ชวนมารู้จักกับ “อาชาบำบัด” การบำบัดเพื่อเด็กพิเศษ
อาชาบำบัดคืออะไร?
วันนี้เราจะชวนมารู้จักกับศาสตร์การบำบัดที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เรียกได้ว่าเป็นการบำบัดที่มีประสิทธิภาพแม้จะผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน นั่นคือ “อาชาบำบัด” ( Hippotherapy ) หรือการนำม้ามาช่วยให้การรักษาและฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยทั้งกายและใจ อาชาบำบัดไม่ใช้เรื่องใหม่ค่ะ เพราะเริ่มมีการนำมาใช้ตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ โดยการขี่อยู่บนหลังม้าเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ และลดความกลัว และเริ่มแพร่หลายในยุโรป และอเมริกาเหนือ ในช่วงปี 1960 ส่วนในประเทศไทย เริ่มแพร่หลายในช่วงสิบกว่าปีนี้เองค่ะ
เนื่องจากการเดินของม้าช่วยกระตุ้นผู้ป่วยในด้านต่างๆ เพราะการขี่ม้า จะสร้างการทรงตัว และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการขี่ม้า เป็นการเพิ่มความนิ่งให้กับเด็กที่มีความผิดปกติทางสมองและการเคลื่อนไหว เพราะจังหวะการก้าวย่างของม้านั้น ใกล้เคียงกับจังหวะการก้าวเดินของมนุษย์ เมื่อเด็กๆ ได้ฝึกขี่ม้า ก็เปรียบเสมือนกับการได้ฝึกเดินด้วยตัวเอง
อาชาบำบัดช่วยอะไรได้บ้าง?
อาชาบำบัดเป็นกิจกรรมที่ช่วยฟื้นฟูและทำให้เกิดการทำงานที่สมดุลทั้งร่างกายและจิตใจ ดังนี้
ทางด้านร่างกาย
การนั่งบนหลังม้า ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักในอาชาบำบัดเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของเด็กๆ ให้เคลื่อนไหวเป็นจังหวะ เพราะต้องขยับเขยื้อนร่างกายตลอดเวลา เนื่องจากสัญชาตญาณของมนุษย์ที่พยายามจะรักษาสมดุลของร่างกายไม่ให้ตกลงมาจากหลังม้า ซึ่งสามารถช่วยลดอาการเกร็งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เสมือนการทำกายภาพบำบัดรูปแบบหนึ่ง ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบร่างกายต่างๆให้สัมพันธ์กันมากขึ้นอีกด้วย
ทางด้านจิตใจและอารมณ์
ช่วยสร้างสมาธิ ฝึกควบคุมอารมณ์ ช่วยให้เด็กพิเศษอยู่นิ่งได้นานขึ้น เพราะระหว่างขี่ม้า เด็กต้องมีสมาธิจดจ่อ จึงเหมาะสำหรับเด็กพิเศษกลุ่มออทิสติกและสมาธิสั้น
ทางด้านสังคม
เข้าร่วมกิจกรรมนี้ต้องทำมีปฎิสัมพันธ์ทั้งกับผู้คนและม้า โดยความรู้จักกับม้า ครูฝึก และเพื่อนๆ ร่วมกิจกรรม ช่วยให้เด็กเรียนรู้ทักษะทางสัมคมได้มากขึ้น
อาชาบำบัดเหมาะกับเด็กกลุ่มไหน?
ผู้ที่มีปัญหาทางระบบประสาท และสติปัญญา หรือเด็กพิเศษ เช่น ออทิสติกที่มีปัญหาทางด้านการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เด็กสมาธิสั้น ดาวน์ซินโดรม และผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว หรือ การทำงานของกล้ามเนื้อและข้อต่อ เช่น โรคซีพี (C.P. หรือ cerebral palsy)
โดยเด็กที่เขารับการบำบัดควรมีอายุอยู่ระหว่าง 5-13 ปี จนถึงระดับผู้ใหญ่ก็สามารถใช้อาชาบำบัดได้ ยกเว้นในเด็กบางรายที่มีอาการกระตุกมากๆ ก็ไม่ควรใช้วิธีการนี้ในการบำบัด เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายกับเด็กได้ขณะทำการขี่ม้า
จะพาลูกไปทำกิจกรรมอาชาบำบัด ได้ที่ไหน
สำหรับในประเทศไทยเอง เริ่มมีการนำม้ามาช่วยในการบำบัดกลุ่มเด็กพิเศษ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 โดยกองกำกับการตำรวจม้า ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากที่เคยดำเนินการสอนคุณ พุ่ม เจนเซ่น ซึ่งได้ผลการบำบัดที่สำเร็จเป็นอย่างดี
ปัจจุบันนี้ในประเทศไทย มีหน่วยงานที่จัดทำเกี่ยวกับอาชาบำบัดอยู่หลายแหล่ง หนึ่งในนั้นคือ “คลินิกอาชาบำบัดของมหาวิทยาลัยมหิดล” ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของคณะสัตวแพทยศาสตร์ และสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
โครงการอาชาบำบัด ของกองกำกับการสุนัขและม้าตำรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ หรือ บก.สปพ ใช้ม้าตำรวจบำบัดเด็กพิเศษ ประเภทที่มีอาการออทิสติก ดาวน์ซินโดรม สมาธิสั้น และบกพร่องทางสมอง จะเปิดบริการฟรีทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี เวลา 09.00-11.30 น. โดยให้ครูฝึกและผู้ปกครองร่วมกันดำเนินกิจกรรม สามารถติดต่อได้ที่งานฝึกอบรมม้า (บางบอน)โทร.0-2895-3340 ได้ในวันเวลาราชการ
Related Courses
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
ดูแลสุขภาพร่างกาย สำหรับเด็กวัยเรียน (ประถมศึกษา)
คอร์สนี้จะทำให้ได้เรียนรู้ถึงและเข้าใจการสร้างสุขภาพกายที่ดีสำหรับเด็กประถมศึกษา เพราะสุขภาพกายมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ
แนะนำหลักสูตร well being
คอร์สเรียนนี้จะชวนให้ทุกคน กลับมาดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆ กันนะคะ เพราะทั้งสองเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรง ...
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...