“โทษตัวเอง” ความรู้สึกผิดในใจลูก เมื่อพ่อแม่แยกทาง

Starfish Academy
Starfish Academy 12535 views • 4 ปีที่แล้ว
“โทษตัวเอง” ความรู้สึกผิดในใจลูก เมื่อพ่อแม่แยกทาง

หลายครั้งเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในครอบครัว หากเด็ก ๆ อยู่ในสถานการณ์ด้วย พวกเขามักจะอดคิดไม่ได้ว่าตัวเอง คือสาเหตุของความขัดแย้งนั้น ยิ่งถ้าหากว่าความขัดแย้ง นำไปสู่การร้างรา ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้ว่าเด็ก ๆ จะเริ่มโทษตัวเอง แม้ว่าสาเหตุของการแยกทางอาจไม่เกี่ยวข้องกับลูกเลยสักนิด แต่เพราะความไม่เข้าใจก็อาจนำไปสู่ความรู้สึกผิดที่ติดตัวลูกไปจนโต

ไม่มีรักไหนที่ดีทุกวัน

ในทุกความสัมพันธ์ย่อมมีความขัดแย้ง ยิ่งใกล้กันมากเท่าไร โอกาสที่จะผิดใจกันก็ยิ่งมีมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาในทุกความสัมพันธ์ การที่พ่อแม่มีความคิดเห็นไม่ลงรอยกันบ้าง แต่โต้เถียงกันด้วยเหตุผล และต่างฝ่ายต่างควบคุมอารมณ์ได้ดี จะช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ว่าความขัดแย้งก็เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ เช่นเดียวกับการให้อภัย และการยอมลดทิฐิเพื่อให้อยู่ร่วมกันต่อไปได้ ความสัมพันธ์เช่นนี้คือตัวอย่างที่ดีที่เด็ก ๆ ควรได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตาม หากการอยู่ด้วยกัน ไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป พ่อแม่ก็ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ โทษตัวเอง

อะไรที่ทำให้ลูกโทษตัวเอง

ในฐานะพ่อแม่ คุณทั้งสองย่อมรู้สาเหตุของการเลิกราดีกว่าใคร และคงชัดเจนในใจว่าลูกไม่ได้เป็นต้นตอของการหย่าร้างนี้ แต่สำหรับเด็ก ๆ พวกเขาอาจยังไม่เข้าใจว่ามีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้คนสองคนไม่รักกันอีกต่อไป พวกเขาไม่เคยเผชิญสถานการณ์เช่นนี้มาก่อน เมื่อไม่สามารถหาคำตอบที่ชัดเจนให้ตัวเองได้ และพ่อแม่ก็ดูเหมือนจะหลีกเลี่ยงให้คำตอบ สุดท้ายจึงลงเอยด้วยการโทษตัวเอง จริงอยู่ที่การแยกทาง อาจเป็นทางออกเดียวสำหรับคุณ และในสถานการณ์นี้อาจไม่มีใครถูกหรือผิด แต่การที่พ่อแม่ไม่พูดคุยกับลูกอย่างตรงไปตรงมา เพราะกลัวว่าจะทำร้ายความรู้สึกของเด็ก ๆ สิ่งนี้อาจเป็นการตัดสินใจผิดเสียยิ่งกว่า

คุยกับลูกอย่างไร เมื่อตัดสินใจแยกทาง

เมื่อพ่อแม่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจของเด็ก ๆ พวกเขาจะเริ่มคิดไปเองต่าง ๆ นานา รวมทั้งคิดว่าที่พ่อแม่ไม่บอกเหตุผลอย่างแท้จริง ก็เพราะพวกเขาเป็นต้นเหตุของการหย่าร้าง อย่างไรก็ตาม การสื่อสารเรื่องนี้กับลูก ก็อาจไม่ใช่เรื่องง่าย ลองดูคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการพูดคุยกับลูกค่ะ 

* ควรบอกให้ลูกรู้ก่อนที่ใครคนใดคนหนึ่งจะย้ายออก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ และควรเข้าใจว่าถึงเด็ก ๆ จะปฏิเสธว่าไม่อยากฟังเหตุผล คุณก็จำเป็นต้องอธิบายให้พวกเขาฟังให้ชัดเจน

