ช่วยลูกเรียนออนไลน์อย่างไรให้มีความสุขกับ 5 ทริคง่าย ๆ จาก Starfish
แม้ว่าการเรียนออนไลน์นั้น จะมีข้อดีคือเราสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องตื่นแต่เช้าอาบน้ำแต่งตัวใส่เครื่องแบบนักเรียนเพื่อไปโรงเรียน เพียงแค่เปิดจอแท็ปเล็ตขึ้นมา ก็สามารถเข้าถึงห้องเรียนได้แล้ว แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดครั้งใหญ่อย่างโควิด-19 เด็กๆ หลายคนก็ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเรียนคอร์สออนไลน์ช่วงโควิดอย่างหนักหนาสาหัส แต่แม้เราจะไม่สามารถจัดการกับปัญหาโควิดได้โดยตรง แต่สิ่งที่ผู้ปกครองอย่างเราๆ สามารถทำได้ก็คือ การพยายามสังเกตข้อดี ข้อเสียของการเรียนออนไลน์ของลูก และพยายามนำแต่ละจุดมาเสนอให้ลูกลองปรับ หรือช่วยลูกปรับให้แต่ละชั่วโมงของการเรียนให้สนุกสนานและมีคุณค่ายิ่งขึ้น
ดังนั้น เพื่อจะช่วยให้สภาพการเรียนออนไลน์เป็นไปอย่างราบรื่นและเด็กๆ ได้ความรู้อย่างเต็มที่ที่สุด วันนี้ Starfish Labz เราจึงมีเคล็ดลับวิธีปฏิบัติตนเมื่อเรียนออนไลน์ 5 ข้อที่จะช่วยให้ลูก ๆ ของคุณปรับตัวเข้ากับการเรียนออนไลน์จากที่บ้านได้ จะมีเคล็ดลับใดบ้าง มาดูกันเลย
1. สร้างพื้นที่ให้เหมาะแก่การเรียนรู้
เมื่อบ้านของเรากลายเป็นห้องเรียนสำหรับเด็ก ๆ เพื่อทำให้บรรยากาศ และสถานที่นั้นผ่อนคลายและพร้อมที่จะเรียนรู้ เราควรจะปรับเปลี่ยนห้องในบ้านของเราที่จะใช้เป็นห้องเรียน อาจจะให้เด็ก ๆ แปะผลงานศิลปะของตัวเองไว้ตามผนังห้อง ให้เหมือนกับห้องเรียนที่โรงเรียน หรือหากเขามีความต้องการอื่น ๆ ที่อยากจะตกแต่งห้อง หรือจะทำให้เขารู้สึกอยากที่จะใช้เวลาอยู่ในห้องนี้มากขึ้นก็ควรปล่อยให้เขาทำ เพราะนั่นจะทำให้เขารู้สึกเป็นอิสระ
หากไม่มีเก้าอี้ และโต๊ะทำงานแบบพนักพิง คุณอาจจะลองสร้าง“บัลลังก์” แทนโต๊ะเรียนจากหมอนบนเตียง หรืออะไรก็ได้ที่เป็นมุมโปรดของเด็ก ๆ นอกจากนี้ อุปกรณ์ในการเรียนก็ควรจะเตรียมไว้ใกล้มือให้ครบครัน เช่น ดินสอ สี กบเหลาดินสอ เป็นต้น
2. พยายามลดความสนใจอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้
สภาพแวดล้อมโดยรอบก็อาจทำให้เด็ก ๆ เสียสมาธิได้เช่นกัน การมีของเล่นชิ้นโปรดอยู่ใกล้ ๆ อาจทำให้เด็กมีสมาธิจดจ่อกับการเรียนได้ยากขึ้น ดังนั้น พ่อแม่ควรจัดพื้นที่การเรียนให้เงียบสงบและไม่รกจนเกินไป
เด็ก ๆ อาจใช้เวลากับการเรียนบนแล็ปท็อป สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต พ่อแม่อาจจะต้องคอยตรวจดูว่าบนโซเชียลมีเดียของเขามีสิ่งอื่นๆ ที่จะทำให้เขาสนใจมากกว่าการเรียนอยู่มากน้อยเพียงใด เพราะมันอาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในการเรียนได้ เช่น เกมส์หรือวิดีโอต่าง ๆ แต่ก็ไม่ควรที่จะเข้มงวดจนเกินไป ควรปล่อยให้เด็ก ๆ ได้ผ่อนคลายจากการเรียนบ้าง หรืออาจจะใช้เป็นรางวัลสำหรับเด็กๆ หลังจากทำการบ้านเสร็จ พฤติกรรมนี้อาจเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น
3. จัดการเวลาอย่างเหมาะสม
การมีตารางเรียนที่สม่ำเสมอจะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถวางแผนวันทำงานของตัวเองและช่วยให้ลูก ๆ รู้เวลาเข้าและออกห้องเรียนได้ง่ายขึ้น การวิจัย Impact of Time Management Behaviors on Undergraduate Engineering Students' Performance (Richelle V. Adams, Erik Blair, 2019) แสดงให้เห็นว่านักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยสูงกว่ามักจะมีการบริหารจัดการเวลาได้ดีกว่า พยายามสร้างความสม่ำเสมอให้มากที่สุด กำหนดเวลาพักเบรค ทำการบ้าน และกิจกรรมอื่น ๆ โดยการสร้างตารางเวลานั้น มีทริคที่ควรคำนึงถึงอยู่ ดังนี้
