หากจะพูดเปรียบเทียบการที่ลูกใช้เวลาอยู่หน้าจอมากขึ้นกว่าที่เคย ซึ่งเป็นผลจากการต้องเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด ว่าเป็นเสมือนดาบสองคม คงไม่ผิดนัก เมื่อลูกมีเวลาและโอกาสมากขึ้นกับการได้ใช้เวลาหน้าจอ หรือมีอิสระกับการอยู่กับหน้าจอมากเกินไป เพราะพ่อแม่ไม่มีการจัดระเบียบในเรื่องการเรียนและการเล่น ส่งผลให้จากการเรียนออนไลน์ ก็อาจกลายเป็นการเล่นเกมออนไลน์ ได้ทุกเมื่อ
เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็ก เป็นวัยที่อาจจัดการกับความต้องการของตัวเองได้ไม่ดีพอ เมื่อมีสิ่งยั่วยุอยู่รอบตัว เช่น วีดีโอเกมมากระตุ้นแล้วสมาธิในการเรียนก็อาจกระเจิดกระเจิงได้ทุกเมื่อ ถ้าสมาธิไปจดจ่ออยู่แต่กับเกมส์ ดังนั้นพ่อแม่จึงจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในการจัดระเบียบ การใช้งานหน้าจอของลูก โดยเฉพาะในช่วงนี้ ที่เด็กๆ วัยเรียนมีเวลาหน้าจอมากยิ่งขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียทั้งระยะสั้น หรือระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ในภายหลัง
ผลเสียของการติดเกมส์
การเสพติดวิดีโอเกมก็คล้ายกับการเสพติดอื่นๆ โดยเฉพาะในแง่ของระยะเวลาที่ใช้เล่น ความหมกมุ่นอย่างแรงกล้า และรูปแบบของปัญหาต่างๆ ทางสังคมที่เด็กที่ติดเกมต้องเผชิญ เช่นเดียวกับการเสพติดอื่นๆ เด็กติดเกมจะหมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกม ทำให้เกิดปัญหาภายในครอบครัว และด้านอื่นๆ ของชีวิต โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการเรียน และความรับผิดชอบต่อตัวเอง
ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยต่างมีความกังวลเกี่ยวกับเนื้อหาของเกมที่เด็กๆ เปิดรับ โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีความรุนแรง หรือเกี่ยวกับเรื่องเพศ แม้จะมีการระบุอายุที่เหมาะสมในแต่ละเกม แต่ก็เช่นเดียวกับภาพยนตร์ หรือ รายการทีวี ที่เด็กๆ จำนวนมาก สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ไม่ยากตั้งแต่อายุยังน้อย ที่น่าเป็นห่วง คือ เกมที่มีเนื้อหารุนแรง เกี่ยวกับเรื่องเพศ หรือมีความสมจริงสูง (รวมถึงเกมเสมือนจริง) ที่อาจส่งผลกระทบทางอารมณ์ และความรู้สึกต่อเด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ และนอกจากการเสพติดแล้ว ยังพบผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อเด็ก ได้แก่
1. มีความคิดก้าวร้าว และพฤติกรรมก้าวร้าวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี
2. เพิ่มความเสี่ยงของอาการชักที่เกิดจากแสง ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกของแขนขาส่วนบน และอัตราการเผาผลาญ
3. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีปัญหา การวิจัยกับผู้ที่ติดวิดีโอเกมแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีสุขภาพจิต และความสามารถในการรู้และทำความเข้าใจที่แย่ลง รวมถึงการควบคุมแรงกระตุ้นที่แย่ลง และอาการเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมาธิสั้นได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ติดวิดีโอเกม
4. มีปัญหาทางอารมณ์เพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น รู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคมมากขึ้น
วิธีป้องกันปัญหาลูกติดเกม
หากต้องการควบคุมระยะเวลาในการเล่นเกม ให้ลองใช้เคล็ดลับเหล่านี้
1. กำหนดเวลา ในการเล่นเกมของลูกในระหว่างวัน
2. เก็บโทรศัพท์ และอุปกรณ์อื่นๆออกจากห้องนอน เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเล่นเกมตอนกลางคืน
3. ให้ลูกได้ทำกิจกรรมอื่นๆ ทุกวัน เช่น การออกกำลังกาย สิ่งนี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการนั่ง และเล่นเป็นเวลานาน
4. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าบุตรหลานของคุณเล่นเกมที่จัดประเภทตามอายุเท่านั้น
นอกจากนี้ ในฐานะผู้ปกครอง คุณจำเป็นต้องดึงเด็กๆ ออกจากวิดีโอเกมเพื่อไม่ใ้ห้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในด้านต่างๆ อย่างไรก็ตามพ่อแม่ไม่จำเป็นต้องเด็ดขาดเกินไปถึงขั้นห้ามลูกไม่ให้เล่นเกมโดยเด็ดขาด แต่การหาวิธีให้ลูกๆ มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่พวกเขารู้สึกสนุกสนาน ก็เพียงพอแล้วที่จะช่วยให้เด็กๆให้หลุดพ้นจากการติดเกมได้ ตัวอย่างเช่น พาลูกๆ ไปขี่จักรยานในวันหยุด เป็นต้น ซึ่งการขี่จักรยานเป็นกิจกรรมที่ทำให้อะดรีนาลีนหลั่ง และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กๆ ที่เรียกได้ว่าเป็นเกมเมอร์ ถึงชอบกิจกรรมขี่จักรยานนี้ คำตอบคือ ก็เพราะว่ามันทำให้สมองของเด็กๆ ตอบสนองต่อโดปามีน หรือสารที่ทำให้มีความสุขความพอใจคล้ายกับการเล่นเกมและส่งเสริมให้เด็กๆ มีสุขภาพที่ดีได้ค่ะ
Related Courses
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...



วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล
ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อตาล่อใจ ทั้งโซเชียลมีเดีย การเรียน กิจกรรมต่าง ๆ และการใช้ชีวิตส่วนตัว การจัดการเวลาจึงเป็นทั ...



AI เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างไร
เมื่อเราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยี และ ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเรา ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องศึกษา เพื่อนำ AI หรือปัญ ...



เทคนิคและเครื่องมือสำหรับ Work From Home
Work from home หรือเรียกย่อๆ ว่า WFH คือ การทำงานที่บ้าน เป็นเทรนด์การทำงานยุคใหม่ที่ตามมากับเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒน ...



เทคนิคและเครื่องมือสำหรับ Work From Home
Related Videos


เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่


Starfish Trend Talk | EP.1 | : ครู VS พ่อแม่ แท็กทีมสื่อสารอย่างไร ? ดีต่อใจเด็ก


108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น

