เด็กซนกับสมาธิสั้นต่างกันอย่างไร ?

Starfish Academy
Starfish Academy 11404 views • 4 ปีที่แล้ว
เด็กซนกับสมาธิสั้นต่างกันอย่างไร ?

เชื่อว่าผู้ปกครองหลายท่านน่าจะเคยรู้จักกับโรคสมาธิสั้นกันมาบ้างแล้ว แต่ในเด็กนั้น หลายครั้ง ก็ยากที่แยกออกว่าพฤติกรรมเหล่านั้น คือพฤติกรรมซุกซน เพื่อการเรียนรู้ของเด็กที่มีพลังเยอะ หรือเป็นอาการของสมาธิสั้นที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษกันแน่  ในบทความนี้จึงอยากชวนให้ผู้ปกครองทุกท่านมาทำความรู้จักโรคสมาธิสั้นให้มากขึ้น ซึ่งโรคสมาธิสั้น (Attention-deficit/Hyperactivity disorder: ADHD) เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองส่วนหน้า ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการมีสมาธิจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจ และการควบคุมการเคลื่อนไหว อันจะส่งผลให้เกิดอาการหลัก 3 ด้าน ดังนี้

ขอบคุณภาพจาก https://unsplash.com/photos/zRwXf6PizEo

1.ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อได้ (Inattention)  

  • ไม่สามารถจอจ่อกับงาน หรือสิ่งใด ๆ ได้ แม้แต่กับบทสนทนา 
  • บางครั้งมักจะเสียการโฟกัสจากงานนั้นได้โดยง่าย จนไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
  • มีอาการเหม่อลอยบ่อย ๆ 
  • ขี้ลืม มักจะลืมสิ่งของที่จำเป็น 
  • มีปัญหาในการทำงานที่ต้องมีการจัดการ เช่น งานที่มีขั้นตอนในการทำ หรือ การจัดการเวลา

2.ซนมาก (Hyperactivity)  

  • ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ โดยมักจะขยับตัวไป แม้แต่ในเวลาที่ควรอยู่กับที่ เช่น ในห้องเรียน 
  • พูดเร็ว พูดเก่ง พูดได้ต่อเนื่องไม่มีหยุด 
  • เล่นได้แบบไม่มีเหนื่อย และมักเล่นกับเพื่อนแรง  

3.หุนหันพลันแล่น (Implusivity) 

  • มักทำอะไรโดยที่ไม่ได้มีการคิดก่อนจนหลายครั้งนำมาสู่อันตรายได้ 
  • ไม่สามารถรอคอยได้ 
  • มักจะไม่ฟังคำถาม หรือประโยคของคู่สนทนาให้จบก่อน โดยจะสวนตอบขึ้นมาเลย 
  • มักจะทำอะไรแบบไม่คิดก่อน

ขอบคุณภาพจาก https://unsplash.com/photos/nuS2GDpCDoI

การเป็นโรคสมาธิสั้นนั้นไม่จำเป็นต้องมีอาการเหล่านี้ทั้งหมด ในเด็กบางคนอาจจะมีแค่อาการที่ไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อได้ หรืออาจจะมีอาการเพียงซนมาก และหุนหันพลันแล่น (ซนมาก และหุนหันพลันแล่นนั้นมักมาคู่กัน) 

โดยเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะแสดงอาการเหล่านี้ในแบบที่รุนแรง และบ่อยครั้งมากกว่าเด็กปกติที่อาจจะเป็นเพียงเด็กซุกซน จนส่งผลให้เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้นมีปัญหาในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน หรือการเข้ากับเพื่อน ซึ่งการมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันนี่เองเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยแยกว่าลูกของคุณนั้นเป็นเพียงเด็กที่ซน หรือเป็นโรคสมาธิสั้นกันแน่ ถ้าหากลูกของคุณยังสามารถเรียนหนังสือ หรือทำงานที่ได้มอบหมายได้ พฤติกรรมเหล่านั้นอาจจะถือเป็นพฤติกรรมของเด็กที่ซุนซนเพียงเท่านั้น หากคุณสงสัยว่าลูกอาจจะมีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้นควรไปพบผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ หรือ นักจิตวิทยา เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาในลำดับต่อไป โดยหากปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตในระยะยาว

ครอบครัวเองก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยดูแลเด็กที่เป็นสมาธิสั้นได้ โดยผู้ปกครองควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมถึงช่วยเหลือให้พวกเขาสามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นระบบได้มากขึ้น ดังนี้ 

1.จัดตารางชีวิตของลูก ไม่ว่าจะเป็นเวลาตื่นนอน เวลาเข้านอน เวลาทานอาหาร หรือเวลาสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ โดยให้เป็นตารางเวลาที่แน่นอนในทุก ๆ วัน  

2.จัดระเบียบสิ่งของที่จะต้องใช้ในแต่ละวันให้เป็นระเบียบ และอยู่ในที่เดิมเสมอ 

3.มีความชัดเจน และต่อเนื่อง เพราะกฎที่มีความต่อเนื่อง และคงเดิมนั้นจะช่วยให้พวกเขาสามารถเรียนรู้ และทำตามได้มากกว่าการที่เปลี่ยนสิ่งที่ตกลงกันไว้ไปมา 

4.หากพวกเขาสามารถทำตามกฎ หรือสิ่งที่ตกลงกันไว้ได้ ควรให้กำลังใจ คำชม หรือรางวัลเพื่อเสริมแรงให้พวกเขามีพฤติกรรมเหล่านั้นต่อไป 

และสุดท้ายอยากให้ผู้ปกครองเข้าใจว่าเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้น อาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การที่เด็กซนมากจนเกินไป ไม่สนใจในสิ่งที่เราพูด หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอื่น ๆ พฤติกรรมเหล่านั้นต่างเกิดขึ้นจากโรคของพวกเขา ไม่ใช่เพราะตั้งใจ และต้องการจะทำเช่นนั้น แต่เป็นเพราะพวกเขาไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการ คือ การพยายามทำความเข้าใจ และคอยช่วยเหลือ ส่งเสริมให้เด็กที่เป็นสมาธิสั้นสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ต่อไป

Reference

National Institute of Mental Health

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Verywellmind

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1409 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3088 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
basic
2:00 ชั่วโมง

Collaborative classroom design

เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Collaborative classroom design
Starfish Academy

Collaborative classroom design

Starfish Academy
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7765 ผู้เรียน

Related Videos

โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)
04:30
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
50 views • 3 ปีที่แล้ว
โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
375 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
177 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
615 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