PLC Leader ครั้งที่ 2 (ห้องที่ 2) การนิเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน
สำหรับการพูดคุยในหัวข้อ “การนิเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน” ในรูปแบบบรรยากาศของการพูดคุย แลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์จากผู้อำนวยการ ศึกษานิเทศก์และครู ซึ่งจากการดูคลิปวิดีโอโรงเรียนชัยชุมพลวิทยา พบแนวทางการประเมินหรือผลที่ได้ว่าการประเมินอย่างไร
ผอ.สีดา – จากการดูคลิปวิดีโอทำให้ได้แนวทาง และเป็นประโยชน์อย่างมากกับโรงเรียน
ศน.ขนิษฐา – จากการดูคลิปวิดีโอ ถือว่าเป็นรูปแบบของการนำเสนอที่ครบวงจร เพราะว่ามีการตรวจสอบ ทบทวน ชี้แนะ ชี้นำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการต่างๆ ตามสถานการณ์ที่สามารถนำมาใช้ได้และเป็นประโยชน์อย่างมากกับโรงเรียน
ผอ.เกษม – ในส่วนที่ได้รับฟังจากคลิปวิดีโอ ขอชื่นชมโรงเรียนชัยชุมพลวิทยาที่ได้ดำเนินกิจกรรมในส่วนของการนิเทศติดตาม มีกระบวนการ PDCA ที่เป็นมาตรฐานสากลที่เป็นส่วนหนึ่งในการนิเทศติดตาม มีการสะท้อนผลการนิเทศแก่ครูผู้ได้รับการนิเทศได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะได้นำไปเป็นรูปแบบและแนวทางของโรงเรียนบ้านหนองเงือกต่อไป
สรุปได้ว่า ในส่วนของโรงเรียนชัยชุมพลวิทยาที่ได้นำมาเสนอเป็น Case study เพราะว่าเป็นโรงเรียนต้นแบบในการดำเนินการนิเทศ เพื่อสร้างความเข็มแข็งของสถานศึกษา รูปแบบการประเมินจะทำในรูปแบบตัวเอง (CP Model) ที่เน้นการนิเทศแบบต่อเนื่อง (Connection) มีการติดต่อสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครู ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา ส่วน P ก็คือ Problem Based การนิเทศโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มุ่งแก้ปัญหาในส่วนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถานศึกษา และใช้กระบวนการในส่วนของการนิเทศแบบ PLC โดยมีการติดตามและประเมินผลในวงจรคุณภาพ (PDCA)
สำหรับประเด็นต่อมา ปัจจัยใดที่ส่งเสริมการนิเทศ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน
ศน.บรรเลง – การนิเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษา สู่ความยั่งยืน กระบวนการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สำคัญมีอยู่ 3 กระบวนการ คือ
1) กระบวนการบริหารจัดการศึกษา
2) กระบวนการนิเทศการศึกษา
3) กระบวนการเรียนการสอน ในเบื้องต้นกระบวนการบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษา จะต้องมีการนิเทศภายใน
จากนั้นศึกษานิเทศก์จะเข้าไปนิเทศโดยใช้กระบวนการ PDCA วางแผนร่วมกัน ลงมือทำร่วมกัน มีการตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขร่วมกับโรงเรียน ที่สำคัญคือ การนิเทศจะต้องสู่ห้องเรียนไปที่ครูผู้สอน ถึงขั้นสังเกตการสอนและดูผลที่ผู้เรียน คือ คุณภาพผู้เรียนต้องมีคุณภาพตามหลักสูตร “เก่ง ดี มีสุข”
ครูพรรณิการ์ – การนิเทศถือเป็นการแนะนำอย่างหนึ่ง แต่ละสถานศึกษามีจุดเด่นและจุดที่ต้องแก้ไขในแต่ละส่วนที่แตกต่างกัน ในส่วนของการจัดการเรียนการสอน การนิเทศและทำ PLC ร่วมกัน ถือว่าเป็นการสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน
ครูมินตรา – สำหรับความเข้มแข็งของการนิเทศในโรงเรียนต้องทำร่วมกันทั้งผู้อำนวยการหรือเพื่อนครู เพื่อมองในจุดที่ครูผู้สอนอาจจะมองไม่เห็น วิเคราะห์ปัญหา และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา เป็นการเพิ่มจุดแข็งสำหรับครูที่เข้ารับการนิเทศ
