ก้าวไปด้วยกัน สู่สมุทรสาครโมเดล
การประชุมสานพลังความร่วมมือหน่วยงานด้านการศึกษา
“ก้าวไปด้วยกัน สู่สมุทรสาครโมเดล จังหวัดต้นแบบลดความเหลื่อมล้ำ ฟื้นฟูการเรียนรู้ เพื่อเด็กทุกคน”
แนวทางการรับมือของสถานศึกษาเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอยทั้งระบบ พร้อมทำความเข้าใจกระบวนการดำเนินโครงการวิจัยนำร่องในพื้นที่สมุทรสาคร
จากการที่มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ได้เข้าร่วมโครงการในฐานะของผู้ร่วมทำงานในบทบาทของโค้ช ในการจัดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในจังหวัดสมุทรสาคร โดย
สตาร์ฟิชฯ ได้มีพันธกิจในการทำงาน คือ ต้องการลดช่องว่างในการทำงานในเรื่องของการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับเด็กทุกคน และเนื่องด้วยสถานการณ์โควิดทำให้เกิดอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน แต่ในขณะเดียวกันถือว่าเป็นโอกาสในการหาวิธีการจัดการเรียนการสอนในโมเดลต่างๆ ซึ่งสมุทรสาครได้มีความพร้อมในการทำงานลักษณะ Area based เพื่อเป็นต้นแบบนวัตกรรมนอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังครอบคลุมถึงการบริหารจัดการสถานศึกษา และนวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาระดับจังหวัดในการลดช่องว่างในการเรียนรู้ และฟื้นฟูในการจัดการศึกษา ดังนี้
ที่มาและความสำคัญของโครงการ เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก และทางสตาร์ฟิชฯ ได้มีโรงเรียนในเครืออยู่ที่ จ.เชียงใหม่ เป็นโรงเรียนเอกชนประเภทศึกษาสงเคราะห์ เด็กที่มาเรียนไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วนใหญ่ครอบครัวจะอยู่ในกลุ่มเปราะบาง ดังนั้น เรื่องของ Learning Loss และความยากลำบากในการจัดการเรียนรู้ ทางสตาร์ฟิชฯ เรียนรู้ออกแบบจากประสบการณ์การทำงานจริง และเครือข่ายโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง TSQP ของ กสศ. ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน ทั้งภาคีองค์กรจาก กสศ. Unicef สตาร์ฟิช และ RIPED รวมถึงคณะกรรมการที่อยู่ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น ศึกษาธิการจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดในการเสนอแนะวิสัยทัศน์ แนวทางในการขับเคลื่อนและวิธีในการทำงาน
ดังนั้น ในการดำเนินงานสิ่งแรก คือ การจัดตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย ตัวแทนของศึกษานิเทศก์ ตัวแทนผู้อำนวยการโรงเรียน และโค้ชของสตาร์ฟิชในเรื่องของการเรียนรู้ที่ถดถอยหรือการฟื้นฟูการศึกษา ซึ่งถือได้ว่าเป็น Agenda ที่ต้องให้ความสำคัญ ทั้งนี้ ถ้าสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติจะมีวิธีการอย่างไรในการช่วยเหลือเด็กสำหรับการเรียนรู้ที่หายไป เพื่อป้องกันกรณีเด็กหลุดออกนอกระบบ ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น การไม่สามารถเรียนทางไกลได้ สภาพเศรษฐกิจของครอบครัว สิ่งที่เด็กต้องการที่จะเรียนรู้โรงเรียนไม่สามารถตอบโจทย์ได้ เรียนไม่ทัน เรียนไม่รู้เรื่อง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โครงการนี้เป็นโครงการที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของครู โดยเติมเต็มในเรื่องของปัจจัยพื้นฐาน เครื่องมือ วิธีการจัดการเรียนการสอนต่างๆ เพื่อให้ครูสามารถออกแบบและจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนได้
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมฟื้นฟูความรู้ถดถอยให้แก่นักเรียน
2) เพื่อสนับสนุนปัจจัยพื้นฐาน รวมถึงเครื่องมือที่จำเป็น
3) เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถของครูและโรงเรียน
4) เพื่อพัฒนาต้นแบบหรือโมเดลระดับจังหวัด
ทั้งนี้ การฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอยไม่ใช่แค่เฉพาะเรื่องเรียนไม่ทันหรือของวิชาการเพียงเท่านั้น แต่ต้องมองให้หลากหลายมิติและครอบคลุม ซึ่งองค์ประกอบในการวางมาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย ประกอบด้วย
1) การประเมินสภาพแวดล้อมทั้งระบบ (Landscape Assessment) จะพิจารณาตั้งแต่การเรียนรู้ที่ถดถอย ช่องว่างของการเรียนรู้ ข้อมูลครอบครัว ความต้องการพื้นฐาน เทคโนโลยี การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
2) การวางแผนของโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Planning) มีความสำคัญในการขับเคลื่อนในโรงเรียนและชุมชน ไม่ว่าจะเป็นคณะทำงานของโรงเรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ระยะเวลา ความปลอดภัย ทรัพยากร งบประมาณ
3) การสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครู (PD Support for Teacher) เป็นการสนับสนุน ส่งเสริมด้านเครื่องมือ และพลังให้แก่ครู เพื่อที่ครูจะได้เห็นช่องว่างระหว่างการเรียนรู้ สามารถบูรณาการในหลักสูตร เครื่องมือครู การเรียนทางไกล ตลอดจนการสนับสนุนด้านสุขภาวะของครูให้มีความพร้อมในการขับเคลื่อนได้
