“อ่านหนังสือกับลูก” ให้สนุกและได้ประโยชน์มากกว่าเดิม
“อ่านหนังสือกับลูก” ให้สนุกและได้ประโยชน์มากกว่าเดิม
วันนี้เราจะชวนคุณพ่อคุณแม่กลับมา back to Basic กับการ “อ่านหนังสือ” กับลูกกันค่ะ เรารู้ดีว่าการอ่านหนังสือนั้นมีประโยชน์แน่ๆ แต่จะมีวิธีไหนที่ทำให้เด็กๆ ยุคดิจิตอลนั้นสนุกและได้ประโยชน์ไปกับเรื่องราวในนิทานไม่แพ้กับการเพลิดเพลินในโลกออนไลน์เลย เรามีไอเดียมาเสนอกันค่ะ
นิทานสนุกไปตามวัย
เด็กๆ จะสนุกกับนิทานได้ เรื่องราวควรจะตรงตามช่วงวัยและพัฒนาการของลูกค่ะ เรายกตัวอย่างช่วงวัยที่น่าจะสนุกไปกับการอ่านนิทานตามนี้
ช่วง 0 - 4 เดือนแรก
เด็กๆ จะมองเห็นภาพ “สีขาว” “สีดำ” และ “สีแดง” ที่เป็นรูปแบบตัดกันได้ดี เช่น ลายตารางหมากรุก หนังสือนิทานที่มีสีขาวดำ หรือ สีไม่มาก แต่เป็นสีที่ตัดกันอย่างชัดเจน จะทำให้เด็กสนใจได้ดีกว่าหนังสือที่มีสีมากมาย นิทานในช่วงนี้ไม่จำเปนต้องเป็นเรื่องราว แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องเน้นการแสดงในการเล่า มีเสียงต่ำ สูง เลียนเสียงสัตว์ ขยับมือไม้เยอะๆ เลียนแบบท่าทางต่างๆ เพื่อเรียกความสนใจของลูก
ช่วง 5 - 12 เดือน
เด็กๆ จะเริ่มมองเห็นภาพและสีต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น กล้ามเนื้อมัดใหญ่เริ่มทำงาน ฟันเริ่มขึ้น หนังสือนิทานสำหรับเด็กวัยนี้ ต้องแข็งแรง คงทน และไม่เป็นอันตรายเมื่อเด็กขว้าง กัด หรือนำเข้าปาก เช่น หนังสือแบบ Board book (เป็นแบบหนาและแข็งพิเศษ) ขนาดไม่ใหญ่มาก หนังสือผ้า หนังสือที่มีเสียง เป็นต้น เด็กๆ วัยนี้ชอบการใช้ร่างกายค่ะ หนังสือที่เหมาะกับเด็กๆ จึงควรเป็นหนังสือที่เขามีส่วนร่วมได้ ผูกเชือกได้ กดแล้วมีเสียง ลอยน้ำได้ ฯลฯ เรื่องราวยังไม่จำเป็นนักค่ะ
ช่วง 1- 3 ปี (ก่อนเข้าโรงเรียน)
เด็กๆ จะเริ่มสนใจสีสันสดใส หนังสือที่สัดส่วนภาพมากกว่าตัวอักษร หนังสือที่อ่านเป็นกลอน เป็นเพลง มีจังหวะจะโคน เหมาะกับเด็กวัยนี้เพราะอยู่ในช่วงที่มีพัฒนาการทางภาษาสูง นิทานที่เหมาะกับเรายังคงเป็นเรื่องราวง่ายๆ ไม่ซับซ้อน มีคำซ้ำเยอะๆ เรื่องราวสั้นๆ พบได้ในชีวิตประจำวันหรือแฟนตาซีแบบง่ายๆ และมีความยาวไม่มากนัก เพราะแม้เด็กจะมีสมาธิได้นานขึ้นแต่ก็ยังไม่นานมากนัก
ช่วง 4 - 6 ปี (วัยอนุบาล)
เด็กๆ จะเริ่มเข้าสู่โรงเรียน การอ่านนิทานในช่วงนี้เป็นการพัฒนาเรื่องการใช้ภาษาอย่างเต็มขั้น เพราะเด็กบางคนจะเริ่มอ่านบางคำได้ นิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ควรมีตัวหนังสือมากขึ้น มีเรื่องราวที่มากขึ้นแต่ไม่สลับซับซ้อนนัก แต่ควรเป็นเนื้อเรื่องที่กระตุ้นให้เด็กได้เกิดความคิด เกิดการตั้งคำถามและหาคำตอบ รวมถึงได้เรียนรู้เรื่องราวที่นิทานจะสื่ออกมาอีกด้วย
นิทานเป็นเรื่องพิเศษ
นิทานคือการพาเด็กๆเข้าสู่เรื่องราวมหัศจรรย์แฟนตาซีไปได้พร้อมๆกับคุณพ่อคุณแม่ค่ะ การที่จะสนุกไปได้ด้วยกันต้องใช้ทั้งอารมร์ร่วมสนุกไปกับลุกด้วย อาจจะต้องไม่จริงจังนักกับเนื้อเรื่อง คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่าเรื่องเดียวกันให้ไม่ซ้ำกันก้ได้ อาจเปลี่ยนตอนจบ อาจเพิ่มเรื่องราวระหว่างทาง หรือแม้แต่ใช้เพียงตวละครแล้วแต่งในหม่ในแบบของตัวเองก็ยังได้
นิทานไม่ใช่เครื่องมือการสอน
ในสมัยเด็กๆ เราเชื่อว่คุณพ่อคุณแม่หลายๆ คน จะได้ยินประโยคจบที่ว่า “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า…” ซึ่งจะมองว่าเป็ฯทสรุปของเรื่องราวก้ได้ แต่เราอยากให้คุณพ่อคุณแม่ ปล่อยปลายเปิดไว้สักนิด เพราะในชีวิตจริงเรื่องราวทั้งหลายไม่ได้มีเพียงบทสรุปเดียว นิทานอาจจะสอนสิ่งหนึ่งก็จริง แต่ก็สามารถทำให้เด็กๆตั้งคำถาม และแสวงหาคำตอบในแบบของตัวเองได้อีกด้วย
นิทานคือช่วงเวลาของเรา
การอ่านนิทาน การที่คุณพ่อคุณแม่เล่านิทานให้ลูกฟัง เป็นการใช้เวลาที่มีคุณภาพของครอบครัว เพราะไม่ใช่เพื่อความสนุกสนานไปกับเนื้อเรื่องเท่านั้น ยังเป็นการกระตุ้นจินตนาการและสร้างพัฒนาการทั้งเรื่องภาษา ความคิด หรือแม้แต่กล้ามเนื้อมัดเล็กจากการหยิบจับ เปิดหน้ากระดาษได้อีกด้วย ที่สำคัญการอ่านหนังสือยังช่วยให้เด็กๆและคุณพ่อคุณแม่ลดการมองหน้าจอลงอีกด้วย
นี่ล่ะค่ะวิธีง่ายๆที่จะช่วยเพิ่มความสุขในบ้าน อาจจะเป้นกิจกรรมง่ายๆ แต่สามารถช่วยให้เด็กๆได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน ที่สำคัญยังมีส่วนช่วยเพิ่มสมาธิ รวมถึงลดเวลาจากหน้าจอลงด้วยค่ะ
Related Courses
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้
คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ นำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลก และสังคมปัจจุ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...