* หากเป็นไปได้ ทั้งพ่อและแม่ ควรร่วมบทสนทนาที่สำคัญนี้ด้วยกัน และคุณทั้งสองควรเตรียมตัวอย่างดีว่าใครจะพูดอะไร หลีกเลี่ยงการกล่าวโทษฝ่ายตรงข้าม พยายามควบคุมอารมณ์ให้ดี และให้ความสำคัญกับความรู้สึกของลูกเป็นอันดับแรก

* เลือกเวลาที่ทุกคนในครอบครัวว่าง อาจเป็นวันหยุด ที่ทุกคนไม่ต้องรีบออกไปทำอะไร เพื่อที่ว่าระหว่างวันหากลูกมีข้อสงสัย หรือมีปัญหาค้างคาใจ เขาจะสามารถคุยกับคุณได้ทุกเมื่อ

สิ่งที่ควรมี และเน้นย้ำให้ลูกเข้าใจในการสื่อสารครั้งนี้ คือ

  • พ่อแม่ได้ตัดสินใจร่วมกัน หลังจากพยายามอย่างยาวนานที่จะแก้ปัญหาอย่างดีที่สุดแล้ว
  • การตัดสินใจครั้งนี้มาจากพ่อกับแม่ ไม่มีสิ่งใดที่ลูกพูดหรือทำ ที่ทำให้พ่อแม่ตัดสินใจเช่นนี้ 
  • เหตุการณ์นี้ไม่มีใครผิด ความรักที่พ่อแม่มีต่อลูกยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ลูกก็ยังรักพ่อ และแม่ได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องรู้สึกผิดต่ออีกฝ่าย
  • ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดาที่เราทุกคนต้องเผชิญในเวลานี้ พ่อกับแม่ก็เสียใจ แต่ก็จะผ่านมันไปให้ได้ เราอาจสงสัยว่าอนาคตจะเป็นยังไง เราอาจกังวล ทุกความรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดาที่อาจเกิดขึ้น พ่อและแม่พร้อมที่จะฟัง และช่วยลูกเสมอหากลูกต้องการ
  • ถึงแม้พ่อแม่จะแยกทางกัน แต่คำว่า “ครอบครัว” ยังคงอยู่ เรายังเป็นพ่อ และแม่ของลูกเหมือนเดิม หากพ่อหรือแม่ต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น ควรบอกให้ลูกเข้าใจว่า ลูกจะยังได้พบอีกฝ่ายเสมอ และอธิบายว่าจะใช้วิธีใดที่ทำให้ลูกได้พบกับพ่อ หรือแม่ที่ย้ายออกไป เช่น ทุกวันหยุด หรือตอนเย็นหลังเลิกเรียน ฯลฯ

* หากเป็นไปได้บอกลูกถึงแผนการต่อจากนี้ เช่น อีกสองสัปดาห์พ่อจะย้ายออก แต่ลูกจะได้พบพ่อทุก ๆ วันหยุด หรือตอนเย็นหลังเลิกเรียน ทำให้ลูกมั่นใจว่าพวกเขาจะได้ใช้เวลากับพ่อ และได้ใช้เวลากับแม่ แม้ไม่ได้อยู่ด้วยกัน และ(หากทำได้) ในวันสำคัญต่าง ๆ พ่อแม่จะใช้เวลาร่วมกันกับลูกเหมือนเดิม เช่นวันเกิด วันจบการศึกษา ฯ แต่ไม่ควรให้คำสัญญาใด ๆ กับลูก หากคุณไม่มั่นใจว่าจะทำตามสัญญาได้

* หากมีอะไรที่ยังเหมือนเดิม เช่น พ่อจะขับรถไปส่งลูกทุกเช้าเหมือนเดิม ควรบอกให้ลูกทราบ เช่นเดียวกับอะไรที่จะต่างไป เช่น แม่จะไปส่งลูกที่โรงเรียนแทน อะไรที่พ่อเคยทำ แม่จะทำแทน บอกลูกว่า คุณเข้าใจว่ามันอาจจะต่างไป แต่เราลองดูก่อน แล้วถ้าเวิร์คไม่เวิร์ค ลูกบอกแม่ได้เสมอ แล้วค่อยมาหาทางปรับกันไป

