วิธีลดอาการหัวร้อนเมื่อลูกดื้อ
เราเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องหงุดหงิด โกรธ หรือที่ภาษาวัยรุ่นเรียกว่า “หัวร้อน” กันบ้างล่ะค่ะ ถ้าวันไหนที่เจ้าตัวเล็กดื้อมากๆ วันนี้เราก็เลยมีวิธีมาลดอาการเกรี้ยวกราดเวลาเจ้าตัวเล็ก ที่อาละวาด เอาแต่ใจ มาบอกกันค่ะ
1.หายใจเข้าลึกๆ ดึงสติตัวเองก่อน
อยากให้คุณพ่อคุณแม่หายใจเข้าลึกๆก่อน ดึงสติตัวเอง ระลึกให้ได้ว่าเรากำลังโกรธอยู่ อ่านแล้วเหมือนง่ายแต่เชื่อเถอะค่ะว่ายากจริงๆ เพราะเวลาที่เราจะโมโห มันจะหน้ามืดตาลายไปหมด หลายคนจบด้วยการทำโทษลูกแรงๆ เพราะขาดสติ เพราะฉะนั้น เมื่อเจ้าตัวเล็กเริ่มดื้อเมื่อไหร่ ต้องรีบดึงสติให้กลับมาก่อนเป็นอย่างแรกค่ะ
2.ถอยออกมาก่อน ก่อนบอกลูกว่าแม่โกรธ
เมื่อได้สติแล้วเดินถอยออกมาจากตรงนั้นก่อน แต่ก่อนจะเดินออกมาต้องบอกให้ลูกรู้ว่าการทำแบบนี้ไม่ใช่เรื่องดี และแม่จะไม่คุยกับลูกตอนนี้นะ เพราะว่าแม่โกรธอยู่ เมื่อลูกเลิกทำแบบนี้ หรือเมื่อแม่อารมณ์ดีขึ้นเราค่อยคุยกัน
ช่วงนี้จะช่วยให้คุณได้สงบสติอารมณ์มากขึ้น การบ่น ดุ หรืออธิบายลูกในช่วงนี้ไม่ช่วยอะไรค่ะ เพราะเป็นช่วงที่สภาพจิตใจยังไม่พร้อม ยังโมโหอยู่ทั้งคุณ และลูกจึงควรใช้วิธีห่างกันออกมาก่อนจะดีกว่าค่ะ เมื่ออารมณ์ดีขึ้น ค่อยเข้าไปอธิบายกับลูก
3.เหนื่อยนัก ก็พักก่อน
ใครว่าเป็นแม่บ้านจะไม่เหนื่อยคะ? ทั้งงานบ้าน งานครัว และเลี้ยงลูก บางครั้งลูกก็ดื้ออีก จะไม่ให้โมโหคงเป็นไปไม่ได้ แต่หากหัวร้อนได้ง่ายๆ อารมณ์ขึ้นได้ง่ายๆ บ่อยและถี่มากขึ้น ให้ลองสำรวจตัวเองดูค่ะ คุณอาจจะเหนื่อยเกินไป และต้องการการพักผ่อนบ้าง ลองผ่อนคลายอารมณ์ และเติมพลังให้ชีวิตด้วยกิจกรรมและงานอดิเรกที่คุณชอบบ้าง เช่น อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง หรือทำงานเย็บปักถักร้อยที่คุณชอบ
4.หาที่ระบายบ้าง
นอกจากจะเติมพลังใจแล้ว ยังต้องหาที่ระบายออกด้วยนะคะ เพราะจิตใจเรานั้นก็เหมือนฟองน้ำ มีเรื่องให้เครียด ให้โกรธ ให้เหนื่อย ก็จะสะสมความรู้สึกคับข้องใจเอาไว้ในนั้น จึงต้องหาที่ระบายออก อย่างเหมาะสม เราแนะนำให้การจดบันทึก เขียนเล่าเรื่องราวทุกอย่าง ระบายความอึดอัดใจ จากนั้นขยำทิ้งไป หรือถ้าไม่ถนัดเขียน ลองหาใครสักคน แล้วเล่าระบายให้เขาฟังก็ได้
5.ให้อภัยทั้งลูก และตัวคุณเอง
การลดความโกรธ ความคับข้องใจได้มากที่สุด คือการให้อภัยไม่ผูกใจเจ็บ ยิ่งเฉพาะลูกนั้นเป็นเด็ก คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจว่าการดื้อ โกรธ เกรี้ยวกราด หรืออาละวาดนั้น เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการ และการระบายความเครียดตามช่วงวัยของเขา ยิ่งในเด็กเล็กนั้นการยับยั้งชั่งใจนั้นแทบจะไม่ได้เลยทีเดียว
6.ทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น
ถ้าเราอยากแก้ปัญหาให้ถูกจุด ต้องเริ่มจากการไปหาต้นเหตุก่อนค่ะ นอกจากเรื่องนิสัย การเลี้ยงดูของทางบ้านเอง การถูกญาติๆ หรือปู่ย่าเอาใจ บางครั้งสาเหตุอาจจะมาจากเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้คาดคิดก็เป็นได้ เช่น ลูกอารมณ์เสีย โยเย งอแงง่าย อาจจะเป็นเพราะไม่สบายทางกาย เช่น ปวดฟัน ปวดท้อง ก็เป็นได้
ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องใช้เวลาหลังจากสงบสติอารมณ์ หาเหตุผลให้ได้ก่อน เพราะเมื่อ เรารู้ต้นเหตุของปัญหาได้แล้ว เราจะ “จับทาง” ได้ว่าจะต้องแก้ปัญหาอย่างไร ก็จะลดอาการหัวร้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อลูกดื้อในคราวต่อๆไปได้ค่ะ
Related Courses
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...
พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย
บทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ความสำคัญของพัฒนาการ สมรรถนะตามวัย กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เน้นการทำกิจกรร ...
เลี้ยงลูกอย่างไรในยุค Thailand 4.0
บทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ว่าThailand 4.0คืออะไร แนวคิดในการเลี้ยงลูกยุค4.0 เทคนิคการเลี้ยงลูกยุค 4.0 รวมถึงการเรี ...
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...