แค่ "ฟัง" อย่างเข้าใจ ก็ช่วยลูกได้ทุกเรื่อง

Starfish Academy
Starfish Academy 3642 views • 4 ปีที่แล้ว
แค่ "ฟัง" อย่างเข้าใจ ก็ช่วยลูกได้ทุกเรื่อง

การฟังนั้นมีหลายแบบค่ะ หลายคนมองข้ามเรื่องการฟัง เพราะรู้สึกว่าเป็นพฤติกรรมแบบตั้งรับ (Passive) ไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน เหมือนการพูด การทำ ที่ดูเป็น Active มากกว่า แต่ถ้าในสังคมนี้มีแต่คนพูด และทำโดยไม่มีใครยอมใคร คงมีแต่ความขัดแย้งแน่นอน

เช่นเดียวกับในครอบครัวเราค่ะ ที่การสื่อสารนั้นต้องสมดุลทั้งสองฝั่ง การฟังนั้นบางครั้งสำคัญพอ ๆกับการพูดเลยทีเดียว และเชื่อไหมคะว่าแค่ “ฟังให้เป็น” ก็สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้

ฟังอย่างเข้าใจต้องฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)

การฟังนั้นมีหลายระดับค่ะ ในการทำงานเราต้องใช้การฟังแบบหนึ่ง ในครอบครัวเราก็ใช้การฟังอีกแบบ โดยการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) เป็นการฟังที่เราขอนำเสนอ เพราะเป็นการฟังที่ช่วยแก้ไขปัญหา และข้อขัดแย้งในครอบครัวได้เป็นอย่างดี 

การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) คือ การฟังสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยไม่ตัดสิน วางความคิดเห็นของตนเองเอาไว้ เป็นการฟังเพื่อคนที่อยู่ข้างหน้า เป็นการฟังเพื่อได้รับรู้ความเข้าใจ และข้อมูล และเท่าทันกรอบความคิด 

บางครั้งการฟังอย่างลึกซึ้งไม่ได้หมายถึงแค่การฟังเนื้อหาเท่านั้น  แต่อาจรวมไปถึงเจตนาของผู้พูด ความรู้สึกของผู้พูดขณะที่กำลังพูด โดยที่เจตนา และความรู้สึกของผู้พูดอาจไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสิ่งที่เขาพูดออกมาก็ได้เช่นกัน

การฟังอย่างลึกซึ้งเป็นทักษะที่ถูกใช้ในหลากหลายมิติตั้งแต่เรื่องความสัมพันธ์ การเยียวยา   การบำบัด   การเรียนรู้   หรือชุมชน และความขัดแย้ง แต่สิ่งเหล่านี้มีจุดร่วมกัน นั่นคือ การฟังสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

3 ข้อสำคัญ เพื่อฝึกการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)

การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ฝึกที่จะเป็นได้แน่นอนค่ะ ขั้นตอนการการฟังอย่างลึกซึ้งนั้นละเอียดมาก เราขอยก 3 ข้อสำคัญมาให้คุณพ่อ คุณแม่ได้ลองฝึกดูค่ะ

1.เปิดการรับรู้ของตนเอง

คือการเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากประสาทสัมผัสของเรา รวมทั้งความคิดกับความรู้สึกด้วยเช่นกัน การเปิดรับการรับรู้สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เราสังเกตสิ่งที่อาจไม่ได้ใส่ใจ หรือไม่ให้ความสำคัญมากในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมื่ออยู่กับคนในครอบครัวที่เราต้องใช้เวลาร่วมกันเป็นประจำ

2.ตั้งใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้า

ธรรมชาติของบางคนอาจพูดในสิ่งที่ไม่ตรงกับใจของตนเอง เมื่อเราฝึกสังเกตการรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้ามากขึ้น เราอาจเห็นสิ่งใหม่ ๆ ระหว่างการฟัง และเข้าใจคนที่อยู่ข้างหน้าเราได้มากขึ้น โดยสังเกตุจาก

  • สายตา สังเกตสายตาของผู้พูดว่าเป็นอย่างไร ช่วงเวลาไหนที่มองขึ้นหรือลง
  • ภาษากาย เช่น ภาษามือหรือ ภาษาทางกายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการพูดคุย เช่น การกัดเล็บ ขยับมือ เขย่าขา ระหว่างการพูดคุย
  • น้ำเสียง  ขณะพูดพูดด้วยน้ำเสียงหนักแน่น โมโห หรือประชดประชัน บางครั้งอาจน้ำเสียง และเนื้อหาที่พูดอาจไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • เนื้อหาที่พูด พูดเกี่ยวกับเรื่องอะไร สื่อความหมายอย่างไร บางครั้งคำที่ใช้อาจมีความหมายไม่ตรงกับความเข้าใจของเรา หรือเนื้อหาที่พูดอาจมีลักษณะการพูดซ้ำ ๆ วนเวียนอยู่กับเรื่องบางเรื่อง อาจจะแสดงถึงความกังวลบางอย่าง 
  • การแสดงออกของใบหน้า การยิ้ม การขมวดคิ้ว การมองไปข้าง ๆ ก้มหน้า เป็นการแสดงออกที่ช่วยทำให้เราได้เข้าใจมากขึ้น

3.เพิ่มความสนใจ ไม่พูดแทรก และไม่พูดต่อทันที

การถามเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้พูดได้อธิบายเพิ่มเติม และทำความเข้าใจว่า อะไรที่ทำให้เขามีความจริงที่แตกต่างกับเราได้ ช่วยทำให้เราก้าวข้ามกำแพงอคติได้

การฝึกไม่พูดแทรก และไม่พูดต่อทันทีเป็นการฝึกฝนที่ง่ายที่สุด ต้องรู้ตัวได้เร็ว เมื่อเรากำลังจะพูดแทรก และรู้ทันให้หยุด และกลับไปฟังต่อ ให้เราเท่าทันความอยากพูดของตนเอง ไม่ควรจะพูดต่อทันทีที่ผู้พูดพูดจบ โดยหากเรามีสิ่งที่ต้องการพูดบ้างอาจลองนับ 1-10 ในใจช้า ๆ ก่อนที่จะพูดสิ่งที่เราอยากสื่อสาร หรือคำถามที่เราอยากถามออกไป

การฟังอย่างลึกซึ้ง เป็นการฟังที่ทำให้เราสามารถช่วยคนที่อยู่ข้างหน้าเราที่กำลังมีความทุกข์ หรือมีปัญหา โดยสามารถทำได้ง่ายที่สุด และไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไร เป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังเพราะหากเราได้ฟังอย่างลึกซึ้งโดยไม่ตัดสิน เราจะเข้าใจและหาทางออกได้เสมอค่ะ 

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1429 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3104 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี

เด็ก LD คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี
Starfish Academy

เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี

Starfish Academy
ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก และสังคม
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
basic
2:00 ชั่วโมง

แนวทางลดการบูลลี่ในสถานศึกษา

การถูกรังแก ล้อเลียน ดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่นส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวลทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ปัญหาเหล่านี้จ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
แนวทางลดการบูลลี่ในสถานศึกษา
Starfish Academy

แนวทางลดการบูลลี่ในสถานศึกษา

Starfish Academy

Related Videos

โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)
04:30
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
54 views • 3 ปีที่แล้ว
โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
394 views • 3 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
180 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
617 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