กิจกรรม PLC Teacher (ครั้งที่ 2) โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง
กิจกรรม PLC Leader (ครั้งที่ 2) จัดขึ้นภายใต้โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่อง ปี 2564) โดยมีเป้าหมายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ “การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ (Design Thinking)” ซึ่งจะเป็นแนวทางให้กับคุณครูนำไปปรับใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน รวมถึงออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ทั้งนี้ มีแขกรับเชิญที่จะมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ 2 ท่าน ได้แก่ (1) คุณครูวิรยา กุลนาม โรงเรียน บ้านโคก จังหวัดสมุทรสาคร และ (2) คุณครูพนิดา ฤทธิโชค โรงเรียนวัดหนองบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินรายการโดย คุณครูกนกวรรณ แหวนเพ็ชร์ โรงเรียนบ้านปลาดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีประเด็นสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้
ประเด็นที่ 1 : แลกเปลี่ยนสิ่งที่คุณครูนึกถึงเป็นอย่างแรกในการจัดการเรียนรู้หรือจัดทำแผนการสอน
คุณครูวิรยา กุลนาม (โรงเรียนบ้านโคก จังหวัดสมุทรสาคร) :
- หลักสูตร วิเคราะห์ตัวชี้วัด จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผน และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
คุณครูพนิดา ฤทธิโชค (โรงเรียนวัดหนองบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) :
- โครงสร้างหลักสูตร วัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เด็กๆ ได้เรียนรู้
- กิจกรรมที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
คุณครูผู้เข้าร่วม :
- สาระการเรียนรู้
- มาตรฐานตัวชี้วัด
- ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน
- หลักสูตรการเรียนรู้
- การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- ความต้องเองการของผู้เรียน
ประเด็นที่ 2 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking)
โดย คุณครูกนกวรรณ แหวนเพ็ชร์ (โรงเรียนบ้านปลาดาว จังหวัดเชียงใหม่)
กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) เป็นกระบวนการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด ตรงกับโจทย์ปัญหาที่ต้องแก้ รวมถึงเป็นการพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ เพื่อนำ
มาใช้ในการแก้ไขปัญหา ค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ โดยขั้นตอนหลักๆ ของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) จะมี 5 ขั้นตอน ได้แก่
- เข้าใจปัญหา (Empathize)
- กำหนดปัญหา (Define)
- การระดมความคิด (Ideate)
- การสร้างต้นแบบ/ทดลองทำ (Prototype)
- ทดสอบประเมินผล (Test)
ทั้งนี้ จากกระบวนการคิดเชิงออกแบบดังกล่าว ทางสตาร์ฟิชฯ ได้นำมาพัฒนาเป็นกระบวนการ STEAM Design Process ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนฝึกแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล และได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
- ตั้งคำถาม (Ask)
- จินตนาการ (Imagine)
- วางแผน (Plan)
- สร้างสรรค์ผลงาน (Create)
- สะท้อนคิดและปรับแก้ไขใหม่ (Reflect & Redesign)
ประเด็นที่ 3 แลกเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนโดยนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบมาใช้
ตัวแทนกลุ่มที่ 1
คำถามที่ 1 : ในช่วงเทศกาลลอยกระทง เราพบปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ?
- ปัญหาขยะที่เกิดขึ้นจากการลอยกระทง
คำถามที่ 2 : จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นครูจะนำไปต่อยอดในการจัดการเรียนรู้เชิงออกแบบได้อย่างไร ?
- ออกแบบให้ผู้เรียนได้คิดถึงการทำกระทงที่รักษ์สิ่งแวดล้อม ว่าใช้วัสดุอะไรทำได้บ้าง และออกแบบให้ผู้เรียนทำกระทงสำหรับการลอยกระทงแบบออนไลน์ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขยะจากการลอยกระทง
คำถามที่ 3 : สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับจากการทำกิจกรรมนี้มีอะไรบ้าง ?
