พ่อแม่ทะเลาะกันส่งผลอย่างไรกับลูกบ้าง
เชื่อเถอะว่าคู่ชีวิตทุกคนอยู่ด้วยกันก็ต้องมีทะเลาะกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดา แต่สิ่งที่อยากให้ระมัดระวังอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการกระทบกระทั่งกันนั้นก็คือ การทะเลาะกันซึ่งเป็นการทะเลาะต่อหน้าลูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่ามันจะส่งผลกระทบยังไงกับเด็กๆ บ้าง วันนี้ทางผู้เขียนจะพาไปดูผลกระทบกันที่จะเกิดกับลูกกัน ซึ่งมีดังนี้
1. เด็กๆ จะกลายเป็นเด็กก้าวร้าว
ในเมื่อเขาเห็นพฤติกรรมไม่ดีของเราบ่อยๆ เขาก็จะค่อยๆ ซึมซับสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะด้วยความเป็นเด็ก เขามักจะเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ จากผู้ใหญ่ ซึ่งการที่พ่อแม่ทะเลาะกันก็จะทำให้เด็กๆ กลายเป็นเด็กก้าวร้าว ชอบใช้กำลัง หรืออาจจะมีการรังแกเพื่อนเกิดขึ้นได้ด้วย
2. เด็กขาดทักษะในการแก้ปัญหา
เนื่องจากการที่พ่อแม่ทะเลาะกันจะทำให้เด็กๆ สบสนว่าการแก้ปัญหาที่ถูกต้องคืออะไร เพราะเขาไม่รู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยความอดทนหรือความเคารพซึ่งกันและกัน เนื่องจากการเห็นพฤติกรรมของพ่อแม่ในทางที่ไม่ดี และซึมซับจนเด็กๆ คิดว่าพฤติกรรมเหล่านี้คือการแก้ปัญหานั้นเอง
3. ขาดความมั่นคงในจิตใจของตนเอง
การที่เด็กๆ เห็นภาพพ่อแม่ทะเลาะกันที่บ้าน เชื่อเลยว่ามันส่งผลต่อความรู้สึกไม่สบายใจอย่างแน่นอน จนทำให้เด็กเกิดความเครียดและความกังวล จนทำให้เด็กโตขึ้นมากลายเป็นเด็กที่ไม่มั่นใจในตัวเองในที่สุด
4. ไม่รู้วิธีการเข้าสังคม
เนื่องจากพ่อแม่ทะเลาะกันทำให้ครอบครัวมีปัญหา เด็กๆ เหล่านี้มักจะเป็นเด็กที่โดดเดี่ยว ขาดความอบอุ่น ทำให้ไม่กล้าที่จะเข้าสังคมหรือบางคนอาจจะกลายเป็นคนที่กลัวการเข้าสังคมไปเลย และอาจจะกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นเมื่อเขาอยู่ในวัยที่ทำงานได้ด้วย
5. ลูกจะโยนความผิดให้ตัวเองได้
เพราะการทะเลาะกันเด็กๆ มักจะไม่ทราบหรอกว่าเกิดจากอะไร เกิดจากตัวของตัวเองหรือเปล่า ทำให้ส่วนใหญ่จะตำหนิตัวเอง และรู้สึกว่าตัวเองเป็นต้นเหตุของข้อโต้แย้งเหล่านั้น อีกทั้งเด็กๆ จะเร่ิมไม่ไว้ใจคุณพ่อคุณแม่ได้ และยังสร้างนิสัยที่ไม่เชื่อใจใครง่ายๆ ได้อีกด้วย จนทำให้เด็กกลายเป็นเด็กไม่มีเพื่อนได้ในระยะยาวนั้นเอง
6. เกิดภาวะเครียด
ยิ่งเห็นบ่อยๆ เห็นทุกวันมันก็ยิ่งทำให้เด็กๆ เครียดสะสมได้ อีกทั้งยังทำให้ทำให้ฮอร์โมนความเครียดของเด็กสูง ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในระยะยาวได้เช่นกัน
สิ่งที่อยากจะให้คุณพ่อคุณแม่จำไว้ให้ขึ้นใจเลยก็คือ หากทะเลาะกันจริงๆ อยากให้ทะเลาะกันในที่ๆ ลูกไม่เห็น หลีกเลี่ยงได้ให้หลีกเลี่ยง และพยายามอย่าทะเลาะกันต่อหน้าลูก และใช้เหตุผลคุยกันมากกว่า แสดงความรัก ความอบอุ่นให้ลูกเห็นว่า ครอบครัวของเราเป็นครอบครัวที่อบอุ่น และให้นึกเสมอว่าลิ้นกับฟัน ก็ต้องมีสิ่งที่กระทบกระทั่งกันบ้าง แต่ยังไงเราก็ต้องประคองกันให้ได้ ช่วยกันแก้ไขปัญหาและคุยกันหาทางออกดีกว่าการทะเลาะกันเป็นไหนๆ
Related Courses
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...
Collaborative classroom design
เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...