Help me! ครูภี ว่าด้วยเรื่อง ”เปิดเทอม”
เมื่อวัยรุ่นยังไม่พร้อมที่จะเปิดเทอม แต่ต้องไปเรียน อย่างกับว่า “ไม่พร้อม บอกให้พร้อม” วัยรุ่นอย่างเราจะทำอย่างไรดีนะ?
หากใครที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่พร้อม วันนี้ เราพาครูภีมาตอบปัญหาให้กับเราค่ะ
1. ถ้าเด็กบอกว่า “หยุดน้อยจัง ยังไม่หายเหนื่อย ก็เปิดเรียนแล้ว” ครูภีจะช่วยเด็กอย่างไร
ต้องให้น้องๆทบทวนกันก่อนว่า สิ่งที่ทำให้เราเหนื่อยในช่วงปิดภาคเรียนคืออะไร แล้วก็เริ่มแก้ไขจากสาเหตุนั้น โดยน้องๆ อาจจะสำรวจเวลาที่เราทำในแต่ละวัน ว่าหมดไปกับกิจกรรมใดบ้าง และจะเพิ่ม-ลดเวลาในแต่ละกิจกรรมอย่างไร ให้สามารถทำงาน หรือกิจกรรมต่างๆที่ต้องทำได้ โดยสามารถดำเนินชีวิตประจำวัน และพักผ่อนได้ตามปกติ ส่วนใหญ่น้องๆ มักจะเรียนเสริมในช่วงปิดภาคเรียนมากจนกระทั่งไม่ได้พัก
เรามาลองเลือกดูก่อนไหมว่าปิดภาคเรียนนี้ เราจะเรียนเสริมวิชาอะไร พิจารณาว่าเวลาเรียนมากเกินไป จนไม่ได้หยุดพักผ่อนหรือเปล่า ปรับเวลากันโดยพูดคุยกับผู้ปกครองว่าปิดเทอมนี้ขอเรียนเท่านั้นเท่านี้ เวลาที่เหลือขอพักผ่อน หรือทำงานอดิเรก เมื่อสามารถจัดตารางชีวิตได้ก็จะช่วยให้ความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเหมือนไม่ได้พัก ลดน้อยลงไปได้ครับ
2.ถ้าเด็กบอกว่า “หนู/ผม เบื่อเหลือเกินกับการเรียนออนไลน์ เพราะเรียนไม่รู้เรื่อง” ครูภีจะช่วยเด็กอย่างไร
ในช่วงสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ การเรียนออนไลน์อาจจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การเรียนรู้ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเรียนออนไลน์เพียงเท่านั้น เราสามารถเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะจากหนังสือเรียน การ์ตูนความรู้ จะอ่านจาก e-book หรือบทความ ที่ปรากฏอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ตต่างๆ อีกทั้งเราสามารถฝึกทักษะจากการทำแบบฝึกหัด ทั้งแบบฝึกหัดในหนังสือ หรือแบบฝึกหัดออนไลน์ ฝึกจาก Application ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังเล่นเกม และได้เรียนรู้ไปด้วย เช่น การฝึกภาษาจาก Application Duolingo จากการฟังเพลง ภาพยนตร์ อนิเมะ หรือซีรี่ย์ ต่างๆได้อีกด้วย
3.ถ้าเด็กบอกว่า “เหงา เบื่อ เซ็ง เพราะบลาๆ (เช่นไม่ได้เจอเพื่อน อยู่แต่บ้าน ไม่มีอะไรทำ)” ครูภีจะช่วยเด็กอย่างไร
ข้อนี้ต้องบอกเลยว่าเห็นใจน้องๆครับ อย่าว่าแต่เด็กเลยครับ ผู้ใหญ่ก็เช่นกัน แต่ในสถานการณ์เช่นนี้ การเจอกันให้น้อยที่สุด ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคให้ต่ำที่สุดได้ มีบทความที่ศึกษาเกี่ยวกับสมองแล้วพบว่า การที่เรากักตัวอยู่กับบ้าน ใช้ชีวิตประจำวันตามรูปแบบเดิมๆทุกวัน จะทำให้สมองเกิดภาวะ “หมอกสมอง” (Brain Fog) ทำให้มนุษย์เราเบื่อ ไม่มีชีวิตชีวา ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยบรรเทาความเบื่อให้น้องๆได้ คือ การลองลุกขึ้นมาทำสิ่งที่เราไม่ได้ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น การจัดบ้าน จัดห้อง เพื่อให้สมองได้คิดในสิ่งใหม่ๆ เช่น สิ่งไหนควรทิ้ง หรือตกแต่งห้องอย่างไรให้สวยดี
นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยี (VDO Call) เข้ามาช่วยในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆ แม้ว่าจะไม่ได้ดีเท่ากับการได้เจอหน้าพูดคุยกันก็ตาม แต่ก็จะช่วยลดความคิดถึงเพื่อนลงไปได้
4. สุดท้าย ขอให้ครูภีฝากอะไรถึงวัยรุ่น นิดนึงค่ะ
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่าง ซึ่งมีปัจจัยมาจากทั้งภายใน และมาจากภายนอกตัวเอง ประเด็นหนึ่งที่เกิดในการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น คือการพัฒนาของสมองส่วนอารมณ์ที่ล้ำหน้าสมองส่วนเหตุผลไปมาก สิ่งนี้เป็นพัฒนาการปกติที่เกิดขึ้นในวัยรุ่น ทำให้วัยรุ่นมักจะหัวร้อนง่าย อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สิ่งที่อยากจะฝากก็คือ อยากให้น้องๆวัยรุ่นทุกคนได้พยายามฝึกควบคุม และจัดการกับอารมณ์ของตน แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถของน้องๆ
เริ่มจากฝึกมีสติอยู่กับตนเองบ่อยๆ ถามตัวเองว่าตอนนี้ฉันกำลังรู้สึกอย่างไร กระทบการดำเนินชีวิตประจำวันหรือไม่ อย่างไร และจะจัดการกับมันอย่างไร การมีสติหยุดคิดจะค่อยๆช่วยให้เราสามารถยับยั้งและควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น
บทความใกล้เคียง
ทำไมต้องมี “กิจกรรมโฮมรูม” ทุกเช้าก่อนเรียนหนังสือ?
แค่ไม่อยากให้ "โรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม" เป็นเพียงความทรงจำที่ดี ตอนที่ 1 "จุดเริ่มต้น"
แค่ไม่อยากให้ "โรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม" เป็นเพียงความทรงจำที่ดี ตอนที่ 2 "ระเบิดจากข้างใน"
Related Courses
Creative Independent Study Classroom Design
ทำความรู้จักกับวิชา IS ในอีกมุมมองหนึ่ง สอนอย่างไรให้นักเรียนคิดเป็น วิธีการไหนที่ทำให้นักเรียนสนใจ ไม่น่าเบื่อ แถมยังสามารถนำ ...
Environmental Education (EE)
The goal of the course is to explain to educators what environmental education is, what its goal ...
Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน
การช่วยเหลือผู้เรียนสำคัญต่อการลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครอง
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...