- ความรู้เกี่ยวกับวัสดุที่ทำกระทงที่สามารถย่อยสลายได้
- ความรู้จากการบูรณาการวิชาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์จะเป็นเรื่องการลอย-การจม , สังคมศึกษาจะเป็นเรื่องของศาสนาและวันสำคัญ
- ความรู้เกี่ยวกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การลอยกระทงออนไลน์
- คุณลักษณะที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เช่น การตระหนักถึงการลอยกระทงว่าลอยไปเพื่ออะไร และถ้าไม่ลอยจะผิดหรือไม่
ตัวแทนกลุ่มที่ 2
คำถามที่ 1 : ในช่วงเทศกาลลอยกระทง เราพบปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ?
- นักเรียนหรือผู้ปกครองใช้กระทงที่ไม่ได้ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย
คำถามที่ 2 : จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นครูจะนำไปต่อยอดในการจัดการเรียนรู้เชิงออกแบบได้อย่างไร ?
- นำกระบวนการ STEAM Design Process มาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ในเรื่องของการทำกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและหาได้จากท้องถิ่น
คำถามที่ 3 : สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับจากการทำกิจกรรมนี้มีอะไรบ้าง ?
- สมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการคิดขั้นสูง ผู้เรียนสามารถใช้จินตนาการของตนเองได้
ตัวแทนกลุ่มที่ 3
คำถามที่ 1 : ในช่วงเทศกาลลอยกระทง เราพบปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ?
- ขยะจากวัสดุทำกระทง
คำถามที่ 2 : จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นครูจะนำไปต่อยอดในการจัดการเรียนรู้เชิงออกแบบได้อย่างไร ?
- ใช้วิธีการตั้งคำถามกับผู้เรียน เป็นคำถามที่เข้าใจง่ายและทำให้ผู้เรียนอยากคิดตาม เช่น เราจะทำกระทงจากอะไรได้บ้าง เพื่อให้ไม่ให้เป็นการสร้างขยะในแม่น้ำ ตัวอย่างเช่น ทำกระทงจากขนมปัง เพราะสามารถกลายเป็นอาหารปลาได้ หรือการลอยกระทงออนไลน์ เป็นต้น
คำถามที่ 3 : สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับจากการทำกิจกรรมนี้มีอะไรบ้าง ?
ด้าน K ความรู้
- วิธีการทำกระทง
- สารพิษที่เกิดจากขยะ
- การออกแบบกระทงและเลือกวัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติได้
- การเลือกใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้
- กระบวนการเลือกวัสดุที่ไม่เป็นสารพิษตกค้าง
- การสอนเพื่อนๆ ทำกระทง
- ปัญหาที่ทำให้เกิดมลภาวะ
ด้าน P ทักษะและการปฎิบัติ
- ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบชิ้นงาน
- การได้ลงมือปฎิบัติจริง
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการแก้ปัญหา การรักษ์สิ่งแวดล้อม
- กล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่แตกต่าง
- การสืบค้นข้อมูล
- การวางแผนการทำชิ้นงาน
- การประเมินผล
ด้าน A คุณลักษณะ
- นักเรียยนสามารถทำงานร่วมกันได้
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีไทย
- นักเรียนมีความตระหนักเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
- นักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์น้ำ
ประเด็นที่ 4 สรุปกิจกรรม PLC Teacher (ครั้งที่ 2)
โดย คุณครูกนกวรรณ แหวนเพ็ชร์ (โรงเรียนบ้านปลาดาว จังหวัดเชียงใหม่)
กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะในด้านต่างๆ ได้ ซึ่งคุณครูสามารถนำหลักการและวิธีการต่างๆ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนของตนเองได้
บทความใกล้เคียง
รวม 5 สื่อการสอนปฐมวัยจาก Starfish ยอดฮิต ใช้งานฟรี!
การสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง TSQP Kick off ครั้งที่ 2
กิจกรรม TSQP Kick Off, Leader Workshop และ Teacher Workshop โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564
Related Courses
Micro Learning การเรียนรู้แบบพอดีคำ
ฉีกกฏการเรียนการสอนแบบเดิมด้วยเทรนด์การเรียนรู้แนวใหม่แบบสั้น ง่าย ได้ความรู้ กับเทคนิคการสอนแบบพอดีคำ เพื่อลดภาระและ ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...