ศน.ขนิษฐา - ขอกล่าวถึงปัจจัยในภาพรวม ถ้าหากมีการวางแผนที่ดี ไม่ว่าจะเป็นท่านผู้อำนวยการมีการวางแผนที่จะดำเนินการนิเทศ กำหนดหัวข้อต่างๆ และมีการอธิบาย ชี้แนะครูในโรงเรียนให้ทราบว่ามีความต้องการนิเทศในส่วนใด มีการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันก็จะทำให้การร่วมมือที่จะพัฒนาโรงเรียนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปประเด็นจาก Case Study ที่ได้ชมคลิปวิดีโอโรงเรียนชัยชุมพลวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบในส่วนของการสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน หลักที่ใช้ คือ เน้นการนิเทศอย่างต่อเนื่อง และสื่อสารอย่างเป็นกัลยาณมิตร เน้นการใช้ปัญหาเป็นฐานในการมุ่งเน้นการนิเทศตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลัก โดยใช้รูปแบบกระบวนการ PLC ในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และระบบการติดตามประเมินผล โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA มีการกำหนดหัวข้อนิเทศและกิจกรรมนิเทศที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการ
ในส่วนของประเด็นส่งเสริมการนิเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน สรุปในภาพรวม มีปัจจัย ดังนี้
1) บุคลากรทุกระดับที่เป็นผู้นำทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ รวมทั้งครูและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
2) ประเด็นของการทำงาน การทำงานเป็นทีม มีการบูรณาการทุกด้านที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการดำเนินการทุกภาคส่วน
3) กระบวนการและรูปแบบการนิเทศ รูปแบบการนิเทศที่หลากหลาย เช่น การนิเทศเพื่อป้องกัน การนิเทศเพื่อแก้ไข การนิเทศเพื่อก่อ หรือนิเทศเพื่อสร้างสรรค์ ซึ่งกระบวนการและรูปแบบต้องมีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และมีการดำเนินงานอย่างจริงจัง
4) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ในส่วนของผู้อำนวยการ ด้านแนวคิดหรือหลักในการนิเทศ 4 หัวใจหลักในการนิเทศสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษาสู่ความยั่งยืน คือ
4.1) ความจริงใจ เป็นการแสดงวัตถุประสงค์หรือการสร้างความตระหนักของการนิเทศ หรือที่เรียกว่า นิเทศอย่างกัลยาณมิตร ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม
4.2) ร่วมใจ การเข้าไปมีส่วนในการร่วมคิด วางแผน การนิเทศ และร่วมปฏิบัติในการแก้ไข
4.3) ตั้งใจ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ดำเนินการให้แล้วเสร็จ
4.4) ขวัญและกำลังใจ การสร้างแรงจูงใจ แรงกระตุ้นให้ครูเกิดการพัฒนาตามที่ต้องการ หรือตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และการชมเชย เมื่อครูได้รับการพัฒนาตามที่ต้องการ ตลอดจนการเผยแพร่สู่สาธารณะชน
Related Courses
การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ
การติดตามเพื่อพัฒนา ประเมินความก้าวหน้า และสะท้อนผลที่เกิดขึ้นรวมกัน เป็นการกำหนดวิธีในการติดตามผลจากการจัดกิจกรรมการ ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน
เครื่องมือครูในการประเมินผู้เรียนประกอบไปด้วย แอปพลิเคชัน 4 แอปพลิเคชัน คือ Kahoot Plicker , Quizzes , และ Cla ...
ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว
เรียนรู้ไอเดียการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย ฉบับโรงเรียนบ้านปลาดาว ทำความเข้าใจลักษณะห้ ...