- พยายามให้เด็กมีตารางเวลาเดียวกับตอนที่ไปโรงเรียน นั่นหมายถึงเวลาตื่นนอนเหมือนกัน ให้เด็ก ๆ เริ่มเรียน และทำการบ้าน ในเวลาเดียวกันกับตอนที่ไปโรงเรียน
- สังเกตลูกของคุณว่าสไตล์การเรียนแบบใด ที่เหมาะที่สุดสำหรับเขา สำหรับเด็กเล็ก คุณอาจต้องการแบ่งคอร์สเรียนออนไลน์หนึ่งคอร์สออกเป็นส่วน ๆ แทนที่จะให้พวกเขาเรียนทั้งหมดในทีเดียว เด็กที่มีโตขึ้นมาหน่อยก็จะสามารถจดจ่ออยู่กับการเรียนได้นานขึ้น หากลูกของคุณอยู่ในชั้นมัธยมปลาย ก็อาจจะให้พิจารณาการพักระหว่างวิชาแทน
- อย่าลืมที่จะมีความยืดหยุ่นในตารางเรียนบ้าง ให้เวลาเด็กๆ ได้พัก หากพวกเขาเริ่มรู้สึกเครียด ท้อแท้ หรือฟุ้งซ่าน เพื่อที่จะทำให้เด็กๆ มีเวลาคิดและประมวลผลกับการเรียนที่ท้าทายมากขึ้น
4. ชื่นชมและให้รางวัลพวกเขา
เด็กหลายคนไม่ได้รับการสนับสนุน และความมั่นใจจากคุณครู การสร้างวิธีการให้รางวัลก็อาจสามารถช่วยสร้างแรงจูงใจ หลังจากที่เด็ก ๆ เรียนจบในชั้นเรียนหรือทำการบ้านเสร็จแล้ว ควรพูดชื่นชมเขาสักเล็กน้อยเพื่อให้เป็นแรงผลักดันที่จะทำให้เขาอยากทำบางสิ่งให้สำเร็จ
มีอีกทริคง่ายๆ มาแนะนำเลยคือ การทำเครื่องหมายถูก ติดดาว หรือสติกเกอร์บนงานของเขานั้นสามารถช่วยสนับสนุนเด็กได้อย่างมาก ของล่ออื่นๆ ที่อาจจะดีเช่นกันโดยอาจจะเป็นการให้กินขนมที่เขาชอบ หรือให้เวลาเล่นกับของเล่นเพิ่มอีก 15 นาทีก่อนนอน เด็กที่โตขึ้นมาหน่อย ให้เขาดูหนัง หรือเพิ่มเวลาใช้แท็บเล็ตก็อาจเป็นรางวัลที่ดีสำหรับพวกเขา
5. เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ติดต่อกับเพื่อนบ้าง
เด็กหลายคนอาจจะมีครูใหม่และเพื่อนใหม่ การให้เด็กๆ ได้พูดคุยกับเพื่อนๆ ทางออนไลน์ อาจช่วยทำให้เด็กรู้สึกคุ้นเคยกับเพื่อนๆ การให้เด็กๆ ได้ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกลุ่มเพื่อนเป็นประจำจะช่วยให้เด็กรู้สึกดีขึ้นกับการที่ไม่ได้เจอเพื่อนๆ เลย พ่อแม่อาจจะใช้วิดีโอคอลให้ลูกได้พูดคุยกับเพื่อนหรือกลุ่มเพื่อน หรืออาจจะให้เขาแชทคุยกัน หรือวิธีอื่นๆ ที่ลูกของคุณจะสามารถติดต่อกับเพื่อนได้ และหากเด็กมีปัญหาในขณะที่คุณไม่ได้อยู่ตรงนั้น อาจจะคอยสอนให้เขาหาวิธีอื่นๆ ในการช่วยเหลือตนเอง เช่น สอบถามคุณครูหรือเพื่อน ๆ ก็ได้
เพราะสำหรับเด็กแล้ว โรงเรียนไม่ได้เป็นเพียงสถานที่เรียนรู้ แต่เป็นที่ที่ทำให้เด็ก ๆ ได้ฝึกการเข้าสังคม และมีกลุ่มเพื่อนของเขา ดังนั้น ความสัมพันธ์ของเขากับเพื่อน ๆ ก็อาจมีผลต่อการเรียนได้เช่นกัน
เด็กทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สิ่งสำคัญคือ ต้องค้นหาสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกของคุณ ใช้เวลาสองสามวันในการสังเกตพวกเขา และหาสไตล์การเรียนที่เหมาะสมสำหรับพวกเขา สังเกตเวลาที่พวกเขามีสมาธิมากที่สุด และดูว่าอะไรที่ช่วยให้พวกเขาโฟกัสการเรียนไว้ได้ ก็จะช่วยการการเรียนออนไลน์ที่บ้านเป็นไปอย่างราบรื่นอย่างแน่นอน
แหล่งที่มา:
Related Courses
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้
คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ นำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลก และสังคมปัจจุ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...