starfish Academy

Related Videos

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
43:36
Starfish Academy

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น

Starfish Academy
310 views • 1 ปีที่แล้ว
108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
Starfish Trend Talk | EP.1 | :  ครู VS พ่อแม่ แท็กทีมสื่อสารอย่างไร ? ดีต่อใจเด็ก
38:27
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.1 | : ครู VS พ่อแม่ แท็กทีมสื่อสารอย่างไร ? ดีต่อใจเด็ก

Starfish Academy
678 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.1 | : ครู VS พ่อแม่ แท็กทีมสื่อสารอย่างไร ? ดีต่อใจเด็ก
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
379 views • 3 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
34:03
Starfish Academy

เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน

Starfish Academy
34 views • 1 ปีที่แล้ว
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน