Starfish Talk คุยสบายๆ สไตล์สตาร์ฟิช : ทำอย่างไร...ให้ใจไม่ (เผลอ) เครียด
เรื่องของความเครียด เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องพบเจอ แต่เราจะมีวิธีการดูแลและจัดการความเครียดอย่างไร เพื่อไม่ให้ความเครียดนั้นรุนแรงมากขึ้น และส่งผลกระทบต่างๆ ตามมา
ในบทความนี้ เราจะนำวิธีการดูแลและจัดการความเครียด จากงาน Starfish Talk Live ในหัวข้อ ทำอย่างไร ให้ใจไม่ (เผลอ) เครียด กับคุณนีท เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ นักจิตวิทยาของ Starfish Education มาแบ่งปันให้กับทุกท่านค่ะ
ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่า ความเครียดเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
“ความเครียด” มักเกิดขึ้นจากสถานการณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาหาเรา ทำให้เรารู้สึกว่ากำลังถูกคุกคามหรือทำให้เรารู้สึกไม่ดี และในบางครั้งความเครียดก็อาจจะมาจากเรื่องที่เรารู้สึกว่าเราจัดการไม่ได้หรือจัดการได้ยาก ซึ่งระดับความเครียดของแต่ละคนไม่เท่ากัน ถึงแม้จะเป็นเรื่องเดียวกันก็ตาม บางคนอาจจะเครียดมาก เครียดน้อย หรือบางคนอาจจะไม่เครียดเลยก็ได้
ความเครียดส่งผลกระทบต่อเราอย่างไร ?
- ส่วนที่ 1 ระบบประสาทซิมพาเทติกของเราจะเปลี่ยนไป ทำให้เราหายใจถี่ขึ้น ความดันเลือดเปลี่ยนแปลง หรือบางครั้งอาจทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เปลี่ยนไปโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว แต่ในระยะยาวอาจจะส่งผลให้เราเกิดโรคเบื้องต้นได้ เช่น โรคปวดหัว โรคกระเพาะ หรือมีอาการปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น และถ้าเราเกิดความเครียดมากๆ ไม่สามารถจัดการกับความเครียดนั้นได้ ก็อาจจะนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต เป็นต้น
- ส่วนที่ 2 อารมณ์ของเราจะไม่ปกติ เช่น อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด โมโหร้าย อารมณ์ขึ้นลงตลอดเวลา หรือวิตกกังวล เป็นต้น
- ส่วนที่ 3 พฤติกรรมของเราจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น กินน้อยลง กินมากขึ้น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
วิธีการดูแลความเครียดให้ลดน้อยลง
โดยทั่วไปของคนเรา ไม่สามารถหลีกหนีจากความเครียดได้ เพราะความเครียดมักจะมาทักทายเราอยู่บ่อยๆ เวลาที่เราเจอเรื่องที่ไม่ดี หรือเรื่องไม่คาดฝันก็อาจจะทำให้เรามีความเครียดได้
วิธีการดูแลตัวเองให้ความเครียดลดน้อยลงนั้นมีอยู่ 2 ขั้นตอน คือ (1) จัดการอารมณ์หรือปลดปล่อยอารมณ์ เป็นการเอาตัวเองออกจากสภาวะความเครียด เช่น การบ่น การเขียนไดอารี่ การโทรหาเพื่อน การออกกำลังกาย การดูซีรีย์ เป็นต้น ซึ่งการจัดการอารมณ์นั้น เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้สติของเรากลับมา และสามารถประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นกลางจนนำไปสู่ขั้นตอนที่ (2) จัดการกับปัญหาที่เป็นต้นเหตุของความเครียด
เทคนิคการจัดการกับความเครียด
เทคนิคการจัดการกับความเครียดมีอยู่ 3 ขั้นตอน ได้แก่
- What : ถามตัวเองว่าเราเป็นอะไร เครียดเพราะอะไร หรือเหนื่อยเพราะอะไร ?
- Why : ค่อยๆ คิดว่าทำไมปัญหาถึงเกิดขึ้น (ขั้นตอนนี้จะทำให้เรามองเห็นรายละเอียดของปัญหา)
- How : เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ลองโยนคำตอบไว้เยอะๆ แล้วเลือกคำตอบที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา
ฉะนั้น หากเราเกิดความเครียด ก่อนอื่นให้เราดูแลความเครียดของตัวเองก่อน โดยเริ่มจากการลองตั้งสติ ปลดปล่อยอารมณ์ออกมา และค่อยๆ หาวิธีการแก้ไขปัญหา แต่วิธีการที่ดีที่สุดและจะช่วยให้เราสามารถจัดการกับความเครียดได้ คือ การจัดการความเครียดทั้ง 3 ขั้นตอนก็คือ What, Why และ How ดังที่กล่าวไปในข้างต้น
และถ้าเราจัดการกับความเครียดได้แล้ว แต่ความเครียดนั้นวนกลับมาอีก แนะนำให้เราลองกลับมาถามตัวเองว่า เราไปต่อไหวไหม ถ้าไม่ไหวก็ให้เราพักก่อน แต่ถ้าเรายังไหว อยากให้เราลองหาวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ค่อยๆ แก้ไปทีละเปราะ ตรงนี้จะช่วยให้ความเครียดค่อยๆ ลดลง และอาจจะหมดไปในที่สุดได้
สุดท้าย เราควรกลับมาฝึกที่จะดูแลตัวเอง ตระหนักรู้กับตัวเอง คอยสังเกตตัวเองว่าตอนนี้เรากำลังรู้สึกอะไร เพื่อให้เรารู้เท่าทันตัวเอง และสามารถจัดการกับปัญหาหรือความเครียดต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีค่ะ
สำหรับใครที่พลาดดูไลฟ์สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่นี่ https://fb.watch/5DdiUP_WTs/
Related Courses
เติบโตได้ไม่รู้จบ ด้วย Growth Mindset
ฝึกฝนและพัฒนา เป็นกุญแจสำคัญมากกว่าพรสวรรค์ใดๆ เมื่อรู้สึกว่าน้ำในแก้วเริ่มเต็ม ควรเปลี่ยนแก้วใบใหม่ เพื่อรับน้ำที่มากขึ้นและจงเป็ ...
เลี้ยงลูกอย่างไรในยุค Thailand 4.0
บทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ว่าThailand 4.0คืออะไร แนวคิดในการเลี้ยงลูกยุค4.0 เทคนิคการเลี้ยงลูกยุค 4.0 รวมถึงการเรี ...
การชะลอการตัดสินต่อพฤติกรรมของนักเรียน
การเรียนรู้เรื่อง ชะลอการตัดสินนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในการแยกแยะความจริงออกจากความคิดเห็น เพื่อชะลอการตัดสิน ...
พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย
บทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ความสำคัญของพัฒนาการ สมรรถนะตามวัย กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เน้นการทำกิจกรร ...