4) การช่วยเหลือนักเรียน (Intervention and Support for Students) การเรียนเฉพาะบุคคล/กลุ่ม การเรียนเสริม อุปกรณ์การเรียน การสนับสนุนด้านสุขภาวะ การช่วยเหลือทางครอบครัว
5) การติดตาม ปรับปรุง และผลสะท้อนกลับ (Monitoring and Invention Redesign) การพัฒนา ผลตอบรับ การประเมิน
กรอบแนวคิดการวิจัย กรอบแนวคิดการดำเนินงาน ประกอบด้วย ครูที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย สิ่งที่จะดำเนินการคือ กิจกรรมพัฒนาวิชาชีพให้กับครูมีหลากหลายรูปแบบทั้งบทเรียนออนไลน์ การอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ การให้คำปรึกษา ตัวอย่างกิจกรรม ใบความรู้/ใบงาน และ Micro Learning สำหรับครู เพื่อเป็นการมุ่งเน้นการพัฒนาด้านเนื้อหา ศาสตร์การสอน และเทคโนโลยี หลังจากนั้น ครูจะเป็นผู้ออกแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นอยู่ 3 ประเด็น คือ การพัฒนาทักษะการอ่าน/การเขียน การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ และการพัฒนาทักษะสุขภาวะกาย/จิต โดยออกแบบในลักษณะการจัดการเรียนการสอนทางไกล หรือเรียนรู้ผ่านกล่องการเรียนรู้ Learning Box การจัดการเรียนการสอนรายบุคคล (on-site) ทั้งผู้เรียนปกติและผู้เรียนที่มีความต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ซึ่งทาง
สตาร์ฟิชได้จัดทำ Micro Learning สำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ และ Micro Learning สำหรับผู้ปกครองและครูอาสาในชุมชนที่เป็นผู้สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กอีกด้วย
กรอบแนวคิดในการลดภาวะความรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน จะถูกแบ่งออกเป็นตามวิธีการหรือหัวข้อ ในการพัฒนาทักษะต่างตามแต่ละช่วงชั้น การจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ ที่สามารถนำมาจัดการเรียนรู้ได้
ขอบเขตการดำเนินงาน จะเป็นในลักษณะการจัดทำ Focus Group โรงเรียนประเมินภาวะการณ์เรียนรู้ถดถอยที่เกิดขึ้น สำรวจความพร้อมและความต้องการของครูและนักเรียน พัฒนานวัตกรรมและออกแบบการเรียนรู้เพื่อลดภาวะความรู้ถดถอย และการทำ PLC เพื่อพัฒนานวัตกรรม ทั้งนี้ รูปแบบการเรียนรู้อาจจะมีทั้งแบบ Online Learning Box ในลักษณะ On-hand และการใช้ครูในชุมชน หรือผู้ปกครองในการให้ความช่วยเหลือ (Community Teacher)
ผลลัพธ์ของโครงการ
1) ระดับจังหวัด คือ เกิดโมเดลระดับจังหวัดในการจัดการเรียนการสอน เพื่อลดภาวะความรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในภาวะวิกฤติ
2) ด้านโรงเรียน มีเครื่องมือและวิธีในการประเมินภาวะการณ์เรียนรู้ถดถอย มีการสำรวจความพร้อมและความต้องการของครูและผู้เรียน มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้เมื่ออยู่ในภาวะวิกฤติเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในด้านต่างๆ
3) ด้านครูกลุ่มเป้าหมาย สามารถวางแผน ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะความรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในภาวะวิกฤติได้
4) ด้านผู้เรียน ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการฟื้นฟูความถดถอยในการเรียนรู้ด้านการอ่าน เขียน คณิตศาสตร์ และทักษะทางด้านอารมณ์และสังคม
แผนการดำเนินงาน ได้มีการกำหนด Timeline ในการดำเนินการ Focus Group กำหนดวัตถุประสงค์เชิงสมรรถนะเพื่อเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ การจัดทำกรอบเนื้อหาในการทำบทเรียนออนไลน์ การทำกรอบเนื้อหา Micro Learning ทั้งนี้ ในการดำเนินการ Focus Group เพื่อต้องการทราบว่าโรงเรียนต้องการความช่วยเหลือ หรือต้องการพัฒนาในเรื่องใด การทำ workshop การพัฒนาครู การพัฒนาต้นแบบ และจัดทำแผนฟื้นฟู Online Learning
จะเห็นได้ว่า ในการดำเนินโครงการมีแผนงานที่ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งทางสตาร์ฟิชที่เป็นทั้งโค้ช ผู้อำนวยความสะดวก อีกทั้งเป้าหมายไม่ใช่แค่สื่อ หรือการสอน แต่ยังรวมไปถึงการสนับสนุนครู การลดความเหลื่อมล้ำ และการลดความถดถอยด้านการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรม เป็นเป้าหมายสำหรับโครงการนี้ให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพอีกด้วย
ดร. นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร
ประธานมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม
บทความใกล้เคียง
ผู้บริหารกับบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน วPA ในโรงเรียน
กิจกรรม TSQP Kick Off, Leader Workshop และ Teacher Workshop โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564
การสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง TSQP Kick off ครั้งที่ 2
Related Courses
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม
การทดสอบเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ ว่าเรามีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากน้อยแค่ไหน และการสอบนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่าเบื่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)