* เตรียมรับปฏิกิริยาตอบสนองของลูก เด็ก ๆ บางคนอาจแสดงอาการโกรธ เสียใจ ร้องไห้ ขณะที่เด็กบางคนอาจทำเป็นไม่สนใจ และเปลี่ยนเรื่องพูด บางคนอาจถามคำถามมากมาย บางคนอาจไม่ถามอะไรเลย สำหรับเด็ก ๆ ที่ไม่สนใจ ไม่ถามคำถาม พ่อแม่อาจต้องให้เวลา และอยู่ใกล้ชิด อ่านหนังสือ ทำกิจกรรมกับลูก และรอวันที่ลูกจะแสดงความรู้สึก สำหรับเด็กที่ถามคำถามมากมาย พวกเขาต้องได้รับคำตอบ และความมั่นใจจากพ่อแม่ซ้ำแล้วซ้ำอีกตราบเท่าที่เขาต้องการ

* ระหว่างการสนทนา ไม่เป็นไร หากใครสักคนจะร้องไห้ออกมา บอกให้ลูกรู้ว่านี่เป็นเรื่องเศร้า แต่เราจะผ่านมันไปให้ได้ แต่หากฝ่ายได้ฝ่ายหนึ่ง เริ่มโกรธ และมีคำพูดที่อาจทำให้ลูกหวาดกลัวหรือเสียใจ อีกฝ่ายควร “แก้ไขสถานการณ์” ไม่ใช่ทำให้เหตุการณ์แย่ลงกว่าเดิม คุณอาจบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องยากสำหรับทุกคน เราพักสงบสติอารมณ์กันก่อน เดี๋ยวค่อยมาคุยกันต่อ 

* หลังจากพูดคุยกับลูกผ่านไป 2-3 วัน อาจถามลูกว่า ในระหว่างวันลูกนึกถึงเรื่องของพ่อกับแม่บ่อย ๆ หรือเปล่า เรื่องนี้ทำให้ลูกเศร้าไหม เวลาที่เศร้าลูกรับมือยังไง เด็กบางคนอาจตอบคำถามโดยดี คุณควรเอ่ยขอบคุณที่ลูกเปิดใจ ขณะที่บางคนอาจไม่ตอบ หรือตอบแบบประชดประชัน ขอให้เข้าใจว่าลูกกำลังพยายามรับมือความเปลี่ยนแปลง คุณอาจบอกลูกว่า แม่ก็เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และเข้าใจว่าลูกกำลังเผชิญกับช่วงเวลายากลำบาก แม่จะอยู่ตรงนี้เสมอหากลูกต้องการ

* พยายามอย่างเต็มที่ที่จะปฏิบัติต่ออีกฝ่ายด้วยท่าทีที่เป็นมิตร เพราะต่อจากนี้ลูกจะเฝ้ามองความสัมพันธ์ของพ่อและแม่อย่างใกล้ชิด เพราะพวกเขากลัวว่าการเลิกรา อาจทำให้คุณทั้งสองกลายเป็นคนแปลกหน้าซึ่งกันและกัน หรือพวกคุณอาจทำหน้าที่พ่อแม่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แม้ว่าจะเป็นเรื่องยาก แต่ลองพยายามที่จะปฏิบัติต่อกันด้วยความเป็นมิตร เพราะสุดท้ายถึงความรักจะหายไป แต่ความเป็นพ่อแม่ยังคงอยู่ และนี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่คุณทั้งสองจะช่วยให้ลูกก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ไปได้

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1409 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3088 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
basic
2:00 ชั่วโมง

Collaborative classroom design

เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Collaborative classroom design
Starfish Academy

Collaborative classroom design

Starfish Academy
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7765 ผู้เรียน

Related Videos

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
375 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
34:03
Starfish Academy

เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน

Starfish Academy
34 views • 1 ปีที่แล้ว
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
34:16
Starfish Academy

วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง

Starfish Academy
37 views • 1 ปีที่แล้ว
วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)
04:30
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
50 views • 3 ปีที่แล้ว
โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)